ประเดิมสอบ V-Net ปวช.4 ก.พ. - ปวส.5 ก.พ.นี้ สอศ.หนุนนักเรียนเข้าสอบทุกคน หวังนำจุดแข็ง-อ่อน ปรับมาตรฐานการสอนอาชีวะทั้งระบบ
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่นักเรียน-นักศึกษาอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั่วประเทศที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปวช. ชั้นปีที่ 3 และระดับ ปวส.ชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแต่ละหลักสูตรจะต้องเข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา หรือ วีเน็ต (V-Net) ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) โดย ระดับ ปวช. กำหนดสอบวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 และระดับ ปวส. กำหนดสอบวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 มีนักศึกษาเป้าหมายอยู่ในเกณฑ์เข้ารับการทดสอบระดับ ปวช. จำนวน 81,696 คน ระดับ ปวส.จำนวน 6,6721 คน ทั้งนี้ นักเรียน-นักศึกษาที่มีสิทธิเข้ารับการทดสอบดังกล่าวเป็นผู้เรียนอยู่ในระบบ มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 50% ของหลักสูตร และมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1.90
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวด้วยว่า การทดสอบครั้งนี้มุ่งวัดระดับสมรรถนะความรู้ความสามารถในการอ่าน เขียน วิเคราะห์ ความมีเหตุผล การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สมรรถนะพื้นฐานทางวิชาชีพ และสมรรถนะพื้นฐานประยุกต์ ซึ่งเป็นการสอบที่เน้นด้านทฤษฎี และทำข้อสอบในกระดาษคำตอบ ดังนั้น คะแนนสอบที่ได้จะอธิบายความสามารถบางส่วนของผู้เรียนเท่านั้น ยังไม่สามารถสะท้อนสภาพจริงของการเรียนการสอนได้ทั้งหมด เนื่องจากการทดสอบไม่ได้วัดระดับทักษะเชิงปฏิบัติการซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญของการเรียนการสอนอาชีวศึกษา แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ชี้ให้เห็นคุณภาพของการเรียนการสอนอาชีวศึกษาได้บางส่วน จึงอยากส่งสัญญาณไปยังผู้บริหารและครูของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาฃีวศึกษาได้ให้ความสำคัญ และมีทัศนคติเชิงบวกต่อการจัดทดสอบวีเน็ตในครั้งนี้ เพราะผลของคะแนนสอบจะไม่นำไปให้คุณหรือให้โทษแก่ครู หรือสถานศึกษา ขอให้ช่วยกันสร้างแรงจูงใจ และทำความเข้าใจแก่นักเรียน-นักศึกษา เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมเข้ารับการทดสอบ จัดหาอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการทดสอบให้ครบถ้วน ตลอดจนการวางแผนเดินทางไปยังศูนย์สอบให้ทันเวลา เนื่องจากจะต้องทำข้อสอบครบทุกวิชาจึงจะมีผลต่อการประเมินให้คะแนน ส่วนผลการสอบจะช่วยให้ครูได้รู้จุดอ่อนและจุดแข็งของนักเรียน-นักศึกษารายบุคคล ที่สามารถนำไปใช้แก้ไขข้อด้อยและส่งเสริมศักยภาพในข้อดีให้เด่นชัดขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาทั้งระบบต่อไปด้วย
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่นักเรียน-นักศึกษาอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั่วประเทศที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปวช. ชั้นปีที่ 3 และระดับ ปวส.ชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแต่ละหลักสูตรจะต้องเข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา หรือ วีเน็ต (V-Net) ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) โดย ระดับ ปวช. กำหนดสอบวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 และระดับ ปวส. กำหนดสอบวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 มีนักศึกษาเป้าหมายอยู่ในเกณฑ์เข้ารับการทดสอบระดับ ปวช. จำนวน 81,696 คน ระดับ ปวส.จำนวน 6,6721 คน ทั้งนี้ นักเรียน-นักศึกษาที่มีสิทธิเข้ารับการทดสอบดังกล่าวเป็นผู้เรียนอยู่ในระบบ มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 50% ของหลักสูตร และมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1.90
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวด้วยว่า การทดสอบครั้งนี้มุ่งวัดระดับสมรรถนะความรู้ความสามารถในการอ่าน เขียน วิเคราะห์ ความมีเหตุผล การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สมรรถนะพื้นฐานทางวิชาชีพ และสมรรถนะพื้นฐานประยุกต์ ซึ่งเป็นการสอบที่เน้นด้านทฤษฎี และทำข้อสอบในกระดาษคำตอบ ดังนั้น คะแนนสอบที่ได้จะอธิบายความสามารถบางส่วนของผู้เรียนเท่านั้น ยังไม่สามารถสะท้อนสภาพจริงของการเรียนการสอนได้ทั้งหมด เนื่องจากการทดสอบไม่ได้วัดระดับทักษะเชิงปฏิบัติการซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญของการเรียนการสอนอาชีวศึกษา แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ชี้ให้เห็นคุณภาพของการเรียนการสอนอาชีวศึกษาได้บางส่วน จึงอยากส่งสัญญาณไปยังผู้บริหารและครูของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาฃีวศึกษาได้ให้ความสำคัญ และมีทัศนคติเชิงบวกต่อการจัดทดสอบวีเน็ตในครั้งนี้ เพราะผลของคะแนนสอบจะไม่นำไปให้คุณหรือให้โทษแก่ครู หรือสถานศึกษา ขอให้ช่วยกันสร้างแรงจูงใจ และทำความเข้าใจแก่นักเรียน-นักศึกษา เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมเข้ารับการทดสอบ จัดหาอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการทดสอบให้ครบถ้วน ตลอดจนการวางแผนเดินทางไปยังศูนย์สอบให้ทันเวลา เนื่องจากจะต้องทำข้อสอบครบทุกวิชาจึงจะมีผลต่อการประเมินให้คะแนน ส่วนผลการสอบจะช่วยให้ครูได้รู้จุดอ่อนและจุดแข็งของนักเรียน-นักศึกษารายบุคคล ที่สามารถนำไปใช้แก้ไขข้อด้อยและส่งเสริมศักยภาพในข้อดีให้เด่นชัดขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาทั้งระบบต่อไปด้วย