“หมอภิรมย์” รับได้รับจดหมายให้ไปแสดงวิสัยทัศน์ วันที่ 23 ม.ค.จริง และไปตามเวลานัด แต่ไม่ได้เข้าไป ระบุไม่รู้รายละเอียดที่ “หมอเกษม” ลาออกจากประธานสรรหาฯ ชี้ ข้อมูลที่ออกมาอาจผิดพลาด เพราะเอามาปะติดปะต่อทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องลับ ย้ำ ความเป็นพี่น้องเลือดสีชมพู ขณะที่ประชุมสภาจุฬาฯ 26 ม.ค.นี้เตรียมหารือกรณี “หมอเกษม” ลาออกด้วย
ความคืบหน้ากรณีการสรรหาอธิการบดีจุฬาฯ แทน ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะหมดวาระในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ต้องสะดุด เนื่องจาก นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา ได้ประกาศลาออกจากการเป็นประธาน พร้อมวอล์กเอาต์ออกจากที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาในการประชุมวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีกระแสข่าวว่า มีสาเหตุ ที่ นพ.เกษม วอล์กเอาต์นั้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่บันทึกรายงานการประชุมไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยบันทึกว่าให้ผู้ที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงสูงสุด คือ ศ.นพ.ภิรมย์ มาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคม เพียงคนเดียว แล้วนำชื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ผลการประชุมให้ทยอยเชิญแคนดิเดตทั้ง 3 คน คือ ศ.นพ.ภิรมย์ นายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ นายศุภชัย ยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาแสดงวิสัยทัศน์ ก่อนพิจารณา นำรายชื่อผู้เหมาะสมหนึ่งคนเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ซึ่งล่าสุด
วันนี้ (25 ม.ค.) ศ.นพ.ภิรมย์ เปิดเผยว่า ตนยอมรับว่า ได้รับหนังสือเชิญให้มาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคม ในเวลา 09.00 น.ซึ่งตนก็ไปรอตามเวลานัดหมาย แต่ไม่ได้เข้าไปแสดงวิสัยทัศน์ ส่วนกระแสข่าวที่ว่าเจ้าหน้าที่บันทึกรายงานการประชุมไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยบันทึกว่า ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงสูงสุด คือ ศ.นพ.ภิรมย์ มาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคม เพียงคนเดียว แล้วนำชื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯนั้น ตนไม่ทราบจริงๆ เพราะกระบวนการสรรหาเป็นความลับมาก ส่วนเรื่องที่องคมนตรีลาออกจากการเป็นประธานคณะกรรมการสรรหานั้น ตนไม่ทราบรายละเอียดเช่นกัน แต่ทั้งนี้ ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของท่าน
ส่วนกรณีที่ให้มีการตั้งกรรมการสอบบุคลากรสายปฏิบัติงานออกใบปลิวเชิญชวนให้บุคลากรเสนอชื่อผู้รับการสรรหาเป็นอธิการบดีเพียงรายชื่อเดียว โดยใช้ข้อความระบุว่า “ใช้สิทธิเต็ม 100% เสนอชื่อคนเดียว โดยไม่ต้องเหลียวแลใคร” ซึ่งทางสภาคณาจารย์มองว่า ก่อให้เกิดความสับสนและแตกแยก เพราะทำให้เข้าใจผิดว่า สภาคณาจารย์จะเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการสรรหาเพียงรายชื่อเดียว ทั้งที่มีสิทธิเสนอ 3 รายชื่อ นั้น ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ตนได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องไปดำเนินการแล้ว โดยตนคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเจ้าหน้าที่จะมีกระบวนการในการรับเรื่อง ยืนยันว่า ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามกระบวนการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เพราะทุกคนรู้ดีว่าการประชุมคณะกรรมการสรรหาเป็นการประชุมลับ ดังนั้น ข้อมูลที่ออกมาก็อาจจะไม่ประติดประต่อ อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ ซึ่งในการประชุมร่วมกับคณบดีของจุฬาฯเมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา ตนเพิ่งได้คุยกันในที่ประชุม ว่า จุฬาฯมีความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นเลือดสีชมพูเหมือนกัน หากเราได้อธิการบดีคนใหม่ แต่เกิดความแตกแยกภายในจุฬาฯก็คงไม่คุ้ม โดยทุกคนก็มีความเห็นสอดคล้องกัน โดยตนกับ นายบุญสม มีความเป็นพี่น้อง สถาบันเดียวกัน ไม่มีใครเป็นแคนดิเดต ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่มีเรื่องของขั้วอำนาจเก่าหรือ อำนาจใหม่แน่นอนเพราะสมัยที่ตนได้ขึ้นเป็นอธิการบดีใหม่ๆ ยังได้เชิญรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิกาบดีในสมัยอธิการคนก่อนตนมาร่วมงานด้วย อย่างไรก็ตาม พรุ่งนี้ (26 ม.ค.) จะมีการประชุมสภาจุฬาฯ จะมีการหารือกรณี นพ.เกษม ลาอออกจากประธานคณะกรรมการสรรหา ด้วย
