กมธ.ศึกษา เชิญ รมว.ศธ.เข้าชี้แจงปัญหาตั้งสถาบันอาชีวศึกษาสัปดาห์หน้า ขณะที่ “ศศิธารา” เสนอตัวขอเข้าชี้แจงด้วย ในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กอศ.ส่วนการประชุมสัญจรที่ ศธ.กมธ.ส่วนใหญ่ฝากนำข้อร้องเรียน ข้อซักถามที่ได้รับทั้งเรื่องการลอกผลงานวิชาการ ความห่วงใยเรื่องโครงการแท็บเล็ต คืบหน้าเรียนฟรี รวมถึงเสนอให้ทบทวนหลักสูตรการเรียนที่ขาดเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ด้าน “วรวัจน์” ยันเรียนฟรีเดินหน้าแน่นอนแต่จะปรับบางรายการให้ตรงความต้องการ
วันนี้ (16 พ.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา (กมธ.) พร้อมด้วย คณะกรรมาธิการ จำนวน 30 คน จัดประชุมสัญจรเพื่อขอรับฟังนโยบายในการบริหารจัดการศึกษาของ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พร้อมด้วย นางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.และผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.และหน่วยงานอื่นๆ ในกำกับ เช่น สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
นายประกอบ กล่าวว่า กมธ.ศึกษามีความตั้งใจอยากจะทำงานร่วมกับ ศธ.โดยภารกิจหลักของ กมธ.คือ มุ่งติดตามความก้าวหน้าทางการศึกษา การสืบสวน สอบสวน ในเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนว่าไม่ชอบมาพากล และสนับสนุนการศึกษาที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติ ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะเดินหน้าตามกรอบ โดยไม่มีการนำเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส ทั้งนี้ การทำงานของ กมธ.จะมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งที่ผ่านมา กมธ.ศึกษา ได้รับการร้องเรียนหลายเรื่องทั้งการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา การร้องเรียนการประเมินวิทยฐานะ การสอบถามเรื่องการเรียนฟรี ว่า ในรัฐบาลชุดปัจจุบันจะยังดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสถาบันอาชีวศึกษานั้น ในการประชุม กมธ.ศึกษา สัปดาห์หน้าจะมีการติดตามตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวเพราะเป็นไปอย่างล่าช้า และมีปัญหาค่อนข้างมากซึ่งจะขอเชิญ รมว.ศึกษาธิการ หรือผู้แทน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อมูลต่อ กมธ.ศึกษาธิการ
ด้านนายพงศกร อรรณพพร รองประธาน กมธ.ศึกษา กล่าวว่า อยากให้ ศธ. ดำเนินการเรื่องโครงการ One Tablet Pc Per Child ที่จะแจกให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 กว่า 5 แสนคน โดยกำหนดราคาขั้นต่ำของแท็บเล็ตไว้ที่ประมาณ 3,500 บาท ควรจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษว่าในราคาที่กำหนดไว้นั้นจะได้สเป็คของแท็ปเล็ตที่มีคุณภาพหรือไม่ อย่าปล่อยให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่เสียหายว่าสเป็คไม่เหมาะสม รวมถึงผลกระทบต่อการใช้งานแท็บเล็ตที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความเป็นกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อตัวเด็ก
ขณะที่ นายมานิตย์ สังข์พุ่ม โฆษก กมธ.ศึกษา กล่าวว่า อยากให้ ศธ.ทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอน โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมลงไป อย่าเน้นแต่ความรู้ทางวิชาการ เพราะปัจจุบันเด็กไทยขาดคุณธรรม จริยธรรมอย่างมากอีกทั้งประเทศใดที่ขาดการส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้สุดท้ายจะกลายเป็นอัมพาต นอกจากนี้ อยากให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ลงไปสะสางปัญหาเรื่องการลอกผลงานวิชาการในการทำเสนอขอเลื่อนประเมินวิทยฐานะอย่างจริงจัง ตนได้รับร้องเรียนมามากถึงการลอกผลงาน รวมถึงการจ้างทำผลงานวิชาการ ที่สุดท้ายคนทำงานผลงานแทบตายกลับไม่ได้รับวิทยาฐานะแต่คนที่ลอกผลงาน หรือจ้างทำผลงานกลับได้รับวิทยฐานะ ดังนั้น เมื่อ ก.ค.ศ.จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวขอให้ทำอย่างจริงจัง
นายเวียง วรเชษฐ์ ที่ปรึกษา กมธ.ศึกษา กล่าวว่า อยากให้ ศธ.ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนทางด้านเกษตรมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาวิทยาลัยเกษตรของอาชีวศึกษาส่งเสริมให้คนมาเรียนทางเกษตร เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่กลับมีคนเรียนเกษตรน้อย นอกจากนี้ ควรจัดสรรงบประมาณลงไปช่วยเหลือเยียวยาในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเพื่อฟื้นฟูสถานศึกษา มากกว่าจะนำงบประมาณมาแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง ที่ผ่านมานั้น ครูเป็นอาชีพที่ไม่เคยอายกับการเป็นหนี้ ทุกรัฐบาลมาครูจะต้องมาขอให้แก้ไขปัญหาหนี้สินให้ ทั้งที่ความจริงอาชีพอื่นก็เป็นหนี้แต่ก็ไม่ค่อยมีปรากฎการณ์แบบนี้
