สธ.ระดมเจ้าหน้าที่ รถพยาบาลฉุกเฉิน ลำเลียงผู้ป่วยหนักใส่เครื่องช่วยหายใจ 50 ราย ออกจาก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ หลังน้ำทะลักเข้าท่วม ปิดบริการผู้ป่วยนอก ฉุกเฉิน และงดรับผู้ป่วยใหม่ชั่วคราว ส่วน รพ.พระนครศรีอยุธยา จะย้ายผู้ป่วยที่เหลือทั้งหมด 78 ราย ออกวันนี้ พร้อมกำชับโรงพยาบาลที่อยู่ในจุดเสี่ยงถูกน้ำท่วม ให้เปิดบริการบนอาคารชั้น 2 งดใช้บริการที่ชั้น 1 ทั้งหมด
วันที่ 10 ตุลาคม นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า ได้รับรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.น้ำได้ทะลักเข้าท่วมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ น้ำท่วมบริเวณชั้นล่างอาคารไม่สามารถให้บริการได้ ระดับน้ำสูงประมาณ 60 เซนติเมตร แนวโน้มเพิ่มขึ้นอาจถึง 2 เมตร และค่อนข้างเชี่ยว ขณะนี้มีผู้ป่วยนอนรักษา 650 ราย รวมญาติด้วยจะมีประมาณ 2,000 คน โดยมีผู้ป่วยหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 50 ราย ได้ระดมเจ้าหน้าที่ลำเลียงผู้ป่วยหนักจาก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ ขณะนี้ส่งไปแล้ว 34 ราย รักษาที่ รพ.ในจังหวัดคือ รพ.ค่ายจิระประวัติ ที่เหลือจะทยอยย้ายไปที่อื่นๆ ต่อไป
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ขณะนี้งดการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ฉุกเฉิน งดรับผู้ป่วยรายใหม่เป็นการชั่วคราว และจะทยอยย้ายผู้ป่วยที่เหลืออีก 600 รายต่อไป ซึ่งทุกรายจะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและปลอดภัยที่สุด และได้ส่งหน่วยช่างจากกองวิศวกรรมการแพทย์ เข้าไปติดตั้งเครื่องปั่นไฟสำรองเพื่อให้สามารถบริการผู้ป่วยได้
ในการจัดบริการในภาวะฉุกเฉิน ได้เพิ่มจุดบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก 1 จุด ที่สี่แยกพหลโยธิน และจัดหน่วยแพทย์เคลี่อนที่บริการในจุดอพยพประชาชน 5 จุด นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถไปใช้บริการที่โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ โรงพยาบาลแม่และเด็ก หรือให้โทร.แจ้งขอความช่วยเหลือที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันนี้ จะทำการส่งต่อผู้ป่วยที่เหลืออีก 78 ราย ออกจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลต่างๆ ได้ทั้งหมด และได้เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มอีก 1 จุด ที่จุดอพยพบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเลิดสิน และได้จัดส่งจิตแพทย์ นักจิตวิทยาไปให้บริการประจำที่จุดอพยพด้วย
ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประชุมวอร์รูมของกระทรวงสาธารณสุข ได้ประเมินสถานการณ์น้ำในช่วง 1-2 วันนี้ ยังน่าวิตก ได้สั่งการให้โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงจะถูกน้ำท่วม ซึ่งมีกว่า 20 แห่ง ให้ติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิดและปรับระบบบริการโดยให้ย้ายการให้บริการขึ้นบนอาคารบริการชั้น 2 งดการให้บริการที่ชั้น 1 ทั้งหมด และได้มอบหมายให้วอร์รูมศึกษาและประสานเส้นทางการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่น้ำท่วมทุกวัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากการส่งต่อผู้ป่วยต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ ยังได้วางระบบการจัดบริการดูแลสุขภาพประชาชน โดยให้จังหวัดที่น้ำไม่ท่วม จับคู่บริการดูแผู้เจ็บป่วยในพื้นที่น้ำท่วม ทั้งทีมสับเปลี่ยนดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และทีมเสริมบริการในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รายวัน เพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เบื้องต้น 12 จังหวัด ได้แก่ 1.จ.พระนครศรีอยุธยา กับ จ.ราชบุรี เชียงราย สมุทรปราการ และ ภูเก็ต 2.จ.ลพบุรี กับ จ.เพชรบุรี ชัยภูมิ และนครราชสีมา 3.จ.ชัยนาท กับจ.ประจวบคีรีขันธ์ 4.จ.สิงห์บุรี กับ จ.สมุทรสาคร และ จ.ระยอง 5.จ.อ่างทอง กับ จ.สมุทรสงคราม 6.จ.สุพรรณบุรี กับ จ.ชลบุรี 7.จ.พิษณุโลก กับ จ.ร้อยเอ็ด 8.จ.เพชรบูรณ์ กับ จ.กาฬสินธุ์ 9.จ.อุทัยธานี กับ จ.ชัยภูมิ 10.จ.พิจิตร กับ จ.บุรีรัมย์ 11.จ.นครสวรรค์ กับ จ.สุรินทร์ 12.จ.เชียงใหม่ กับ จ.ขอนแก่น