ความคืบหน้ากรณีการสรรหาอธิการบดีจุฬาฯ แทน ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะหมดวาระในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ต้องสะดุด เนื่องจาก นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา ได้ประกาศลาออกจากการเป็นประธาน พร้อมวอล์กเอาต์ออกจากที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาในการประชุมวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีกระแสข่าวว่า มีสาเหตุ ที่ นพ.เกษม วอล์กเอาต์นั้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่บันทึกรายงานการประชุมไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยบันทึกว่าให้ผู้ที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงสูงสุด คือ ศ.นพ.ภิรมย์ มาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคม เพียงคนเดียว แล้วนำชื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ผลการประชุมให้ทยอยเชิญแคนดิเดตทั้ง 3 คน คือ ศ.นพ.ภิรมย์ นายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ นายศุภชัย ยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาแสดงวิสัยทัศน์ ก่อนพิจารณา นำรายชื่อผู้เหมาะสมหนึ่งคนเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ซึ่งล่าสุด
วันนี้ (25 ม.ค.) ศ.นพ.ภิรมย์ เปิดเผยว่า ตนยอมรับว่า ได้รับหนังสือเชิญให้มาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคม ในเวลา 09.00 น.ซึ่งตนก็ไปรอตามเวลานัดหมาย แต่ไม่ได้เข้าไปแสดงวิสัยทัศน์ ส่วนกระแสข่าวที่ว่าเจ้าหน้าที่บันทึกรายงานการประชุมไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยบันทึกว่า ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงสูงสุด คือ ศ.นพ.ภิรมย์ มาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 23 มกราคม เพียงคนเดียว แล้วนำชื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯนั้น ตนไม่ทราบจริงๆ เพราะกระบวนการสรรหาเป็นความลับมาก ส่วนเรื่องที่องคมนตรีลาออกจากการเป็นประธานคณะกรรมการสรรหานั้น ตนไม่ทราบรายละเอียดเช่นกัน แต่ทั้งนี้ ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของท่าน
ส่วนกรณีที่ให้มีการตั้งกรรมการสอบบุคลากรสายปฏิบัติงานออกใบปลิวเชิญชวนให้บุคลากรเสนอชื่อผู้รับการสรรหาเป็นอธิการบดีเพียงรายชื่อเดียว โดยใช้ข้อความระบุว่า “ใช้สิทธิเต็ม 100% เสนอชื่อคนเดียว โดยไม่ต้องเหลียวแลใคร” ซึ่งทางสภาคณาจารย์มองว่า ก่อให้เกิดความสับสนและแตกแยก เพราะทำให้เข้าใจผิดว่า สภาคณาจารย์จะเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการสรรหาเพียงรายชื่อเดียว ทั้งที่มีสิทธิเสนอ 3 รายชื่อ นั้น ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ตนได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องไปดำเนินการแล้ว โดยตนคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเจ้าหน้าที่จะมีกระบวนการในการรับเรื่อง ยืนยันว่า ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามกระบวนการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เพราะทุกคนรู้ดีว่าการประชุมคณะกรรมการสรรหาเป็นการประชุมลับ ดังนั้น ข้อมูลที่ออกมาก็อาจจะไม่ประติดประต่อ อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ ซึ่งในการประชุมร่วมกับคณบดีของจุฬาฯเมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา ตนเพิ่งได้คุยกันในที่ประชุม ว่า จุฬาฯมีความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นเลือดสีชมพูเหมือนกัน หากเราได้อธิการบดีคนใหม่ แต่เกิดความแตกแยกภายในจุฬาฯก็คงไม่คุ้ม โดยทุกคนก็มีความเห็นสอดคล้องกัน โดยตนกับ นายบุญสม มีความเป็นพี่น้อง สถาบันเดียวกัน ไม่มีใครเป็นแคนดิเดต ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่มีเรื่องของขั้วอำนาจเก่าหรือ อำนาจใหม่แน่นอนเพราะสมัยที่ตนได้ขึ้นเป็นอธิการบดีใหม่ๆ ยังได้เชิญรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิกาบดีในสมัยอธิการคนก่อนตนมาร่วมงานด้วย อย่างไรก็ตาม พรุ่งนี้ (26 ม.ค.) จะมีการประชุมสภาจุฬาฯ จะมีการหารือกรณี นพ.เกษม ลาอออกจากประธานคณะกรรมการสรรหา ด้วย