ศธ.เตรียมยกร่างหลักเกณฑ์ย้ายครูกลับสู่บ้านเกิดใหม่เปิดช่องให้ยื่นขอเป็นกรณีพิเศษได้โดยไม่ต้องรอฤดูกาลโอนย้ายที่มีเพียง 2 รอบต่อปีเท่านั้น “อภิชาติ” เผยเปลี่ยนชื่อ “ครูคืนถิ่น เป็น ใกล้ภูมิลำเนา” หวั่นปัญหาไม่มีตำแหน่งย้ายลง เล็งพบ รมว.ศธ.อธิบายเหตุผลต่อไป ระบุต้องยกร่างเสร็จภายใน 15 ต.ค.เพื่อส่งให้บอร์ด ก.ค.ศ.เห็นชอบ
นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เกี่ยวกับการย้ายตามนโยบายครูคืนถิ่น ของ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า รมว.ศธ.ต้องการเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูสามารถขอย้ายกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของเพื่อกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตน ดังนั้นในการประชุมซึ่งเป็นครั้งแรกตนจึงมอบแนวทางแก่ อ.ก.ค.ศ.ว่า ให้ดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่และ อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการ ไว้พิจารณาการเสนอขอโอนย้ายกลับโดยไม่ต้องกังวลว่าจะติดขัดกฎหมายซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ซึ่งจะทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้นขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขหลักเกณฑ์เดิมที่มีอยู่
นายอภิชาติ กล่างต่อว่า ที่ผ่านมาเวลาข้าราชการขอโอนย้ายนั้น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ และ อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ซึ่งจะมีการระบุขอบเขตการพิจารณาไว้เพียงสั้นๆ และก็เป็นปัญหามากว่าหลายรายไม่ได้รับการอนุมัติโอนย้ายเพราะการตีความเหตุผลตามหลักเกณฑ์แตกต่างกัน เช่น มีข้าราชการครูที่สามีเสียชีวิต และไม่สามารถเลี้ยงลูกคนเดียวได้ มีความต้องการกลับไปอยู่กับครอบครัวที่ภูมิลำเนาเดิมกับพ่อแม่ตนเพื่อช่วยดูแลลูก แบบนี้บางพื้นที่อนุมัติให้ย้ายบางพื้นที่ไม่อนุมัติ หรือกรณีครูผู้ช่วยที่หลักเกณฑ์กำหนดว่าต้องปฏิงานในพื้นที่จังหวัดได้รับบรจุเป็นเวลา 2 ปีโดยไม่มีการโอนย้ายแต่หากจำเป็นว่าไม่สะดวกในโรงเรียนที่สอนอยู่แต่ขอย้ายไปในโรงเรียนใกล้เคียงแต่ในจังหวัดที่บรรจุ แบบนี้ถือว่าทำได้และไม่ผิด เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษสามารถเสนอขอโอนย้านได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอขอโอนย้ายได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้นคือปีละ 2 ครั้งช่วงเดือน เม.ย.และ ต.ค.
