ศธ.เดินหน้าสนองการบ้านที่นายกฯ มอบ ปลัด ศธ.เตรียมตั้งคณะทำงานรวบรวมประมวลผลงานวิจัยและข้อเสนอแนะด้านการศึกษาใน 3 ประเด็นหลัก พร้อมประสานหน่วยงานอื่นๆ ทำ Life Cycle วงจรชีวิตเด็กไทยด้านการศึกษา เมื่อเสร็จแล้วจะนำไปรวมกับระบบของหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้คนไทยรู้ว่าต่อไปคนไทยอายุเท่าไรควรทำอะไร
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ศธ.เตรียมตั้งคณะทำงานเพื่อสานงานตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มอบหมายไว้ในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายก ได้มอบหมายไว้หลายเรื่อง ทั้งการให้ ศธ.รวบรวมผลการวิจัย วิเคราะห์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษา แล้วนำมาประมวลผลหาข้อสรุป ซึ่งประเด็นที่นายกฯ สนใจ อาทิ เรื่องหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีคุณภาพ การพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ ยังต้องการให้ดูว่า รัฐจะร่วมมือกับเอกชนจัดการศึกษาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึง ศธ.จะร่วมงานกับหน่วยงานอื่นอีก 8 กระทรวงที่มีสถานศึกษาในสังกัด ว่าจะร่วมมือกันอย่างไร เพื่อจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นในทิศทางเดียวกัน 3 หาสาเหตุที่นักเรียนออกกลางคัน หรือสาเหตุที่นักเรียนไม่เข้าสู่ระบบการศึกษา ทำอย่างไรให้คนไทยเรียนรู้ต่อเนื่องตามอัธยาศัย ทั้งหมดนี้ นายกฯให้เวลา ศธ.ทำการบ้าน 1 เดือน
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นศธ.เตรียมที่จะประสานงานกับหน่วยงานอื่น ทำ ไลฟ์ ไซเคิล (Life Cycle) ตามที่นายกฯมอบหมาย โดยเป้าหมายของนายกฯต้องการให้คนไทยรู้ตัวเอง ว่า วงจรชีวิตของตัวเองตั้งแต่แรกเกิด มีสิ่งที่จำเป็นต้องทำเรื่องใด ในช่วงวัยใดบ้าง เช่น ต้องฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ต้องเกณฑ์ทหารเมื่ออายุเท่าไหร่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ศธ.จะรับผิดชอบทำไลฟ์ไซเคิล ด้านการศึกษา กำหนดให้ชัดเจนว่าเด็กวัยไหนควรจะมีทักษะอะไร เช่น ป.1-ป.2 ต้องเริ่มรู้จักทักษะการช่วยเหลือตัวเอง รวมถึงต้องรู้ว่า เด็กควรจะเข้าเรียนในระดับชั้นต่างๆ เมื่ออายุเท่าไหร่ เช่น อายุ 12 ขวบ ต้องจบ ป.6 13 ขวบต้องเข้า ม.1 เป็นต้น ซึ่งเมื่อ ศธ.ได้ทำไลฟ์ไซเคิลในส่วนของ ศธ.เรียบร้อย และจะไปผนวกรวมกับไลฟ์ไซเคิลด้านสุขอนามัยที่กระทรวงสาธารณสุข สธ.ทำไว้แล้ว รวมถึงข้อมูลของกระทรวงอื่นๆ มาเพิ่มเติม เมื่อทำตรงนี้เสร็จสิ้นแล้ว จะทำให้คนไทยรู้ตัวว่า ควรจะทำอะไรในช่วงอายุเท่าไหร่
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า นายกฯ ต้องการทำไลฟ์ ไซเคิล รวบรวมสิ่งที่แต่ละคนต้องทำตั้งแต่แรกเกิดในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านสุขอนามัย การศึกษา หรือเรื่องอื่นๆ จากนั้นให้ทำเป็นสมุดประจำตัวในทำนอง สมาร์ทการ์ด หรือ Smart Card เพือให้คนไทยรู้ว่า ต้องทำอะไรเมื่อช่วงใด และลงบันทึกไว้ว่าได้ทำแล้วหรือไม่
นายเอกนก เพิ่มเสนีย์ เลขาธิการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาธิการ สกศ.) เปิดเผยว่า สกศ.กำลังดำเนินการตามที่ นายกฯ มอบให้ ศธ.ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดทำบัตรประจำตัว หรือ สมาร์ทการ์ดบันทึกข้อมูลด้านต่างๆ ของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งทาง ศธ.ได้มอบให้สกศ.มาศึกษารายละเอียด และความเป็นไปได้อีกครั้ง
“เป้าหมายที่จะทำสมาร์การ์ดให้เด็กตั้งแต่แรกเกิด เพราะต้องการสร้างระบบติดตามตัวเด็กตั้งแต่เกิด จนกระทั่งโต เพราะปัจจุบันมีเด็กในวันเรียน 5-21 ปี จำนวน 16 ล้านคน แต่พบว่าเข้าเรียนจริง 14 ล้านคน และไม่รู้ข้อมูลว่าเด็กที่หายไป 2 ล้านคนไปอยู่ที่ไหน ซึ่งคาดการณ์ว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นแด็กด้อยโอกาส แต่หากมีการทำสมาร์ทการ์ดให้เด็กแต่แรกเกิดแล้ว ก็จะทำให้เราตามตัวเด็กได้” นายเอกนก กล่าว
