ผู้นำสาธารณสุขกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ร่วมแลกเปลี่ยนระบบการเงินสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในเวลาเจ็บป่วย โดยไม่มีอุปสรรคด้านค่าใช้จ่าย พร้อมชื่นชมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 26-28 ม.ค.นี้ ประเทศไทยเตรียมจัดการประชุมด้านสุขภาพระดับนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล โดยในปีนี้มีหัวข้อ ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ (Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters) จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์การสุขภาพระดับโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) ธนาคารโลก (World Bank) องค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (JICA) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวถือเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นของผู้นำด้านสาธารณสุขจากนานาประเทศในประเด็นสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพของมนุษยชาติ อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้ามุ่งเน้นปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ สนับสนุนการเจรจาความร่วมมือในระดับโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างกลุ่มประเทศที่มีรายได้แตกต่างกันเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเวลาจำเป็นโดยไม่มีอุปสรรคด้านค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ การประชุมนานาชาติฯ ยังถือเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทยอีกด้วย ซึ่งขณะนี้มีตัวแทนจากนานาประเทศติดต่อเข้าร่วมประชุมกว่า 40 ประเทศแล้ว
ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า จากรายงานในหัวข้อ “การจัดหาระบบเงินสุขภาพ : เส้นทางสู่การประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เมื่อปี ค.ศ.2010 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน รายงานดังกล่าวเชื่อมั่นว่าทุกประเทศสามารถปรับปรุงระบบการเงินสุขภาพ และสามารถสร้างการคุ้มครองสุขภาพแบบถ้วนหน้าได้ นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวร่วมกันเพื่อปรับปรุงระบบการเงินสุขภาพ และมุ่งสู่การคุ้มครองสุขภาพแบบถ้วนหน้าต่อไป ตลอดจนการประชุมสุดยอดจี 8 ในปี ค.ศ.2009 ที่มุ่งมั่นเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ โดยมุ่งเน้นความสัมพันธ์ของ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ และระบบการเงินสุขภาพ อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก ที่ให้การสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพถ้วนหน้า การแบ่งปันประสบการณ์ที่มีค่าจะนำมาซึ่งการพัฒนาระบบการเงินสุขภาพที่เหมาะสม และนำไปสู่การแปลงเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงต่อไป
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 26-28 ม.ค.นี้ ประเทศไทยเตรียมจัดการประชุมด้านสุขภาพระดับนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล โดยในปีนี้มีหัวข้อ ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ (Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters) จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์การสุขภาพระดับโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) ธนาคารโลก (World Bank) องค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (JICA) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวถือเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นของผู้นำด้านสาธารณสุขจากนานาประเทศในประเด็นสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพของมนุษยชาติ อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้ามุ่งเน้นปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ สนับสนุนการเจรจาความร่วมมือในระดับโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างกลุ่มประเทศที่มีรายได้แตกต่างกันเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเวลาจำเป็นโดยไม่มีอุปสรรคด้านค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ การประชุมนานาชาติฯ ยังถือเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของไทยอีกด้วย ซึ่งขณะนี้มีตัวแทนจากนานาประเทศติดต่อเข้าร่วมประชุมกว่า 40 ประเทศแล้ว
ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า จากรายงานในหัวข้อ “การจัดหาระบบเงินสุขภาพ : เส้นทางสู่การประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เมื่อปี ค.ศ.2010 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน รายงานดังกล่าวเชื่อมั่นว่าทุกประเทศสามารถปรับปรุงระบบการเงินสุขภาพ และสามารถสร้างการคุ้มครองสุขภาพแบบถ้วนหน้าได้ นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวร่วมกันเพื่อปรับปรุงระบบการเงินสุขภาพ และมุ่งสู่การคุ้มครองสุขภาพแบบถ้วนหน้าต่อไป ตลอดจนการประชุมสุดยอดจี 8 ในปี ค.ศ.2009 ที่มุ่งมั่นเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ โดยมุ่งเน้นความสัมพันธ์ของ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ และระบบการเงินสุขภาพ อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก ที่ให้การสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพถ้วนหน้า การแบ่งปันประสบการณ์ที่มีค่าจะนำมาซึ่งการพัฒนาระบบการเงินสุขภาพที่เหมาะสม และนำไปสู่การแปลงเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงต่อไป