สสส.ร่วมสมาคมคนตาบอดฯ ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการนำร่องยกเครื่องเว็บไซต์ สสส.รองรับผู้พิการทุกประเภท ผู้สูงอายุสายตาพร่าเลือนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโลกไอที สำรวจพบเว็บไซต์ หน่วยงานราชการ 90% ไม่รองรับผู้พิการ
วันนี้ (8 ก.พ.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการแถลงข่าว “พัฒนาเว็บไซต์รองรับผู้พิการ เพื่อการยกระดับชีวิตที่ดีขึ้น และเปิดตัวเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th เพื่อรองรับผู้พิการ” จัดโดย สสส.ร่วมกับ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น
โดย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่พบว่าในกลุ่มผู้พิการยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการว่าไทยมีผู้พิการราว 1.8 ล้านคน หากคนกลุ่มนี้ได้รับโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจะช่วยพัฒนาศักยภาพเป็นพลังในการช่วยเหลือสังคมได้ แต่จากการสำรวจพบว่า 90% ของเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เอื้ออำนวยแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อยก ระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ สสส.จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th ให้รองรับการใช้งานของผู้พิการทุกประเภทและผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง
“ปัจจุบัน เว็บไซต์ สสส.มีผู้เข้าชมวันละ 15,000 คน ส่วนใหญ่เข้ามาดูข้อมูลด้านสาระสุขภาพ และข่าวที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในมิติต่างๆ และเพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าว สสส.จะจัดอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานของผู้พิการ และทุพพลภาพให้แก่ภาคีเครือข่ายของ สสส.และสนับสนุนองค์กรต่างๆ ที่สนใจ เพื่อนำไปปรับปรุงให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ส่งผลให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีแนวคิดส่งเสริมให้ผู้พิการเป็นผู้ทดสอบเว็บไซต์ที่ได้รับการปรับปรุงว่า สามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ โดยในเดือน เม.ย.2555 นี้ ทาง สสส.จะอบรมเครือข่ายในโครงการแรกประมาณ 15 เครือข่าย เพื่อให้พัฒนาเว็บไซต์ในลักษณะเดียวกัน หากโครงการเป็นไปได้ด้วยดีจะผลักดันให้ภาครัฐได้พัฒนาเว็บไซต์เพิ่มเติมด้วย ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณเริ่มต้นที่หลักหมื่นขึ้นไป และในอนาคตจะมีการสนับสนุนผู้พิการให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเว็บไซต์ในด้านเนื้อหาด้วย” ทพ.กฤษดา กล่าว
น.ส.ธีรารัตน์ เรืองกิจธนโชติ บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด ในฐานะผู้พัฒนาเว็บไซต์ สสส.กล่าวว่า การปรับปรุงเว็บไซต์ สสส.ได้พัฒนาให้รองรับลักษณะการใช้งาน 4 ประเภท คือ 1.โปรแกรมช่วยอ่านออก เสียงบนหน้าจอ (Screen Reader) สำหรับผู้พิการทางสายตา 2.แป้นพิมพ์ (Keyboard) สำหรับผู้พิการที่ไม่ สามารถใช้เม้าส์ได้จึงต้องมีอุปกรณ์เสริม เช่น แท่งกดแป้นพิมพ์ด้วยศีรษะ แท่งกดแป้นพิมพ์ด้วยปาก 3.การใส่คำบรรยายในสื่อประเภทวิดีโอ สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน สามารถอ่านคำบรรยายในคลิปวิดีโอได้ และ 4.เมนูปรับแสง สี พื้นหลังเว็บไซต์ และการขยายหน้าจอ สำหรับกลุ่มผู้ที่มีสายตาเลือนราง หรือผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาในการมองเห็น โดยปรับสีตัวอักษร สีของพื้นหลัง ให้มีโทนสีเหมาะสม สว่างเพียงพอ และมีขนาดตัวอักษรให้เลือกใช้ จะช่วยให้มองเห็นหน้าจอได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การปรับปรุงเว็บไซต์ สสส.ได้ผ่านมาตรฐาน WCAG 2.0 (Web Content Accessibility Guideline 2.0) ระดับ AA ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล W3C (World Wide Web Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรสากล ทำหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานเว็บไซต์เพื่อ รองรับการใช้งานของผู้พิการ
นายวีระศักดิ์ ตั้งพลูพันธ์ ตัวแทนจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยผู้พิการทางสายตา ประกอบอาชีพอิสระ อดีตนักกีฬาเหรียญทองแดง กีฬาพาราเกมครั้งที่ผ่านมา กล่าว ว่า ตนเป็น 1 ใน 6 คนของกลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าทดสอบเว็บไซต์ สสส. จากการทดสอบการใช้งาน พบว่า สามารถใช้งานได้จริงและ ทำให้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสารในอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่ายขึ้น ช่วยเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาให้สามารถรับรู้ข่าว สารได้ท่องไปในโลกกว้างเสมือนทลายกำแพงทุกอย่างที่เคยมี จึงอยากให้ทุกหน่วยงานเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้
