พบเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ เป็นหูชั้นกลางอักเสบ แพทย์ห่วงรักษาไม่ทัน เสี่ยงเกิดฝีในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบถึงตาย WHO เผย ไทยมีอัตราป่วยในระดับสูง แนะเร่งตรวจรักษา ฉีดวัคซีนป้องกัน
วันนี้ (19 ต.ค.) ผศ.นพ.โอฬาร พรหมาลิขิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ กุมารเวชศาสตร์ เขตร้อน ครั้งที่ 9 (The 9th International Congress of Tropical Pediatric หรือ ไอซีทีพี : ICTP) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ต.ค.ที่ศุนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมร่วมกันเกี่ยวกับโรคในเด็กหลายประเด็น โรคติดเชื้อในเด็กซึ่งที่พบบ่อย คือ โรคติดเชื้อทางระบบหายใจ เช่น หวัด ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ แต่ที่นักวิชาการและแพทย์ให้ความสนใจ คือ เรื่องการติดเชื้อรุนแรงของหูชั้นกลางในเด็กทั่วโลก ซึ่งพบว่ากว่า 80% ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบต้องมีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 1 ครั้ง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ โรคหูน้ำหนวก ทำให้ประสิทธิภาพในการได้ยิน และหากไม่สามารถรักษาได้ทันเด็กก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยโรคดังกล่าวเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัสซึ่งหายเองได้ แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เรียกว่า เอ็นทีเอชเอ ก็เสี่ยงต่อการลุกลามสู่สมองเกิดเป็นโรคอันตรายอย่างเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือบางรายเป็นอัมพาตบนใบหน้า

ด้าน ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ ภาควิชาโสต ศอ นาสิก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองสถานการณ์ว่า โรคหูชั้นกลางอักเสบมักแฝงมากับไข้หวัด โดยอาการข้างเคียงเหมือนกับไข้หวัด เช่น หูอื้อ เจ็บหู ฟังไม่ค่อยได้ยิน ผู้ปกครองจึงเข้าใจว่าเป็นผลมาจากการไม่สบาย และจะหายไปเองหลังหายป่วย ปกติหูชั้นในเชื่อมต่อไปยังคอได้ โดยเฉพาะเด็กที่ทางเชื่อมต่อยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้เกิดผลกระทบได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งในเด็กที่ภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรงพอเป็นไข้หวัดง่ายทำให้เชื้อที่อยู่บริเวณลำคอแพร่กระจายสู่หูชั้นกลาง โดยสามารถแยกประเภทของโรคหูชั้นกลางอักเสบได้เป็น 1.อักเสบเฉียบพลัน 2.อักเสบเรื้อรัง 3.อักเสบมีน้ำขัง แก้วหูยังไม่ทะลุ ซึ่งมีผลต่อการได้ยินอย่างมาก
“สำหรับวิธีการรักษานั้นจำเป็นต้องรับยาปฏิชีวนะ แต่ปัญหา คือ มีการเกิดภาวะดื้อยา ดังนั้นปัจจุบันการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ อากาศเย็นจัด และเชื้อหวัด รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันก็ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด” ผศ.พญ.นันทิการ์ กล่าว
ผศ.พญ.นันทิการ์ กล่าวต่อว่า จากอุบัติการณ์ของภาวะหูชั้นกลางงอักเสบนั้นถ้าเป็นเด็กในเขตเมืองหรือกรุงเทพฯซึ่งผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลวัคซีนในการฉีดป้องกันและรู้เท่าทันอาการเบื้องต้นมักจะสามารถตรวจพบอาการระยะแรกซึ่งไม่รุนแรงและรักษาได้ทัน ขณะที่ทางต่างจังหวัดมักจะพบหูเป็นหนอง ซึ่งเกิดในระยะรุนแลงแล้ว ดังนั้น จึงแนะนำว่า พ่อแม่ผู้ปกครองควรที่ปรึกษา ทั้งกุมารแพทย์และแพทย์เฉพาะทางโสต สอ นาสิก เพื่อเช็กร่างกายของบุตรหลานตั้งแต่ยังเด็ก เพราะจากมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO)ระบุไว้เกี่ยวกับอุบัติการณ์ของผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบในเด็กวัยประถมทั่วโลกนั้น พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการป่วยหูชั้นกลางอักเสบถึง 3.5% ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูง เมื่อเทียบกับเกณฑ์ทั่วโลกที่ระบุว่าพื้นที่ใดมีเด็กประถมป่วยหูชั้นกลางอักเสบ 1-2% คือ ระดับต่ำ 2-4% ระดับสูงและมากกว่า 4% คือ สูงมาก แต่ปัญหาคือ ปัจจุบันอาการดังกล่าวไม่ค่อยพบในเด็กประถมแต่จะพบในเด็กเล็กต่ำกว่า 3 ขวบ
