กทม.ส่งหนังสือชี้แจง สตง.จัดซื้อเครื่องออกใบสั่งออนไลน์ ขณะที่สอบซีซีทีวีคืบ ผู้เกี่ยวข้องให้ปากคำครบ คาด สรุปผลได้สัปดาห์หน้า จากกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดเลขที่ ตผ.0012/4913 ลงชื่อโดย
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มาถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554 เพื่อขอให้ กทม.ดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ โดย สตง.ขอให้ กทม.ชี้แจงข้อมูลและจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องใน 6 ประเด็นดังต่อไปนี้ 1.การจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ มีเหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์อย่างไร และการดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และ กทม.อย่างไร 2.สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เริ่มใช้เครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2553 โดยนำร่องในพื้นที่ กทม.และ ปทุมธานีจำนวน 30 เครื่อง
กทม.มีการนำผลประเมินการใช้เครื่องดังกล่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาใช้ประกอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณหรือไม่ อย่างไร 3.กทม.เป็นผู้ริเริ่มการจัดซื้อ หรือได้รับการขอสนับสนุนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและการดำเนินการดังกล่าวมีกฎหมาย หรือระเบียบให้อำนาจ กทม.ดำเนินการ 4.การจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ใดตามแผนบริหารราชการ กทม.พ.ศ.2552-2555 และมีสาระสำคัญอย่างไร 5. การจัดซื้อดังกล่าว กทม.มีแผนการดำเนินการหรือไม่ อย่างไร และ 6.การจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติมีรายละเอียดงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากสภากรุงเทพหมานครอย่างไร ซึ่งสตง.ขอให้กทม.ชี้แจงและจัดส่งเอกสารประกอบภายในวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2554 นั้น
รายงานความคืบหน้าล่าสุดจากศาลาว่าการ กทม.เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ทางสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ส่งหนังสือชี้แจงการจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ หรือ อี-ทิกเก็ต ตามที่ นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม.ได้สั่งการให้ สจส.ชี้แจงโดยได้จัดส่งหนังสือชี้แจงจำนวน 1 ฉบับ พร้อมแนบเอกสารประกอบที่ได้รับจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อีกจำนวนหนึ่งให้กับทางสตง.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการติดตั้งกล้องซีซีทีวีของ กทม.นั้น นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการติดตั้งกล้องซีซีทีวีของ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 ราย มาให้ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ได้เชิญ นายรัฐพล มีธนาถาวร อดีตรองปลัด กทม.และ นายธนา วิชัยสาร ผอ.สจส.คนใหม่ มาให้ข้อมูลเป็น 2 คนสุดท้าย ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ขอให้ให้ถ้อยคำเป็นหนังสือเนื่องจากมีรายละเอียดจำนวนมาก โดยจะนำมาส่งให้ภายในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม นี้ ซึ่งทางคณะกรรมการก็อนุมัติ อย่างไรก็ตาม คาดว่า หากได้รับเอกสารถ้อยคำชี้แจงในวันดังกล่าวจริง ก็จะสามารถสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ภายในสัปดาห์หน้า แต่หากในเอกสารถ้อยคำที่จะได้รับ ปรากฏว่า มีผู้อื่นเกี่ยวข้องทางคณะกรรมการฯก็จะเชิญบุคคลนั้นเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติม
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มาถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554 เพื่อขอให้ กทม.ดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ โดย สตง.ขอให้ กทม.ชี้แจงข้อมูลและจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องใน 6 ประเด็นดังต่อไปนี้ 1.การจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ มีเหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์อย่างไร และการดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และ กทม.อย่างไร 2.สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เริ่มใช้เครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2553 โดยนำร่องในพื้นที่ กทม.และ ปทุมธานีจำนวน 30 เครื่อง
กทม.มีการนำผลประเมินการใช้เครื่องดังกล่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาใช้ประกอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณหรือไม่ อย่างไร 3.กทม.เป็นผู้ริเริ่มการจัดซื้อ หรือได้รับการขอสนับสนุนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและการดำเนินการดังกล่าวมีกฎหมาย หรือระเบียบให้อำนาจ กทม.ดำเนินการ 4.การจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ใดตามแผนบริหารราชการ กทม.พ.ศ.2552-2555 และมีสาระสำคัญอย่างไร 5. การจัดซื้อดังกล่าว กทม.มีแผนการดำเนินการหรือไม่ อย่างไร และ 6.การจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติมีรายละเอียดงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากสภากรุงเทพหมานครอย่างไร ซึ่งสตง.ขอให้กทม.ชี้แจงและจัดส่งเอกสารประกอบภายในวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2554 นั้น
รายงานความคืบหน้าล่าสุดจากศาลาว่าการ กทม.เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ทางสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ส่งหนังสือชี้แจงการจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอัตโนมัติ หรือ อี-ทิกเก็ต ตามที่ นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม.ได้สั่งการให้ สจส.ชี้แจงโดยได้จัดส่งหนังสือชี้แจงจำนวน 1 ฉบับ พร้อมแนบเอกสารประกอบที่ได้รับจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อีกจำนวนหนึ่งให้กับทางสตง.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการติดตั้งกล้องซีซีทีวีของ กทม.นั้น นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการติดตั้งกล้องซีซีทีวีของ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 ราย มาให้ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ได้เชิญ นายรัฐพล มีธนาถาวร อดีตรองปลัด กทม.และ นายธนา วิชัยสาร ผอ.สจส.คนใหม่ มาให้ข้อมูลเป็น 2 คนสุดท้าย ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ขอให้ให้ถ้อยคำเป็นหนังสือเนื่องจากมีรายละเอียดจำนวนมาก โดยจะนำมาส่งให้ภายในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม นี้ ซึ่งทางคณะกรรมการก็อนุมัติ อย่างไรก็ตาม คาดว่า หากได้รับเอกสารถ้อยคำชี้แจงในวันดังกล่าวจริง ก็จะสามารถสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ภายในสัปดาห์หน้า แต่หากในเอกสารถ้อยคำที่จะได้รับ ปรากฏว่า มีผู้อื่นเกี่ยวข้องทางคณะกรรมการฯก็จะเชิญบุคคลนั้นเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติม