ชง กก.ภาพยนตร์ เห็นชอบ 8 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมอุตสาหกรรมหนัง ระยะ 2 ดันไทยศูนย์กลางหนังเอเชีย ขอแยก “เกม” จากภาพยนตร์-คาราโอเกะ
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2555-2559) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า เนื่องจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ฉบับแรกปี 2552-2554 ครบกำหนด วธ.จึงต้องร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฉบับใหม่ ในขณะนี้ร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนสมาคมที่เกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่อนำเสนอไปปรับปรุงยุทธศาสตร์ก่อนประกาศใช้
สำหรับยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 มีทั้งสิ้น 8 ข้อ ได้แก่ 1.การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ รวมทั้งผลักดันให้ตั้งหน่วยงานมาดูงานภาพยนตร์โดยเฉพาะ 2.การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 3.ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ให้เป็นมืออาชีพ 4.พัฒนาตลาดภาพยนตร์และวีดิทัศน์เชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ 5.เสริมสร้างให้ประเทศไทยเป็นเขตปลอดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 6.การเสริมสร้างค่านิยมในการบริโภคภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทย 7.ส่งเสริมธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย และ 8.ส่งเสริมความร่วมมือด้านภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับต่างประเทศ
ส่วนเป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์ระยะที่ 2 เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์เอเชียและแหล่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์สำคัญในตลาดโลก ทั้งนี้ จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ที่ วธ.จัดทำ โดยหลังจากนี้จะสรุปรายละเอียดเสนอ นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการ วธ. เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โดยมีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเห็นชอบและประกาศใช้ยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ข้อ ในวันที่ 30 กันยายนนี้
“ในเวทีรับฟังความคิดเห็น มีผู้เสนอให้ วธ.จัดทำยุทธศาสตร์ ในส่วนของเกมแยกออกจากภาพยนตร์และคาราโอเกะ เพราะแนวโน้มอุตสาหกรรมเกมขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี พร้อมเสนอให้ วธ.ร่างกฎหมายดูแลเกมโดยเฉพาะ เพราะกฎหมาย พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2550 ที่บังคับใช้อยู่นั้นเป็นการตีความรวม ว่า เกมและร้านเกม คือ วีดิทัศน์ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ดีพอนั้น ให้รับเสนอดังกล่าวไว้ และมอบหมายให้กลับไปศึกษาว่าจะสามารถดำเนินการตามข้อเสนอส่วนไหนได้บ้าง” นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2555-2559) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า เนื่องจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ฉบับแรกปี 2552-2554 ครบกำหนด วธ.จึงต้องร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฉบับใหม่ ในขณะนี้ร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนสมาคมที่เกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่อนำเสนอไปปรับปรุงยุทธศาสตร์ก่อนประกาศใช้
สำหรับยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 มีทั้งสิ้น 8 ข้อ ได้แก่ 1.การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ รวมทั้งผลักดันให้ตั้งหน่วยงานมาดูงานภาพยนตร์โดยเฉพาะ 2.การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 3.ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ให้เป็นมืออาชีพ 4.พัฒนาตลาดภาพยนตร์และวีดิทัศน์เชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ 5.เสริมสร้างให้ประเทศไทยเป็นเขตปลอดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 6.การเสริมสร้างค่านิยมในการบริโภคภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทย 7.ส่งเสริมธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย และ 8.ส่งเสริมความร่วมมือด้านภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับต่างประเทศ
ส่วนเป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์ระยะที่ 2 เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์เอเชียและแหล่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์สำคัญในตลาดโลก ทั้งนี้ จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ที่ วธ.จัดทำ โดยหลังจากนี้จะสรุปรายละเอียดเสนอ นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการ วธ. เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โดยมีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเห็นชอบและประกาศใช้ยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ข้อ ในวันที่ 30 กันยายนนี้
“ในเวทีรับฟังความคิดเห็น มีผู้เสนอให้ วธ.จัดทำยุทธศาสตร์ ในส่วนของเกมแยกออกจากภาพยนตร์และคาราโอเกะ เพราะแนวโน้มอุตสาหกรรมเกมขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี พร้อมเสนอให้ วธ.ร่างกฎหมายดูแลเกมโดยเฉพาะ เพราะกฎหมาย พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2550 ที่บังคับใช้อยู่นั้นเป็นการตีความรวม ว่า เกมและร้านเกม คือ วีดิทัศน์ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ดีพอนั้น ให้รับเสนอดังกล่าวไว้ และมอบหมายให้กลับไปศึกษาว่าจะสามารถดำเนินการตามข้อเสนอส่วนไหนได้บ้าง” นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย