พบเด็กป่วยมือ เท้า ปาก 11 ราย อนุบาลคลอง 3 สั่งปิดโรงเรียน เบื้องต้นสถานการณ์ดีขึ้น ภาพรวมของประเทศมีผู้ป่วยรวม 1,700 ราย ถือว่าปกติ
นพ.ณรงค์ ตั้งตรงไพโรจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปทุมธานี กล่าวถึงความคืบหน้าพบเด็กนักเรียนป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ภายในพื้นที่ ว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาล อบต.คลอง 3 โดยเริ่มพบเด็กเล็กป่วย 1 รายเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา และด้วยตัวโรคเป็นเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการแพร่ไปยังเด็กรายอื่นๆ รวมแล้ว 11 ราย ส่งผลให้ต้องปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ความคืบหน้าล่าสุด คาดว่า จะสามารถเปิดเรียนได้ตามปกติในสัปดาห์นี้ เนื่องจากได้มีการควบคุมเชื้อแล้ว จึงขอให้ผู้ปกครองที่บุตรหลานมาศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลดังกล่าว ไม่ต้องกังวล
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งการติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน สำหรับอาการของโรคหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน
นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ในปีนี้ ยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติ พบผู้ป่วยล่าสุดประมาณ 1,700 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาล อบต.คลอง 3 นั้น ถือว่าไม่รุนแรง ไม่ต้องกังวล เพราะมีการสั่งปิดโรงเรียน และแยกผู้ป่วยออกมาแล้ว ทั้งนี้สถานการณ์โดยภาพรวมของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทยในปีนี้ยังไม่พบสิ่งผิดปกติ ยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติ ที่มักมีผู้ป่วยโรคนี้ในช่วงปลายปีต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี ซึ่งทางสำนักระบาดวิทยาจับตาสถานการณืของโรคนี้มาโดยตลอด และยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่พบสถานการณ์ที่รุนแรง ทั้งนี้ สำหรับข้อบ่งชี้สถานการณ์รุนแรงของโรคนี้คือพบผู้ป่วยมีอาการชัก รวมทั้งพบการระบาดของโรคนี้เป็นกลุ่มใหญ่
นพ.ณรงค์ ตั้งตรงไพโรจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปทุมธานี กล่าวถึงความคืบหน้าพบเด็กนักเรียนป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ภายในพื้นที่ ว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาล อบต.คลอง 3 โดยเริ่มพบเด็กเล็กป่วย 1 รายเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา และด้วยตัวโรคเป็นเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการแพร่ไปยังเด็กรายอื่นๆ รวมแล้ว 11 ราย ส่งผลให้ต้องปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ความคืบหน้าล่าสุด คาดว่า จะสามารถเปิดเรียนได้ตามปกติในสัปดาห์นี้ เนื่องจากได้มีการควบคุมเชื้อแล้ว จึงขอให้ผู้ปกครองที่บุตรหลานมาศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลดังกล่าว ไม่ต้องกังวล
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งการติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน สำหรับอาการของโรคหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน
นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ในปีนี้ ยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติ พบผู้ป่วยล่าสุดประมาณ 1,700 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาล อบต.คลอง 3 นั้น ถือว่าไม่รุนแรง ไม่ต้องกังวล เพราะมีการสั่งปิดโรงเรียน และแยกผู้ป่วยออกมาแล้ว ทั้งนี้สถานการณ์โดยภาพรวมของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทยในปีนี้ยังไม่พบสิ่งผิดปกติ ยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติ ที่มักมีผู้ป่วยโรคนี้ในช่วงปลายปีต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี ซึ่งทางสำนักระบาดวิทยาจับตาสถานการณืของโรคนี้มาโดยตลอด และยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่พบสถานการณ์ที่รุนแรง ทั้งนี้ สำหรับข้อบ่งชี้สถานการณ์รุนแรงของโรคนี้คือพบผู้ป่วยมีอาการชัก รวมทั้งพบการระบาดของโรคนี้เป็นกลุ่มใหญ่