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ศธ.เตรียมตั้งคณะทำงานเพื่อสานงานตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มอบหมายไว้ในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายก ได้มอบหมายไว้หลายเรื่อง ทั้งการให้ ศธ.รวบรวมผลการวิจัย วิเคราะห์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษา แล้วนำมาประมวลผลหาข้อสรุป ซึ่งประเด็นที่นายกฯ สนใจ อาทิ เรื่องหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีคุณภาพ การพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ ยังต้องการให้ดูว่า รัฐจะร่วมมือกับเอกชนจัดการศึกษาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึง ศธ.จะร่วมงานกับหน่วยงานอื่นอีก 8 กระทรวงที่มีสถานศึกษาในสังกัด ว่าจะร่วมมือกันอย่างไร เพื่อจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นในทิศทางเดียวกัน 3 หาสาเหตุที่นักเรียนออกกลางคัน หรือสาเหตุที่นักเรียนไม่เข้าสู่ระบบการศึกษา ทำอย่างไรให้คนไทยเรียนรู้ต่อเนื่องตามอัธยาศัย ทั้งหมดนี้ นายกฯให้เวลา ศธ.ทำการบ้าน 1 เดือน
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นศธ.เตรียมที่จะประสานงานกับหน่วยงานอื่น ทำ ไลฟ์ ไซเคิล (Life Cycle) ตามที่นายกฯมอบหมาย โดยเป้าหมายของนายกฯต้องการให้คนไทยรู้ตัวเอง ว่า วงจรชีวิตของตัวเองตั้งแต่แรกเกิด มีสิ่งที่จำเป็นต้องทำเรื่องใด ในช่วงวัยใดบ้าง เช่น ต้องฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ต้องเกณฑ์ทหารเมื่ออายุเท่าไหร่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ศธ.จะรับผิดชอบทำไลฟ์ไซเคิล ด้านการศึกษา กำหนดให้ชัดเจนว่าเด็กวัยไหนควรจะมีทักษะอะไร เช่น ป.1-ป.2 ต้องเริ่มรู้จักทักษะการช่วยเหลือตัวเอง รวมถึงต้องรู้ว่า เด็กควรจะเข้าเรียนในระดับชั้นต่างๆ เมื่ออายุเท่าไหร่ เช่น อายุ 12 ขวบ ต้องจบ ป.6 13 ขวบต้องเข้า ม.1 เป็นต้น ซึ่งเมื่อ ศธ.ได้ทำไลฟ์ไซเคิลในส่วนของ ศธ.เรียบร้อย และจะไปผนวกรวมกับไลฟ์ไซเคิลด้านสุขอนามัยที่กระทรวงสาธารณสุข สธ.ทำไว้แล้ว รวมถึงข้อมูลของกระทรวงอื่นๆ มาเพิ่มเติม เมื่อทำตรงนี้เสร็จสิ้นแล้ว จะทำให้คนไทยรู้ตัวว่า ควรจะทำอะไรในช่วงอายุเท่าไหร่
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า นายกฯ ต้องการทำไลฟ์ ไซเคิล รวบรวมสิ่งที่แต่ละคนต้องทำตั้งแต่แรกเกิดในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านสุขอนามัย การศึกษา หรือเรื่องอื่นๆ จากนั้นให้ทำเป็นสมุดประจำตัวในทำนอง สมาร์ทการ์ด หรือ Smart Card เพือให้คนไทยรู้ว่า ต้องทำอะไรเมื่อช่วงใด และลงบันทึกไว้ว่าได้ทำแล้วหรือไม่
นายเอกนก เพิ่มเสนีย์ เลขาธิการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาธิการ สกศ.) เปิดเผยว่า สกศ.กำลังดำเนินการตามที่ นายกฯ มอบให้ ศธ.ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดทำบัตรประจำตัว หรือ สมาร์ทการ์ดบันทึกข้อมูลด้านต่างๆ ของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งทาง ศธ.ได้มอบให้สกศ.มาศึกษารายละเอียด และความเป็นไปได้อีกครั้ง
“เป้าหมายที่จะทำสมาร์การ์ดให้เด็กตั้งแต่แรกเกิด เพราะต้องการสร้างระบบติดตามตัวเด็กตั้งแต่เกิด จนกระทั่งโต เพราะปัจจุบันมีเด็กในวันเรียน 5-21 ปี จำนวน 16 ล้านคน แต่พบว่าเข้าเรียนจริง 14 ล้านคน และไม่รู้ข้อมูลว่าเด็กที่หายไป 2 ล้านคนไปอยู่ที่ไหน ซึ่งคาดการณ์ว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นแด็กด้อยโอกาส แต่หากมีการทำสมาร์ทการ์ดให้เด็กแต่แรกเกิดแล้ว ก็จะทำให้เราตามตัวเด็กได้” นายเอกนก กล่าว