ทั้งนี้ กระทรวงเทคโลโยลีสารสนเทศ ได้ออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ.2554 ตามมาตรา 20(6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2500 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.2554 ที่ผ่านมา
วันนี้ (8 ก.พ.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการแถลงข่าว “พัฒนาเว็บไซต์รองรับผู้พิการ เพื่อการยกระดับชีวิตที่ดีขึ้น และเปิดตัวเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th เพื่อรองรับผู้พิการ” จัดโดย สสส.ร่วมกับ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น
โดย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่พบว่าในกลุ่มผู้พิการยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการว่าไทยมีผู้พิการราว 1.8 ล้านคน หากคนกลุ่มนี้ได้รับโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจะช่วยพัฒนาศักยภาพเป็นพลังในการช่วยเหลือสังคมได้ แต่จากการสำรวจพบว่า 90% ของเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เอื้ออำนวยแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อยก ระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ สสส.จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th ให้รองรับการใช้งานของผู้พิการทุกประเภทและผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง
“ปัจจุบัน เว็บไซต์ สสส.มีผู้เข้าชมวันละ 15,000 คน ส่วนใหญ่เข้ามาดูข้อมูลด้านสาระสุขภาพ และข่าวที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในมิติต่างๆ และเพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าว สสส.จะจัดอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานของผู้พิการ และทุพพลภาพให้แก่ภาคีเครือข่ายของ สสส.และสนับสนุนองค์กรต่างๆ ที่สนใจ เพื่อนำไปปรับปรุงให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ส่งผลให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีแนวคิดส่งเสริมให้ผู้พิการเป็นผู้ทดสอบเว็บไซต์ที่ได้รับการปรับปรุงว่า สามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ โดยในเดือน เม.ย.2555 นี้ ทาง สสส.จะอบรมเครือข่ายในโครงการแรกประมาณ 15 เครือข่าย เพื่อให้พัฒนาเว็บไซต์ในลักษณะเดียวกัน หากโครงการเป็นไปได้ด้วยดีจะผลักดันให้ภาครัฐได้พัฒนาเว็บไซต์เพิ่มเติมด้วย ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณเริ่มต้นที่หลักหมื่นขึ้นไป และในอนาคตจะมีการสนับสนุนผู้พิการให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเว็บไซต์ในด้านเนื้อหาด้วย” ทพ.กฤษดา กล่าว
น.ส.ธีรารัตน์ เรืองกิจธนโชติ บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด ในฐานะผู้พัฒนาเว็บไซต์ สสส.กล่าวว่า การปรับปรุงเว็บไซต์ สสส.ได้พัฒนาให้รองรับลักษณะการใช้งาน 4 ประเภท คือ 1.โปรแกรมช่วยอ่านออก เสียงบนหน้าจอ (Screen Reader) สำหรับผู้พิการทางสายตา 2.แป้นพิมพ์ (Keyboard) สำหรับผู้พิการที่ไม่ สามารถใช้เม้าส์ได้จึงต้องมีอุปกรณ์เสริม เช่น แท่งกดแป้นพิมพ์ด้วยศีรษะ แท่งกดแป้นพิมพ์ด้วยปาก 3.การใส่คำบรรยายในสื่อประเภทวิดีโอ สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน สามารถอ่านคำบรรยายในคลิปวิดีโอได้ และ 4.เมนูปรับแสง สี พื้นหลังเว็บไซต์ และการขยายหน้าจอ สำหรับกลุ่มผู้ที่มีสายตาเลือนราง หรือผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาในการมองเห็น โดยปรับสีตัวอักษร สีของพื้นหลัง ให้มีโทนสีเหมาะสม สว่างเพียงพอ และมีขนาดตัวอักษรให้เลือกใช้ จะช่วยให้มองเห็นหน้าจอได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การปรับปรุงเว็บไซต์ สสส.ได้ผ่านมาตรฐาน WCAG 2.0 (Web Content Accessibility Guideline 2.0) ระดับ AA ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล W3C (World Wide Web Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรสากล ทำหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานเว็บไซต์เพื่อ รองรับการใช้งานของผู้พิการ
นายวีระศักดิ์ ตั้งพลูพันธ์ ตัวแทนจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยผู้พิการทางสายตา ประกอบอาชีพอิสระ อดีตนักกีฬาเหรียญทองแดง กีฬาพาราเกมครั้งที่ผ่านมา กล่าว ว่า ตนเป็น 1 ใน 6 คนของกลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าทดสอบเว็บไซต์ สสส. จากการทดสอบการใช้งาน พบว่า สามารถใช้งานได้จริงและ ทำให้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสารในอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่ายขึ้น ช่วยเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาให้สามารถรับรู้ข่าว สารได้ท่องไปในโลกกว้างเสมือนทลายกำแพงทุกอย่างที่เคยมี จึงอยากให้ทุกหน่วยงานเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้
ทั้งนี้ กระทรวงเทคโลโยลีสารสนเทศ ได้ออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ.2554 ตามมาตรา 20(6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2500 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.2554 ที่ผ่านมา