วันที่ 10 ตุลาคม นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า ได้รับรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.น้ำได้ทะลักเข้าท่วมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ น้ำท่วมบริเวณชั้นล่างอาคารไม่สามารถให้บริการได้ ระดับน้ำสูงประมาณ 60 เซนติเมตร แนวโน้มเพิ่มขึ้นอาจถึง 2 เมตร และค่อนข้างเชี่ยว ขณะนี้มีผู้ป่วยนอนรักษา 650 ราย รวมญาติด้วยจะมีประมาณ 2,000 คน โดยมีผู้ป่วยหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 50 ราย ได้ระดมเจ้าหน้าที่ลำเลียงผู้ป่วยหนักจาก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ ขณะนี้ส่งไปแล้ว 34 ราย รักษาที่ รพ.ในจังหวัดคือ รพ.ค่ายจิระประวัติ ที่เหลือจะทยอยย้ายไปที่อื่นๆ ต่อไป
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ขณะนี้งดการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ฉุกเฉิน งดรับผู้ป่วยรายใหม่เป็นการชั่วคราว และจะทยอยย้ายผู้ป่วยที่เหลืออีก 600 รายต่อไป ซึ่งทุกรายจะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและปลอดภัยที่สุด และได้ส่งหน่วยช่างจากกองวิศวกรรมการแพทย์ เข้าไปติดตั้งเครื่องปั่นไฟสำรองเพื่อให้สามารถบริการผู้ป่วยได้
ในการจัดบริการในภาวะฉุกเฉิน ได้เพิ่มจุดบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก 1 จุด ที่สี่แยกพหลโยธิน และจัดหน่วยแพทย์เคลี่อนที่บริการในจุดอพยพประชาชน 5 จุด นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถไปใช้บริการที่โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ โรงพยาบาลแม่และเด็ก หรือให้โทร.แจ้งขอความช่วยเหลือที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันนี้ จะทำการส่งต่อผู้ป่วยที่เหลืออีก 78 ราย ออกจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลต่างๆ ได้ทั้งหมด และได้เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มอีก 1 จุด ที่จุดอพยพบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเลิดสิน และได้จัดส่งจิตแพทย์ นักจิตวิทยาไปให้บริการประจำที่จุดอพยพด้วย
ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประชุมวอร์รูมของกระทรวงสาธารณสุข ได้ประเมินสถานการณ์น้ำในช่วง 1-2 วันนี้ ยังน่าวิตก ได้สั่งการให้โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงจะถูกน้ำท่วม ซึ่งมีกว่า 20 แห่ง ให้ติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิดและปรับระบบบริการโดยให้ย้ายการให้บริการขึ้นบนอาคารบริการชั้น 2 งดการให้บริการที่ชั้น 1 ทั้งหมด และได้มอบหมายให้วอร์รูมศึกษาและประสานเส้นทางการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่น้ำท่วมทุกวัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากการส่งต่อผู้ป่วยต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ ยังได้วางระบบการจัดบริการดูแลสุขภาพประชาชน โดยให้จังหวัดที่น้ำไม่ท่วม จับคู่บริการดูแผู้เจ็บป่วยในพื้นที่น้ำท่วม ทั้งทีมสับเปลี่ยนดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และทีมเสริมบริการในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รายวัน เพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เบื้องต้น 12 จังหวัด ได้แก่ 1.จ.พระนครศรีอยุธยา กับ จ.ราชบุรี เชียงราย สมุทรปราการ และ ภูเก็ต 2.จ.ลพบุรี กับ จ.เพชรบุรี ชัยภูมิ และนครราชสีมา 3.จ.ชัยนาท กับจ.ประจวบคีรีขันธ์ 4.จ.สิงห์บุรี กับ จ.สมุทรสาคร และ จ.ระยอง 5.จ.อ่างทอง กับ จ.สมุทรสงคราม 6.จ.สุพรรณบุรี กับ จ.ชลบุรี 7.จ.พิษณุโลก กับ จ.ร้อยเอ็ด 8.จ.เพชรบูรณ์ กับ จ.กาฬสินธุ์ 9.จ.อุทัยธานี กับ จ.ชัยภูมิ 10.จ.พิจิตร กับ จ.บุรีรัมย์ 11.จ.นครสวรรค์ กับ จ.สุรินทร์ 12.จ.เชียงใหม่ กับ จ.ขอนแก่น