พบโฆษณายา-ผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านวิทยุท้องถิ่น-เน็ต-เคเบิ้ลทีวี ทำผิดพรบ.อาหาร 95.2 % - พรบ.ยา 64 % คาดหากมติสมัชชาฯ ผ่านอย.หวังพึ่งกสทช.ช่วยคุมเข้ม
วานนี้ (2 ก.พ.) นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี รองประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม คณะที่ 1 กล่าวในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 ที่อาคารสหประชาชติ เรื่อง “การจัดการปัญหาโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียมและอินเทอร์เน็ต” ว่า ระหว่างปี 2549-2552 การโฆษณายามีมูลค่าสูงกว่า 2.5 พันล้านบาทต่อปี ส่วนอาหารมีมูลค่าการโฆษณาสูงถึง 1.7 หมื่นล้านบาท หากปล่อยไว้คาดว่ามีจำนวนครัวเรือนมากกว่า 12 ล้านครัวเรือน จึงจำเป็นที่สมัชชาสุขภาพต้องหารือเพื่อออกเป็นมติและนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป
ด้าน ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ที่พบกระทำความผิดเกี่ยวกับการโฆษณามากที่สุด ได้แก่ ยาแผนโบราณ โดยหากสมัชชาสุขภาพฯ เห็นชอบอย่างไร ก็จะนำเสนอเข้า คณะรัฐมนตรี (ครม.)และส่งผลให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามมติซึ่งทำให้ควบคุมได้ง่ายขึ้น เช่น กสทช.และไอซีที เพราะอย.ต้องพึ่งกสทช.ในการออกข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการเพิกถอนใบอนุญาตและต่ออายุผู้ขออนุญาตประกอบการ จะช่วยให้อย.ตามตัวเข้าถึงผู้ทำผิดและดำเนินคดีได้ชัดเจนขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าข้อมูลในเอกสารระบุว่าการประชุมระบุว่า จากการศึกษาการโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านวิทยุท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ชัยภูมิ เชียงใหม่และสงขลา พบว่า มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายเข้าข่ายฝ่าฝืน พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 สูงถึง 95.2 % และ พรบ.ยา พ.ศ.2510 สูงถึง 64 %
วานนี้ (2 ก.พ.) นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี รองประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม คณะที่ 1 กล่าวในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 ที่อาคารสหประชาชติ เรื่อง “การจัดการปัญหาโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียมและอินเทอร์เน็ต” ว่า ระหว่างปี 2549-2552 การโฆษณายามีมูลค่าสูงกว่า 2.5 พันล้านบาทต่อปี ส่วนอาหารมีมูลค่าการโฆษณาสูงถึง 1.7 หมื่นล้านบาท หากปล่อยไว้คาดว่ามีจำนวนครัวเรือนมากกว่า 12 ล้านครัวเรือน จึงจำเป็นที่สมัชชาสุขภาพต้องหารือเพื่อออกเป็นมติและนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป
ด้าน ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ที่พบกระทำความผิดเกี่ยวกับการโฆษณามากที่สุด ได้แก่ ยาแผนโบราณ โดยหากสมัชชาสุขภาพฯ เห็นชอบอย่างไร ก็จะนำเสนอเข้า คณะรัฐมนตรี (ครม.)และส่งผลให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามมติซึ่งทำให้ควบคุมได้ง่ายขึ้น เช่น กสทช.และไอซีที เพราะอย.ต้องพึ่งกสทช.ในการออกข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการเพิกถอนใบอนุญาตและต่ออายุผู้ขออนุญาตประกอบการ จะช่วยให้อย.ตามตัวเข้าถึงผู้ทำผิดและดำเนินคดีได้ชัดเจนขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าข้อมูลในเอกสารระบุว่าการประชุมระบุว่า จากการศึกษาการโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านวิทยุท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ชัยภูมิ เชียงใหม่และสงขลา พบว่า มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายเข้าข่ายฝ่าฝืน พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 สูงถึง 95.2 % และ พรบ.ยา พ.ศ.2510 สูงถึง 64 %