กรมศิลป์ แฉ บริษัททัวร์หัวใส ใช้ “ตั๋วผี-แจ้งจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ครบ” เข้าชมโบราณสถาน ทำให้สูญรายได้ เร่งหามาตรการล้อมคอก
สืบเนื่องจากการได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวและผู้หวังดี แจ้งมายังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา และกรมศิลปากร เกี่ยวกับการจำหน่ายบัตรเข้าชมแต่ละแห่งของโบราณสถานที่อยู่ในความดูแลอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไม่โปร่งใส ทำให้รายได้จำนวนหนึ่งรั่วไหลไปสู่คนบางกลุ่ม นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จึงขอให้กรมศิลปากรตรวจสอบพฤติกรรมดังกล่าว พร้อมหามาตรการจัดระบบบริหารการจัดการใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายเอนก กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสในการจำหน่ายบัตรมีหลายรูปแบบ เช่น ใช้ตั๋วจริงที่จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว แต่มีการนำตั๋วมาหมุนเวียนหลายครั้ง มีการนำตั๋วไปสแกนสี ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่ได้ใส่ใจตั๋วที่ซื้อมาเท่าใดนัก เมื่อรับตั๋วเสร็จเดินเข้าชมโบราณ
“หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ประตูทางเข้าตรวจตั๋ว พบว่า เป็นของปลอม หรือตั๋วเวียน นอกจากนี้ ยังมีจุดที่ทำให้เงินค่าเข้าชมรั่วไหล ก็คือ บริษัทที่พานักท่องเที่ยวเป็นกรุ๊ปทัวร์จะบอกจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น กรุ๊ปทัวร์ 20 คน แต่แจ้ง 15 คน แต่ก็ต้องยอมรับว่า เจ้าหน้าที่ของเราเองก็ไม่ได้ตรวจทานตัวเลขนักท่องเที่ยวให้ครบถ้วนทั้งหมด จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ดำเนินการลงโทษพนักงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
นายเอนก กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวกรมศิลปากรไม่นิ่งนอนใจ ได้เร่งรัดหาวิธีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เช่น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วเวลาเข้าและออก หรือทำบล็อกช่องทางเข้า มีการสแกนจำนวนยอดผู้เข้าชมผ่านช่องทางเข้าออก แต่การใช้เครื่องอุปกรณ์ตรงนี้ต้องลงทุนสูง อีกทางหนึ่งเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น เพราะว่ารายได้จากการขายบัตรเข้าชม แค่วัดพระศรีสรรเพชญ์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 60,000-70,000 บาท ซึ่งรายได้จากการขายตั๋วจะต้องนำเข้ากองทุนโบราณคดี ไม่ได้ใช้ดูแลอุทยานฯ อยุธยาแห่งเดียว แต่ใช้เลี้ยงดูโบราณสถานทั่วประเทศ
สืบเนื่องจากการได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวและผู้หวังดี แจ้งมายังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา และกรมศิลปากร เกี่ยวกับการจำหน่ายบัตรเข้าชมแต่ละแห่งของโบราณสถานที่อยู่ในความดูแลอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไม่โปร่งใส ทำให้รายได้จำนวนหนึ่งรั่วไหลไปสู่คนบางกลุ่ม นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จึงขอให้กรมศิลปากรตรวจสอบพฤติกรรมดังกล่าว พร้อมหามาตรการจัดระบบบริหารการจัดการใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายเอนก กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสในการจำหน่ายบัตรมีหลายรูปแบบ เช่น ใช้ตั๋วจริงที่จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว แต่มีการนำตั๋วมาหมุนเวียนหลายครั้ง มีการนำตั๋วไปสแกนสี ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่ได้ใส่ใจตั๋วที่ซื้อมาเท่าใดนัก เมื่อรับตั๋วเสร็จเดินเข้าชมโบราณ
“หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ประตูทางเข้าตรวจตั๋ว พบว่า เป็นของปลอม หรือตั๋วเวียน นอกจากนี้ ยังมีจุดที่ทำให้เงินค่าเข้าชมรั่วไหล ก็คือ บริษัทที่พานักท่องเที่ยวเป็นกรุ๊ปทัวร์จะบอกจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น กรุ๊ปทัวร์ 20 คน แต่แจ้ง 15 คน แต่ก็ต้องยอมรับว่า เจ้าหน้าที่ของเราเองก็ไม่ได้ตรวจทานตัวเลขนักท่องเที่ยวให้ครบถ้วนทั้งหมด จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ดำเนินการลงโทษพนักงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
นายเอนก กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวกรมศิลปากรไม่นิ่งนอนใจ ได้เร่งรัดหาวิธีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เช่น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วเวลาเข้าและออก หรือทำบล็อกช่องทางเข้า มีการสแกนจำนวนยอดผู้เข้าชมผ่านช่องทางเข้าออก แต่การใช้เครื่องอุปกรณ์ตรงนี้ต้องลงทุนสูง อีกทางหนึ่งเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น เพราะว่ารายได้จากการขายบัตรเข้าชม แค่วัดพระศรีสรรเพชญ์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 60,000-70,000 บาท ซึ่งรายได้จากการขายตั๋วจะต้องนำเข้ากองทุนโบราณคดี ไม่ได้ใช้ดูแลอุทยานฯ อยุธยาแห่งเดียว แต่ใช้เลี้ยงดูโบราณสถานทั่วประเทศ