ด้าน นายวรวัจน์ กล่าวชี้แจงต่อ กมธ.ศึกษา ว่า เมื่อเราก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เราจะพบกับความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งด้านสังคมวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง หรือแม้แต่เทคโนโลยี ทั้งนี้ ในส่วนของแท็บเล็ตนั้นเป็นเพียงเทคโนโลยีหนึ่งที่ ศธ.จะนำเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษา โดยขณะนี้ได้มอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นผู้ทำการวิจัยการใช้แท็บเล็ตของนักเรียนในโรงเรียนนำร่อง ว่า จะมีผลกระทบหรือไม่ ในส่วนเรื่องของการเรียนฟรีนั้น ตนยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้จะเดินหน้าโครงการเรียนฟรีต่อแน่นอน เพียงแต่จะมีการปรับบางรายการที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของผู้ปกครองและขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลเมื่อเรียบร้อยจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอปรับรายการต่อไป เช่นเดียวกับเรื่องสถาบันอาชีวศึกษา ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากและที่ประชุมคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (บอร์ด กอศ.) จะมีการคัดเลือกวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีความพร้อมเหมาะสมเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ยกระดับเป็นสถาบันอาชีวศึกษาต่อไปโดยยังคงเป้าหมายเดิมใน 19 สถาบัน
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัด ศธ. เปิดเผยว่า ตนขอเสนอตัวเพื่อเข้าให้ข้อมูลเรื่องการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาต่อที่ประชุม กมธ.ศึกษาในสัปดาห์หน้า เนื่องจากเป็นเรื่องสืบเนื่องที่เคยปฏิบัติเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) จึงอยากเข้าชี้แจงให้ข้อมูลว่าเหตุใดในรัฐบาลชุดก่อน ซึ่ง น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และตนจึงมีการเสนอให้จัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา 4 กลุ่ม ซึ่งขัดแย้งกับข้อเสนอของบอร์ด กอศ.ที่ยืนยันจัดตั้งใน 19 กลุ่มสถาบัน
วันนี้ (16 พ.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา (กมธ.) พร้อมด้วย คณะกรรมาธิการ จำนวน 30 คน จัดประชุมสัญจรเพื่อขอรับฟังนโยบายในการบริหารจัดการศึกษาของ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พร้อมด้วย นางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.และผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.และหน่วยงานอื่นๆ ในกำกับ เช่น สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
นายประกอบ กล่าวว่า กมธ.ศึกษามีความตั้งใจอยากจะทำงานร่วมกับ ศธ.โดยภารกิจหลักของ กมธ.คือ มุ่งติดตามความก้าวหน้าทางการศึกษา การสืบสวน สอบสวน ในเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนว่าไม่ชอบมาพากล และสนับสนุนการศึกษาที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติ ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะเดินหน้าตามกรอบ โดยไม่มีการนำเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส ทั้งนี้ การทำงานของ กมธ.จะมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งที่ผ่านมา กมธ.ศึกษา ได้รับการร้องเรียนหลายเรื่องทั้งการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา การร้องเรียนการประเมินวิทยฐานะ การสอบถามเรื่องการเรียนฟรี ว่า ในรัฐบาลชุดปัจจุบันจะยังดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสถาบันอาชีวศึกษานั้น ในการประชุม กมธ.ศึกษา สัปดาห์หน้าจะมีการติดตามตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวเพราะเป็นไปอย่างล่าช้า และมีปัญหาค่อนข้างมากซึ่งจะขอเชิญ รมว.ศึกษาธิการ หรือผู้แทน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อมูลต่อ กมธ.ศึกษาธิการ
