“วิทยา” ลั่น สธ.ยังรับมือสถานการณ์น้ำท่วมไหว โรคระบาดยังไม่น่าห่วง เน้นดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง-กำชับอาหารปลอดภัย ย้ำชัด สถานบริการทุกแห่งเตรียมพร้อมเสมอ ขณะ “ต่อพงษ์” ขานรับนโยบาย ศปภ.เดินหน้าเยียวยาสุขภาพจิต เตรียมผุดโครงการ “ฮึดสู้ เดี๋ยวก็ผ่านไป” รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนร่วมเป็นกำลังใจ
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ว่า จากการประชุมศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม(ศปภ.) ในส่วนของ สธ.นั้นยังต้องเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านบริการ พร้อมกับเตรียมแผนฟื้นฟูในส่วนของสถานพยาบาลที่ได้รับผลกระทบ และเรื่องการเยียวยาสุขภาพจิต โรคติดต่อ โดยต้องร่วมมือทุกกรม รวมทั้ง เตรียมเรื่องการดูแลผู้ประสบภัยในศูนย์อพยพ ซึ่งต้องร่วมมือกับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทั้งนี้ ในส่วนที่ต้องเน้นคือ เรื่องการประกอบอาหารทาง สธ.กำชับให้มีความสะอาดและปลอดภัย
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ในเรื่องโรคระบาดนั้นยังไม่น่าห่วงเท่าผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องรักษาตัวต่อเนื่องคือฟอกไตซึ่งขณะนี้มีเครื่องมืออย่างจำกัด และจำเป็นต้องมีบุคลากรสาธารณสุขคอยดูแลตลอดเวลา ส่วนยาและเวชภัณฑ์นั้นนอกจากจำนวนที่กระจายไปแล้วยังต้องสำรองไว้ในสต๊อกราว 5 แสนชุด ซึ่งถือว่าเตรียมพร้อมอย่างเพียงพอแล้วสำหรับการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมเป็นเวลา 2 เดือนตามที่ประชุม ศปภ.ได้วางแผนไว้
“สำหรับเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยนั้น สธ.ถือว่าเตรียมความพร้อมได้ดี เพราะมีสถานพยาบาลสำหรับรองรับการส่งต่ออยู่แล้ว แต่ในส่วนของ รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี นั้น แม้ว่าน้ำจะยังไม่เข้ามาแต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อความไม่ประมาท ขณะที่ รพ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา นั้นกำลังเร่งขอกระสอบทรายมากั้นน้ำเพิ่ม” นายวิทยา กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลการประชุมวอร์รูม สธ.นั้น รายงานว่า การออกบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของ ศธ.นั้น ออกบริการไปแล้วจำนวน 5,465 ครั้ง มีผู้รับบริการทั้งหมด 608,372 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 307 ราย สูญหาย 3 ราย ขณะที่สถานพยาบาลสั่งกัด สธ.ที่ได้รับผลกระทบยังคงที่ คือ 463 แห่ง อย่างไรก็ตาม สถานบริการในพื้นที่ จ.นนทบุรี และปทุมธานี ยังต้องติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมเรื่องการอพยพ ส่งต่อผู้ป่วยและปรับบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย
ด้านนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์การเยียวยาสุขภาพจิตผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ขณะนี้ประชาชนที่ประสบภัยยังคงมีความเครียดสูง และมีภาวะซึมเศร้ากันมาก ทาง ศปภ.จึงได้กำชับให้ สธ.โดยกรมสุขภาพจิต มีการเตรียมแผนเยียวยา โดยนอกจากการประสานสมาคมศิลปินตลกในการแสดงเพื่อคลายเครียดแล้ว ยังมีแผนที่จะเกิดโครงการ “ฮึดสู้ เดี๋ยวก็ผ่านไป” ซึ่งเป็นการร่วมมือของประชาชนทั่วไปกับ ผู้ประสบภัย ในการฝ่าฝันอุปสรรคไปพร้อมๆกัน รวมทั้งเร่งทำกิจกรรม Kick off แคมเปญ รณรงค์เรื่องการช่วยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันและภายใต้ความเชื่อว่า ปัญหาและอุปสรรคจะผ่านพ้นในที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากกระแสที่ระบุว่า กลุ่มประชาชนในชนชั้นแรงงานที่มีถึง 3 แสนราย จะมีความเครียดกว่าปกติ จำเป็นต้องเยียวยาพิเศษหรือไม่ นายต่อพงษ์ กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจแล้ว ซึ่งเบื้องต้นคาดว่ากลุ่มดังกล่าวอาจเผชิญปัญหาเรื่องหนี้สินส่วนมาก ดังนั้น น่าจะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อผ่อนผันระยะเวลาการใช้หนี้ เช่น บัตรเครดิต เพื่อคลายความกังวลแก่ผู้ประสบภัย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ว่า จากการประชุมศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม(ศปภ.) ในส่วนของ สธ.