กพร.ถกร่วมเอกชน ทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างเซรามิก เร่งเสริมฝีมือแรงงาน ให้รับได้ทั้งฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง เพื่อเพิ่มผลผลิตคุณภาพ ลดต้นทุนสินค้า
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวในพิธีเปิดโครงการสัมมนาระดมความคิดเห็นหาความต้องการในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างเซรามิก ว่า การสร้างฝีมือให้แรงงาน เป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่ภาครัฐ และเอกชน ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ได้แรงงานที่มีทักษะมีมาตรฐานฝีมือแรงงาน การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อสำรวจความต้องการในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และสร้างความมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชนในกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยการเพิ่มทักษะให้กับกำลังแรงงาน เพื่อให้กำลังแรงงานดังกล่าวสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพลดการสูญเสียของวัสดุ ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง รวมถึงการวางแผนพัฒนาบุคลากรและเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง เกิดความพอใจทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
“แรงงานไทยต้องใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นเครื่องมือวัดตนเองในเรื่องของความรู้ ฝีมือ ทัศนคติในการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองในด้านสวัสดิการแล้ว ยังช่วยให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมตามเกณฑ์ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานอีกด้วย ในขณะเดียวกันยังช่วยให้สถานประกอบกิจการสามารถเพิ่มผลิตภาพของสินค้า และบริการให้มีคุณภาพตามฝีมือของช่างได้อีกเช่นกัน” ม.ล.ปุณฑริก กล่าว
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวในพิธีเปิดโครงการสัมมนาระดมความคิดเห็นหาความต้องการในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างเซรามิก ว่า การสร้างฝีมือให้แรงงาน เป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่ภาครัฐ และเอกชน ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ได้แรงงานที่มีทักษะมีมาตรฐานฝีมือแรงงาน การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อสำรวจความต้องการในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และสร้างความมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชนในกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยการเพิ่มทักษะให้กับกำลังแรงงาน เพื่อให้กำลังแรงงานดังกล่าวสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพลดการสูญเสียของวัสดุ ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง รวมถึงการวางแผนพัฒนาบุคลากรและเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง เกิดความพอใจทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
“แรงงานไทยต้องใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเป็นเครื่องมือวัดตนเองในเรื่องของความรู้ ฝีมือ ทัศนคติในการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองในด้านสวัสดิการแล้ว ยังช่วยให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมตามเกณฑ์ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานอีกด้วย ในขณะเดียวกันยังช่วยให้สถานประกอบกิจการสามารถเพิ่มผลิตภาพของสินค้า และบริการให้มีคุณภาพตามฝีมือของช่างได้อีกเช่นกัน” ม.ล.ปุณฑริก กล่าว