xs
xsm
sm
md
lg

“อาเซียน” หนุนแลกเปลี่ยนความรู้สมุนไพรร่วมกัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
มติประชุม “อาเซียน”    เห็นชอบร่วมกันคัดเลือกและแนะนำการใช้ยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน  72  รายการ  ที่สำคัญ มีแผนให้แต่ละประเทศควรมีสวนสมุนไพรในประเทศอาเซียน   ประเทศไทยเล็งพื้นที่จังหวัดอยุธยา

นพ.สุพรรณ  ศรีธรรมมา  อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  ให้สัมภาษณ์ว่า  การประชุมคัดเลือกยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนครั้งนี้   กระทรวงสาธารณสุข  โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นเจ้าภาพจัดประชุม“The First Workshop on the Preparation on the Book on The Use of Herbal Medicine in ASEAN” เป็นโครงการความร่วมมือกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และมูลนิธินิปปอน ประเทศญี่ปุ่น  จัดระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2555  ซึ่งเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประเทศสมาชิกทั้งหมด  9 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบรูไน ลาว  กัมพูชา  พม่า  เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ไทย  เพื่อร่วมกันการคัดเลือกสมุนไพรที่แต่ละประเทศมีการใช้และเสนอเข้ามาพิจารณา  ผลการคัดเลือกที่ประชุมมีมติเลือกสมุนไพรจำนวน  72  ชนิด  แบ่งตามการรักษากลุ่มอาการ  24  กลุ่มอาการโรค   อาทิ อาการไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดท้องประจำเดือน เป็นต้น  ซึ่งประเทศไทยจะรับผิดชอบเป็นผู้รวบรวมจัดทำเป็นหนังสือ  คาดจะแล้วเสร็จในปีหน้า ทันประชาคมอาเซียนปี 2558 โดยจะจัดส่งให้แต่ละประเทศดำเนินการแปลเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ ต่อไป  และจะร่วมประชุมกันอีกครั้งในปีหน้า

นพ.สุพรรณ  กล่าวต่อว่า  ที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน  ซึ่งวันนี้ได้นำคณะเข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการใช้ยาสมุนไพรในชุมชน หรือกล่องยาสมุนไพรในชุมชน   โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นแกนนำ  ที่จังหวัดสุพรรณบุรี  และจังหวัดปราจีนบุรี  ที่สำคัญอีกประเด็น คือ ผู้แทนแต่ละประเทศลงมติเห็นควรให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศมีสวนสมุนไพรในเทศของตน  โดยประเทศไทย  มีแผนจัดทำสวนสมุนไพรอาเซียนในจังหวัดอยุธยา  ซึ่งเป็นแผนเดิมที่มีอยู่เมื่อปีที่แล้ว

สำหรับประเทศไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้สำรวจสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานร่วมกับ อสม.เมื่อต้นปี  มีการปรับเปลี่ยนสมุนไพรที่ใช้จริงในชุมชน  มีจำนวน  115  ชนิด  จากมติการประชุมในเวทีอาเซียนครั้งนี้คัดเลือกที่พัฒนาร่วมกันจำนวน  72  รายการ  อาทิเช่น  ขมิ้นชัน  ฟ้าทะลายโจร  เสลดพังพอน ว่านหางจระเข้  ว่านชักมดลูก  คนทีสอ  ข่า  ขิง  บัว        ปลีกล้วย  เป็นต้น 
กำลังโหลดความคิดเห็น