เด็กอาชีวะยุคใหม่แห่เข้าร่วมประกวดพัฒนามารยาทไทย ชิงถ้วยพระราชินี ลดพฤติกรรมรุนแรง
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการแข่งขันประกวดมารยาทไทยและการสมาคม ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งที่ 26 ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการราชดำเนิน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การแข่งขันประกวดมารยาทไทยระหว่างสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน นอกเหนือจากมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย การจรรโลงศิลปวัฒนธรรมไทย การทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีระหว่างสถาบัน นักศึกษา การส่งเสริมให้นักศึกษาได้ตระหนักในคุณค่าในวัฒนธรรมไทย และการริเริ่มทำงานเป็นหมู่คณะ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม 3 ประการ
ได้แก่ 1. การอนุรักษ์มรดกของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป ทั้งมรดกทางวัฒนธรรมที่จัดต้องได้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ และมรดกทางวัฒนธรรมที่จัดต้องไม่ได้ เช่น มารยาทไทย 2. การเสริมสร้างความสามัคคี ซึ่งในที่นี้หมายถึงระหว่างสถาบัน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน อันจะทำให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง และการคิดสร้างสรรค์ 3. การพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี
การประกวดมารยาทไทยครั้งนี้ พบว่ามีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน กว่า 60 ทีม และมีทีมผ่านเข้ารอบชอบชิงชนะเลิศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวนถึง 35 ทีม นั่นแสดงว่า สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ได้ให้ความสนใจและทำนุบำรุงส่งเสริมในเรื่องศิลปวัฒนธรรมไทย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการประกวดมารยาทไทยนี้ คือ นอกเหนือจากผู้ชนะเลิศการประกวดจะได้ครองถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติประวัติต่อตนเอง ครอบครัว และสถาบันเป็นอย่างยิ่งแล้ว ยังช่วยกล่อมเกลาทางจิตใจ และการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันของเยาวชนไทยที่นับวันจะทวีความรุนแรง และมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการแข่งขันประกวดมารยาทไทยและการสมาคม ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งที่ 26 ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการราชดำเนิน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การแข่งขันประกวดมารยาทไทยระหว่างสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน นอกเหนือจากมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย การจรรโลงศิลปวัฒนธรรมไทย การทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีระหว่างสถาบัน นักศึกษา การส่งเสริมให้นักศึกษาได้ตระหนักในคุณค่าในวัฒนธรรมไทย และการริเริ่มทำงานเป็นหมู่คณะ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม 3 ประการ
ได้แก่ 1. การอนุรักษ์มรดกของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป ทั้งมรดกทางวัฒนธรรมที่จัดต้องได้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ และมรดกทางวัฒนธรรมที่จัดต้องไม่ได้ เช่น มารยาทไทย 2. การเสริมสร้างความสามัคคี ซึ่งในที่นี้หมายถึงระหว่างสถาบัน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน อันจะทำให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง และการคิดสร้างสรรค์ 3. การพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี
การประกวดมารยาทไทยครั้งนี้ พบว่ามีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน กว่า 60 ทีม และมีทีมผ่านเข้ารอบชอบชิงชนะเลิศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวนถึง 35 ทีม นั่นแสดงว่า สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ได้ให้ความสนใจและทำนุบำรุงส่งเสริมในเรื่องศิลปวัฒนธรรมไทย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการประกวดมารยาทไทยนี้ คือ นอกเหนือจากผู้ชนะเลิศการประกวดจะได้ครองถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติประวัติต่อตนเอง ครอบครัว และสถาบันเป็นอย่างยิ่งแล้ว ยังช่วยกล่อมเกลาทางจิตใจ และการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันของเยาวชนไทยที่นับวันจะทวีความรุนแรง และมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย