วธ.เล็งตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอชายแดนใต้ หวังเยียวยาปัญหาชายแดนใต้
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวในที่ประชุมผู้บริหารสำนักงานปลัด วธ.ว่า ตนได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการตรวจเยี่ยมพื้นที่ในจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา และปัตตานี และเข้าพบเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และบุคคลสำคัญในพื้นที่ เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ศอ.บต.และนโยบายของ วธ.อย่างไรก็ตาม ในการหารือนั้นมีการเสนอให้ วธ.ดำเนินการ ใน 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก การจัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้มิติทางวัฒนธรรมในการเยียวยาแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และความเป็นเจ้าของชุมชน ซึ่งกลไกลทางราชการที่ขับเคลื่อนงานจะเป็นหน่วยที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านมากที่สุด คือ หน่วยงานระดับอำเภอ จึงจำเป็นต้องมีสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ โดยคาดหวังให้เป็นหน่วยบริการครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม (One Stop Service) และให้บริการข้อมูลทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างเจาะลึกของพื้นที่อำเภอนั้นๆ นอกจากนี้ บุคลากรของ วธ.ในพื้นที่จังหวัดไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยเหมือนฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคง จึงสามารถเกาะติดพื้นที่ใกล้ชิดชาวบ้าน และเป็นงานเชิงบวกที่สามารถสร้างศรัทธาและความไว้เนื้อเชื่อใจกับชาวบ้านได้
ส่วนที่สอง การจัดกิจกรรมข้ามวัฒนธรรม ซึ่งทางสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาได้เสนอให้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพราะผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลไกราชการกับชาวบ้าน พบว่า ราชการควรให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกัน เพราะจะได้รับความร่วมมือที่ดี ทั้งนี้ กรณีที่ วธ.จะพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมข้ามวัฒนธรรม ส่วนสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา สามารถพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของ วธ.ให้ได้ และส่วนสุดท้าย เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งควรมีการฟื้นฟู 3 จังหวัดชายแดนใต้ ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาศาสนาอิสลามของประชาคมอาเซียน ซึ่งจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจุดแข็งที่สามารถจัดการศึกษาศาสนาอิสลามให้สามารถเข้าใจและเข้าถึงแก่นความรู้ได้ง่าย นำไปปฏิบัติได้ทันทีในชีวิตจริงโดยมีครูสอนศาสนาที่มีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดได้ดี อีกด้วย
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวในที่ประชุมผู้บริหารสำนักงานปลัด วธ.ว่า ตนได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการตรวจเยี่ยมพื้นที่ในจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา และปัตตานี และเข้าพบเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และบุคคลสำคัญในพื้นที่ เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ศอ.บต.และนโยบายของ วธ.อย่างไรก็ตาม ในการหารือนั้นมีการเสนอให้ วธ.ดำเนินการ ใน 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก การจัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้มิติทางวัฒนธรรมในการเยียวยาแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และความเป็นเจ้าของชุมชน ซึ่งกลไกลทางราชการที่ขับเคลื่อนงานจะเป็นหน่วยที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านมากที่สุด คือ หน่วยงานระดับอำเภอ จึงจำเป็นต้องมีสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ โดยคาดหวังให้เป็นหน่วยบริการครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม (One Stop Service) และให้บริการข้อมูลทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างเจาะลึกของพื้นที่อำเภอนั้นๆ นอกจากนี้ บุคลากรของ วธ.ในพื้นที่จังหวัดไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยเหมือนฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคง จึงสามารถเกาะติดพื้นที่ใกล้ชิดชาวบ้าน และเป็นงานเชิงบวกที่สามารถสร้างศรัทธาและความไว้เนื้อเชื่อใจกับชาวบ้านได้
ส่วนที่สอง การจัดกิจกรรมข้ามวัฒนธรรม ซึ่งทางสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาได้เสนอให้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพราะผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลไกราชการกับชาวบ้าน พบว่า ราชการควรให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกัน เพราะจะได้รับความร่วมมือที่ดี ทั้งนี้ กรณีที่ วธ.จะพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมข้ามวัฒนธรรม ส่วนสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา สามารถพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของ วธ.ให้ได้ และส่วนสุดท้าย เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งควรมีการฟื้นฟู 3 จังหวัดชายแดนใต้ ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาศาสนาอิสลามของประชาคมอาเซียน ซึ่งจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจุดแข็งที่สามารถจัดการศึกษาศาสนาอิสลามให้สามารถเข้าใจและเข้าถึงแก่นความรู้ได้ง่าย นำไปปฏิบัติได้ทันทีในชีวิตจริงโดยมีครูสอนศาสนาที่มีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดได้ดี อีกด้วย