วันนี้ (19 ต.ค.) ผศ.นพ.โอฬาร พรหมาลิขิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ กุมารเวชศาสตร์ เขตร้อน ครั้งที่ 9 (The 9th International Congress of Tropical Pediatric หรือ ไอซีทีพี : ICTP) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ต.ค.ที่ศุนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมร่วมกันเกี่ยวกับโรคในเด็กหลายประเด็น โรคติดเชื้อในเด็กซึ่งที่พบบ่อย คือ โรคติดเชื้อทางระบบหายใจ เช่น หวัด ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ แต่ที่นักวิชาการและแพทย์ให้ความสนใจ คือ เรื่องการติดเชื้อรุนแรงของหูชั้นกลางในเด็กทั่วโลก ซึ่งพบว่ากว่า 80% ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบต้องมีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 1 ครั้ง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ โรคหูน้ำหนวก ทำให้ประสิทธิภาพในการได้ยิน และหากไม่สามารถรักษาได้ทันเด็กก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยโรคดังกล่าวเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัสซึ่งหายเองได้ แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เรียกว่า เอ็นทีเอชเอ ก็เสี่ยงต่อการลุกลามสู่สมองเกิดเป็นโรคอันตรายอย่างเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือบางรายเป็นอัมพาตบนใบหน้า
ด้าน ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ ภาควิชาโสต ศอ นาสิก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองสถานการณ์ว่า โรคหูชั้นกลางอักเสบมักแฝงมากับไข้หวัด โดยอาการข้างเคียงเหมือนกับไข้หวัด เช่น หูอื้อ เจ็บหู ฟังไม่ค่อยได้ยิน ผู้ปกครองจึงเข้าใจว่าเป็นผลมาจากการไม่สบาย และจะหายไปเองหลังหายป่วย ปกติหูชั้นในเชื่อมต่อไปยังคอได้ โดยเฉพาะเด็กที่ทางเชื่อมต่อยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้เกิดผลกระทบได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งในเด็กที่ภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรงพอเป็นไข้หวัดง่ายทำให้เชื้อที่อยู่บริเวณลำคอแพร่กระจายสู่หูชั้นกลาง โดยสามารถแยกประเภทของโรคหูชั้นกลางอักเสบได้เป็น 1.อักเสบเฉียบพลัน 2.อักเสบเรื้อรัง 3.อักเสบมีน้ำขัง แก้วหูยังไม่ทะลุ ซึ่งมีผลต่อการได้ยินอย่างมาก
“สำหรับวิธีการรักษานั้นจำเป็นต้องรับยาปฏิชีวนะ แต่ปัญหา คือ มีการเกิดภาวะดื้อยา ดังนั้นปัจจุบันการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ อากาศเย็นจัด และเชื้อหวัด รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันก็ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด” ผศ.พญ.นันทิการ์ กล่าว
ผศ.พญ.นันทิการ์ กล่าวต่อว่า จากอุบัติการณ์ของภาวะหูชั้นกลางงอักเสบนั้นถ้าเป็นเด็กในเขตเมืองหรือกรุงเทพฯซึ่งผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลวัคซีนในการฉีดป้องกันและรู้เท่าทันอาการเบื้องต้นมักจะสามารถตรวจพบอาการระยะแรกซึ่งไม่รุนแรงและรักษาได้ทัน ขณะที่ทางต่างจังหวัดมักจะพบหูเป็นหนอง ซึ่งเกิดในระยะรุนแลงแล้ว ดังนั้น จึงแนะนำว่า พ่อแม่ผู้ปกครองควรที่ปรึกษา ทั้งกุมารแพทย์และแพทย์เฉพาะทางโสต สอ นาสิก เพื่อเช็กร่างกายของบุตรหลานตั้งแต่ยังเด็ก เพราะจากมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO)ระบุไว้เกี่ยวกับอุบัติการณ์ของผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบในเด็กวัยประถมทั่วโลกนั้น พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการป่วยหูชั้นกลางอักเสบถึง 3.5% ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูง เมื่อเทียบกับเกณฑ์ทั่วโลกที่ระบุว่าพื้นที่ใดมีเด็กประถมป่วยหูชั้นกลางอักเสบ 1-2% คือ ระดับต่ำ 2-4% ระดับสูงและมากกว่า 4% คือ สูงมาก แต่ปัญหาคือ ปัจจุบันอาการดังกล่าวไม่ค่อยพบในเด็กประถมแต่จะพบในเด็กเล็กต่ำกว่า 3 ขวบ