นั้นยังต้องเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านบริการ พร้อมกับเตรียมแผนฟื้นฟูในส่วนของสถานพยาบาลที่ได้รับผลกระทบ และเรื่องการเยียวยาสุขภาพจิต โรคติดต่อ โดยต้องร่วมมือทุกกรม รวมทั้ง เตรียมเรื่องการดูแลผู้ประสบภัยในศูนย์อพยพ ซึ่งต้องร่วมมือกับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทั้งนี้ ในส่วนที่ต้องเน้นคือ เรื่องการประกอบอาหารทาง สธ.กำชับให้มีความสะอาดและปลอดภัย
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า ในเรื่องโรคระบาดนั้นยังไม่น่าห่วงเท่าผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องรักษาตัวต่อเนื่องคือฟอกไตซึ่งขณะนี้มีเครื่องมืออย่างจำกัด และจำเป็นต้องมีบุคลากรสาธารณสุขคอยดูแลตลอดเวลา ส่วนยาและเวชภัณฑ์นั้นนอกจากจำนวนที่กระจายไปแล้วยังต้องสำรองไว้ในสต๊อกราว 5 แสนชุด ซึ่งถือว่าเตรียมพร้อมอย่างเพียงพอแล้วสำหรับการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมเป็นเวลา 2 เดือนตามที่ประชุม ศปภ.ได้วางแผนไว้
“สำหรับเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยนั้น สธ.ถือว่าเตรียมความพร้อมได้ดี เพราะมีสถานพยาบาลสำหรับรองรับการส่งต่ออยู่แล้ว แต่ในส่วนของ รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี นั้น แม้ว่าน้ำจะยังไม่เข้ามาแต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อความไม่ประมาท ขณะที่ รพ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา นั้นกำลังเร่งขอกระสอบทรายมากั้นน้ำเพิ่ม” นายวิทยา กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลการประชุมวอร์รูม สธ.นั้น รายงานว่า การออกบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของ ศธ.นั้น ออกบริการไปแล้วจำนวน 5,465 ครั้ง มีผู้รับบริการทั้งหมด 608,372 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 307 ราย สูญหาย 3 ราย ขณะที่สถานพยาบาลสั่งกัด สธ.ที่ได้รับผลกระทบยังคงที่ คือ 463 แห่ง อย่างไรก็ตาม สถานบริการในพื้นที่ จ.นนทบุรี และปทุมธานี ยังต้องติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมเรื่องการอพยพ ส่งต่อผู้ป่วยและปรับบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย
ด้านนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์การเยียวยาสุขภาพจิตผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ขณะนี้ประชาชนที่ประสบภัยยังคงมีความเครียดสูง และมีภาวะซึมเศร้ากันมาก ทาง ศปภ.จึงได้กำชับให้ สธ.โดยกรมสุขภาพจิต มีการเตรียมแผนเยียวยา โดยนอกจากการประสานสมาคมศิลปินตลกในการแสดงเพื่อคลายเครียดแล้ว ยังมีแผนที่จะเกิดโครงการ “ฮึดสู้ เดี๋ยวก็ผ่านไป” ซึ่งเป็นการร่วมมือของประชาชนทั่วไปกับ ผู้ประสบภัย ในการฝ่าฝันอุปสรรคไปพร้อมๆกัน รวมทั้งเร่งทำกิจกรรม Kick off แคมเปญ รณรงค์เรื่องการช่วยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันและภายใต้ความเชื่อว่า ปัญหาและอุปสรรคจะผ่านพ้นในที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากกระแสที่ระบุว่า กลุ่มประชาชนในชนชั้นแรงงานที่มีถึง 3 แสนราย จะมีความเครียดกว่าปกติ จำเป็นต้องเยียวยาพิเศษหรือไม่ นายต่อพงษ์ กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจแล้ว ซึ่งเบื้องต้นคาดว่ากลุ่มดังกล่าวอาจเผชิญปัญหาเรื่องหนี้สินส่วนมาก ดังนั้น น่าจะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อผ่อนผันระยะเวลาการใช้หนี้ เช่น บัตรเครดิต เพื่อคลายความกังวลแก่ผู้ประสบภัย