กฤษฎีกา แนะ ศธ.เสนอ ครม.ทบทวนร่าง ตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 4 ฉบับ หลังตีความพบบางประเด็นในข้อกฎหมายที่ให้อำนาจบอร์ด กอศ.ต้องดำเนินการในรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ขณะที่กำหนดให้ รมว.ศธ.มีอำนาจเสนอจัดตั้งสถาบัน ด้าน “ธีระวุฒิ” ชี้ มติ ครม.เดิมนั้นไม่เป็นการทำตามกฎหมาย ส่งผลให้เด็กอาชีวะเสียโอกาส หวัง “วรวัจน์” เข้ามาดูปัญหาและเร่งแก้ไข
ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2554 มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่างกฎกระทรวงเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 4 ฉบับ ซึ่งเป็นการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษานำร่องใน 4 ภูมิภาคได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาเทคโนโลยีการเกษตรพิจิตร สถาบันการอาชีวศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์อุบลราชธานี สถาบันการอาชีวศึกษาเทคโนโลยีการจัดการโรงแรมกรุงเทพ และสถาบันการอาชีวศึกษาพาณิชย์นาวีนครศรีธรรมราช นั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8 ได้พิจารณาร่าง กฏกระทรวงทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวแล้ว เห็นว่า มีประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 มาตรา 11(2) ในเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) ซึ่ง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา ระบุว่า การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง การรวม และการแยกสถานศึกษาอาชีวศึกษา หรือสถาบันการอาชีวศึกษา เป็นอำนาจของบอร์ด กอศ.แต่เนื่องจากการเสนอจัดตั้ง 4 สถาบันดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจของ รมว.ศธ.ตามมาตรา 5 ดังนั้น ต้องมาทบทวนว่าบอร์ด กอศ.จะสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้กฏหมายจะให้อำนาจ รมว.ศธ.ออกกฎกระทรวงเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจที่จะมีดุลพินิจโดยเด็ดขาดในการพิจารณาความเหมาะสม หรือความจำเป็นเพื่อจัดตั้งสถาบัน สำหรับฝึกอบรมวิชาชีพในส่วนของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ และขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว จะต้องรอบอร์ด กอศ.กำหนดหลักเกณฑ์เสียก่อน ที่สำคัญหากจะมีการยกฐานะสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งขึ้นเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาก็ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่บอร์ด กอศ.กำหนดเช่นกัน
ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8 ได้พิจารณาและทำหนังสือแจ้งมายังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า เห็นควรให้มีการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาทบทวนในหลักการของการออกกฎกระทรวงเพื่อจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวต่อไป
ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ตนมองว่า มติ ครม.ที่เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวง 4 ฉบับดังกล่าวก่อนหน้าเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย จนทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เด็กอาชีวศึกษาเสียโอกาสที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาตรี เนื่องจากความล่าช้าของการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ดังนั้น ตนหวังว่า นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศธ.น่าจะได้รับทราบปัญหาและเร่งดำเนินการแก้ไข เพื่อให้การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเดินหน้าไปได้โดยเร็ว
ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2554 มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่างกฎกระทรวงเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 4 ฉบับ ซึ่งเป็นการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษานำร่องใน 4 ภูมิภาคได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาเทคโนโลยีการเกษตรพิจิตร สถาบันการอาชีวศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์อุบลราชธานี สถาบันการอาชีวศึกษาเทคโนโลยีการจัดการโรงแรมกรุงเทพ และสถาบันการอาชีวศึกษาพาณิชย์นาวีนครศรีธรรมราช นั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8 ได้พิจารณาร่าง กฏกระทรวงทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวแล้ว เห็นว่า มีประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 มาตรา 11(2) ในเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) ซึ่ง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา ระบุว่า การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง การรวม และการแยกสถานศึกษาอาชีวศึกษา หรือสถาบันการอาชีวศึกษา เป็นอำนาจของบอร์ด กอศ.แต่เนื่องจากการเสนอจัดตั้ง 4 สถาบันดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจของ รมว.ศธ.ตามมาตรา 5 ดังนั้น ต้องมาทบทวนว่าบอร์ด กอศ.จะสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้กฏหมายจะให้อำนาจ รมว.ศธ.ออกกฎกระทรวงเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจที่จะมีดุลพินิจโดยเด็ดขาดในการพิจารณาความเหมาะสม หรือความจำเป็นเพื่อจัดตั้งสถาบัน สำหรับฝึกอบรมวิชาชีพในส่วนของการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ และขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว จะต้องรอบอร์ด กอศ.กำหนดหลักเกณฑ์เสียก่อน ที่สำคัญหากจะมีการยกฐานะสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งขึ้นเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาก็ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่บอร์ด กอศ.กำหนดเช่นกัน
ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 8 ได้พิจารณาและทำหนังสือแจ้งมายังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า เห็นควรให้มีการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาทบทวนในหลักการของการออกกฎกระทรวงเพื่อจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวต่อไป
ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ตนมองว่า มติ ครม.ที่เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวง 4 ฉบับดังกล่าวก่อนหน้าเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย จนทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เด็กอาชีวศึกษาเสียโอกาสที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาตรี เนื่องจากความล่าช้าของการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ดังนั้น ตนหวังว่า นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศธ.น่าจะได้รับทราบปัญหาและเร่งดำเนินการแก้ไข เพื่อให้การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเดินหน้าไปได้โดยเร็ว