ด้านนายพงศกร อรรณพพร รองประธาน กมธ.ศึกษา กล่าวว่า อยากให้ ศธ. ดำเนินการเรื่องโครงการ One Tablet Pc Per Child ที่จะแจกให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 กว่า 5 แสนคน โดยกำหนดราคาขั้นต่ำของแท็บเล็ตไว้ที่ประมาณ 3,500 บาท ควรจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษว่าในราคาที่กำหนดไว้นั้นจะได้สเป็คของแท็ปเล็ตที่มีคุณภาพหรือไม่ อย่าปล่อยให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่เสียหายว่าสเป็คไม่เหมาะสม รวมถึงผลกระทบต่อการใช้งานแท็บเล็ตที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความเป็นกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อตัวเด็ก
ขณะที่ นายมานิตย์ สังข์พุ่ม โฆษก กมธ.ศึกษา กล่าวว่า อยากให้ ศธ.ทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอน โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมลงไป อย่าเน้นแต่ความรู้ทางวิชาการ เพราะปัจจุบันเด็กไทยขาดคุณธรรม จริยธรรมอย่างมากอีกทั้งประเทศใดที่ขาดการส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้สุดท้ายจะกลายเป็นอัมพาต นอกจากนี้ อยากให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ลงไปสะสางปัญหาเรื่องการลอกผลงานวิชาการในการทำเสนอขอเลื่อนประเมินวิทยฐานะอย่างจริงจัง ตนได้รับร้องเรียนมามากถึงการลอกผลงาน รวมถึงการจ้างทำผลงานวิชาการ ที่สุดท้ายคนทำงานผลงานแทบตายกลับไม่ได้รับวิทยาฐานะแต่คนที่ลอกผลงาน หรือจ้างทำผลงานกลับได้รับวิทยฐานะ ดังนั้น เมื่อ ก.ค.ศ.จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวขอให้ทำอย่างจริงจัง
นายเวียง วรเชษฐ์ ที่ปรึกษา กมธ.ศึกษา กล่าวว่า อยากให้ ศธ.ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนทางด้านเกษตรมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาวิทยาลัยเกษตรของอาชีวศึกษาส่งเสริมให้คนมาเรียนทางเกษตร เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่กลับมีคนเรียนเกษตรน้อย นอกจากนี้ ควรจัดสรรงบประมาณลงไปช่วยเหลือเยียวยาในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเพื่อฟื้นฟูสถานศึกษา มากกว่าจะนำงบประมาณมาแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง ที่ผ่านมานั้น ครูเป็นอาชีพที่ไม่เคยอายกับการเป็นหนี้ ทุกรัฐบาลมาครูจะต้องมาขอให้แก้ไขปัญหาหนี้สินให้ ทั้งที่ความจริงอาชีพอื่นก็เป็นหนี้แต่ก็ไม่ค่อยมีปรากฎการณ์แบบนี้
ด้าน นายวรวัจน์ กล่าวชี้แจงต่อ กมธ.ศึกษา ว่า เมื่อเราก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เราจะพบกับความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งด้านสังคมวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง หรือแม้แต่เทคโนโลยี ทั้งนี้ ในส่วนของแท็บเล็ตนั้นเป็นเพียงเทคโนโลยีหนึ่งที่ ศธ.จะนำเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษา โดยขณะนี้ได้มอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นผู้ทำการวิจัยการใช้แท็บเล็ตของนักเรียนในโรงเรียนนำร่อง ว่า จะมีผลกระทบหรือไม่ ในส่วนเรื่องของการเรียนฟรีนั้น ตนยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้จะเดินหน้าโครงการเรียนฟรีต่อแน่นอน เพียงแต่จะมีการปรับบางรายการที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของผู้ปกครองและขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลเมื่อเรียบร้อยจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอปรับรายการต่อไป เช่นเดียวกับเรื่องสถาบันอาชีวศึกษา ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากและที่ประชุมคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (บอร์ด กอศ.) จะมีการคัดเลือกวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีความพร้อมเหมาะสมเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ยกระดับเป็นสถาบันอาชีวศึกษาต่อไปโดยยังคงเป้าหมายเดิมใน 19 สถาบัน
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัด ศธ. เปิดเผยว่า ตนขอเสนอตัวเพื่อเข้าให้ข้อมูลเรื่องการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาต่อที่ประชุม กมธ.ศึกษาในสัปดาห์หน้า เนื่องจากเป็นเรื่องสืบเนื่องที่เคยปฏิบัติเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) จึงอยากเข้าชี้แจงให้ข้อมูลว่าเหตุใดในรัฐบาลชุดก่อน ซึ่ง น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และตนจึงมีการเสนอให้จัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา 4 กลุ่ม ซึ่งขัดแย้งกับข้อเสนอของบอร์ด กอศ.ที่ยืนยันจัดตั้งใน 19 กลุ่มสถาบัน