“หลักเกณฑ์ที่ยกร่างใหม่นั้นจะเปิดช่องในการเสนอขอโอนย้ายเป็นกรณีพิเศษให้แก่ข้าราชการครูด้วย โดยหลักเกณฑ์นี้จะใช้กับครูทุกคนในทุกพื้นที่ไม่ได้จำกัด ขณะเดียวกัน ในร่างหลักเกณฑ์นั้น จะระบุว่า เป็นการให้ครูขอย้ายกลับไปทำงานใกล้ภูมิลำเนา ไม่ใช่ทำงานที่ภูมิลำเนาเพราะได้พิจารณาแล้วว่าอาจจะมีปัญหาหากบางพื้นที่ไม่มีตำแหน่งให้ก็ไม่สามารถย้ายไปได้ แต่หากในจังหวัดใกล้เคียงมีตำแหน่งก็อาจจะลงตรงนั้นแทนจึงเห็นว่าใช้เป็นใกล้ภูมิลำเนาจะเหมาะสมกว่า ซึ่งในเรื่องนี้ผมจะอธิบายให้ รมว.ศธ.เข้าใจถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงชื่อ”นายอภิชาติ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวจะต้องเสร็จภายในวันที่ 15 ต.ค.นี้ เพื่อจะได้นำเข้าสู่ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เกี่ยวกับการย้ายตามนโยบายครูคืนถิ่น ของ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า รมว.ศธ.ต้องการเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูสามารถขอย้ายกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของเพื่อกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตน ดังนั้นในการประชุมซึ่งเป็นครั้งแรกตนจึงมอบแนวทางแก่ อ.ก.ค.ศ.ว่า ให้ดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่และ อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการ ไว้พิจารณาการเสนอขอโอนย้ายกลับโดยไม่ต้องกังวลว่าจะติดขัดกฎหมายซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ซึ่งจะทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้นขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขหลักเกณฑ์เดิมที่มีอยู่
นายอภิชาติ กล่างต่อว่า ที่ผ่านมาเวลาข้าราชการขอโอนย้ายนั้น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ และ อ.ก.ค.ศ.ส่วนราชการจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ซึ่งจะมีการระบุขอบเขตการพิจารณาไว้เพียงสั้นๆ และก็เป็นปัญหามากว่าหลายรายไม่ได้รับการอนุมัติโอนย้ายเพราะการตีความเหตุผลตามหลักเกณฑ์แตกต่างกัน เช่น มีข้าราชการครูที่สามีเสียชีวิต และไม่สามารถเลี้ยงลูกคนเดียวได้ มีความต้องการกลับไปอยู่กับครอบครัวที่ภูมิลำเนาเดิมกับพ่อแม่ตนเพื่อช่วยดูแลลูก แบบนี้บางพื้นที่อนุมัติให้ย้ายบางพื้นที่ไม่อนุมัติ หรือกรณีครูผู้ช่วยที่หลักเกณฑ์กำหนดว่าต้องปฏิงานในพื้นที่จังหวัดได้รับบรจุเป็นเวลา 2 ปีโดยไม่มีการโอนย้ายแต่หากจำเป็นว่าไม่สะดวกในโรงเรียนที่สอนอยู่แต่ขอย้ายไปในโรงเรียนใกล้เคียงแต่ในจังหวัดที่บรรจุ แบบนี้ถือว่าทำได้และไม่ผิด เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษสามารถเสนอขอโอนย้านได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอขอโอนย้ายได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้นคือปีละ 2 ครั้งช่วงเดือน เม.ย.และ ต.ค.
“หลักเกณฑ์ที่ยกร่างใหม่นั้นจะเปิดช่องในการเสนอขอโอนย้ายเป็นกรณีพิเศษให้แก่ข้าราชการครูด้วย โดยหลักเกณฑ์นี้จะใช้กับครูทุกคนในทุกพื้นที่ไม่ได้จำกัด ขณะเดียวกัน ในร่างหลักเกณฑ์นั้น จะระบุว่า เป็นการให้ครูขอย้ายกลับไปทำงานใกล้ภูมิลำเนา ไม่ใช่ทำงานที่ภูมิลำเนาเพราะได้พิจารณาแล้วว่าอาจจะมีปัญหาหากบางพื้นที่ไม่มีตำแหน่งให้ก็ไม่สามารถย้ายไปได้ แต่หากในจังหวัดใกล้เคียงมีตำแหน่งก็อาจจะลงตรงนั้นแทนจึงเห็นว่าใช้เป็นใกล้ภูมิลำเนาจะเหมาะสมกว่า ซึ่งในเรื่องนี้ผมจะอธิบายให้ รมว.ศธ.เข้าใจถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงชื่อ”นายอภิชาติ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวจะต้องเสร็จภายในวันที่ 15 ต.ค.นี้ เพื่อจะได้นำเข้าสู่ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป