xs
xsm
sm
md
lg

สปส.เพิ่มสิทธิรักษาผ่าตัดหัวใจ 6 กรณี มีผลบังคับใช้แล้ว!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
สปส.เพิ่มสิทธิรักษา-ผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจใน 6 กรณี ใช้อุปกรณ์ทันสมัยในการผ่าตัดอนุมัติวงเงินตั้งแต่ 2 หมื่น-2 แสนบาทแล้วแต่กรณี เริ่มมีผลแล้ว

นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล  ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการประกันสังคมมีมติเห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการผ่าตัดหัวใจให้แก่ผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจใน 6 กรณี ได้แก่ 1.การผ่าตัดหัวใจแบบเปิดให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อราย 2.การผ่าตัดหัวใจในโรคหลอดเลือดหัวใจตีบให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อราย

3.การรักษาโรคลิ้นหัวใจโดยใช้สายบอลลูนผ่านทางผิวหนังให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินสองหมื่นบาทต่อราย 4.การรักษาผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจแยกเป็นกรณีการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการใช้บอลลูนอย่างเดียว ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินครั้งละสามหมื่นบาท ให้มีสิทธิได้รับไม่เกินสองครั้ง ส่วนกรณีการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้หัวกรอ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินครั้งละสี่หมื่นบาท ให้มีสิทธิได้รับไม่เกินสองครั้ง และกรณีที่ต้องใส่อุปกรณ์ Stent ให้จ่ายในอัตราอันละสองหมื่นห้าพันบาทให้มีสิทธิได้รับครั้งละไม่เกินสองอัน

5.การปิดรูรั่วผนังกั้นหัวใจบนห้องทางสายสวนหัวใจ โดยใช้ Amplatzer TM Septal Occluder ในสถานพยาบาลที่มีบริการพิเศษและโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้จ่ายค่ารักษาและค่าอุปกรณ์การรักษาเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินครั้งละหนึ่งแสนบาทต่อราย 6.การใส่อุปกรณ์เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติให้จ่ายค่าอุปกรณ์เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติตามจริงไม่เกินรายละสองแสนบาท และไม่เกินรายละหนึ่งแสนบาทในการผ่าตัดภายใต้เงื่อนไขโดยมีข้อบ่งชี้ข้อใดข้อหนึ่ง เช่น ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น จาก Ventricular Fibrillation หรือ Ventricular Tachycardia ที่ไม่ได้เกิดจากภาวะที่แก้ไขได้, การเกิด Ventricular Tachycardia ขึ้นเองอยู่นานๆ ในผู้ป่วยที่ไม่พบโรคหัวใจและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น และกรณีอื่นๆ  และการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติให้เป็นดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานประกันสังคมและต้องทำผ่าตัดใส่อุปกรณ์ดังกล่าวในสถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้วันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา สอบถามรายละเอียด โทร.1506, www.ssogo.th
กำลังโหลดความคิดเห็น