พม.จัดตั้งทีมงาน ประสานงานศูนย์พักพิงในเขต กทม.50 เขต ติดต่อ ศูนย์ประชาบดี โทร.1300 ทุกวัน ตลอด 24 ชม.หรือ www.m-society.go.th
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นรูปแบบกิจกรรมให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบอุทกภัย ภายใต้ภารกิจของกระทรวง ด้วยการบูรณาการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งการช่วยเหลือเบื้องต้น ได้แก่ การให้บริการช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ โดยการจัดตั้ง “ครัว พม.” ขึ้น เพื่อประกอบอาหาร แจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย ซึ่งดำเนินการใน 4 รูปแบบ คือ 1.การจัดตั้งโรงครัว ณ ศูนย์อพยพ 2.การจัดทำอาหาร ณ หน่วยงานของกระทรวง หรือชุมชน 3. การจัดส่งอาหารสดให้ครัวเรือน/ชุมชน/องค์กรเอกชน เพื่อดำเนินการ และ 4.การจัดจ้างกลุ่มแม่บ้าน หรือกลุ่มผู้ประสบภัยประกอบอาหารแจกจ่าย นอกจากนี้ได้มีการจัดกิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรม 3 ส.สร้างสุข สร้างรายได้ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต กิจกรรมคาราวานเสริมสร้างเด็ก การฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น การให้คำแนะนำปรึกษา เป็นต้น เพื่อเป็นการลดสภาวะความเครียดของผู้ประสบภัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในพื้นที่ศูนย์อพยพ
นอกจากนี้ พม.ได้สนับสนุนการดำเนินงานในศูนย์พักพิงชั่วคราวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ รวม 50 เขต ของ กทม.แบ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยและมีการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว จำนวน 26 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ สายไหม ดอนเมือง บางเขน หลักสี่ จตุจักร คลองสามวา คันนายาว ลาดกระบัง หนองจอก บึงกุ่ม ดุสิต พระนคร ดินแดง ปทุมวัน บางคอแหลม มีนบุรี บางพลัด บางกอกน้อย ธนบุรี คลองสาน ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน ราษฎร์บูรณะ หนองแขม บางแค และเขตพื้นที่ที่ยังไม่ประสบอุทกภัย จำนวน 24 เขต
ทั้งนี้ ในส่วนของ พม.รับผิดชอบด้านการอำนวยการและการประชาสัมพันธ์ ด้านอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องอุปโภคบริโภค การพัฒนาทักษะอาชีพ การรักษาพยาบาล การจัดระเบียบชุมชนและความปลอดภัย และด้านกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติการในศูนย์พักพิงชั่วคราวมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดตั้งทีมงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ กทม.ในเขตกรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขต โดยติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ประชาบดี โทร.1300 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ www.m-society.go.th
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นรูปแบบกิจกรรมให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบอุทกภัย ภายใต้ภารกิจของกระทรวง ด้วยการบูรณาการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งการช่วยเหลือเบื้องต้น ได้แก่ การให้บริการช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ โดยการจัดตั้ง “ครัว พม.” ขึ้น เพื่อประกอบอาหาร แจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย ซึ่งดำเนินการใน 4 รูปแบบ คือ 1.การจัดตั้งโรงครัว ณ ศูนย์อพยพ 2.การจัดทำอาหาร ณ หน่วยงานของกระทรวง หรือชุมชน 3. การจัดส่งอาหารสดให้ครัวเรือน/ชุมชน/องค์กรเอกชน เพื่อดำเนินการ และ 4.การจัดจ้างกลุ่มแม่บ้าน หรือกลุ่มผู้ประสบภัยประกอบอาหารแจกจ่าย นอกจากนี้ได้มีการจัดกิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรม 3 ส.สร้างสุข สร้างรายได้ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต กิจกรรมคาราวานเสริมสร้างเด็ก การฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น การให้คำแนะนำปรึกษา เป็นต้น เพื่อเป็นการลดสภาวะความเครียดของผู้ประสบภัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในพื้นที่ศูนย์อพยพ
นอกจากนี้ พม.ได้สนับสนุนการดำเนินงานในศูนย์พักพิงชั่วคราวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ รวม 50 เขต ของ กทม.แบ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยและมีการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว จำนวน 26 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ สายไหม ดอนเมือง บางเขน หลักสี่ จตุจักร คลองสามวา คันนายาว ลาดกระบัง หนองจอก บึงกุ่ม ดุสิต พระนคร ดินแดง ปทุมวัน บางคอแหลม มีนบุรี บางพลัด บางกอกน้อย ธนบุรี คลองสาน ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน ราษฎร์บูรณะ หนองแขม บางแค และเขตพื้นที่ที่ยังไม่ประสบอุทกภัย จำนวน 24 เขต
ทั้งนี้ ในส่วนของ พม.รับผิดชอบด้านการอำนวยการและการประชาสัมพันธ์ ด้านอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องอุปโภคบริโภค การพัฒนาทักษะอาชีพ การรักษาพยาบาล การจัดระเบียบชุมชนและความปลอดภัย และด้านกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติการในศูนย์พักพิงชั่วคราวมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดตั้งทีมงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ กทม.ในเขตกรุงเทพฯ ทั้ง 50 เขต โดยติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ประชาบดี โทร.1300 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ www.m-society.go.th