อึ้งพบเยาวชนไทยป่วยมะเร็งปากมดลูกน้อยสุดในอายุ 16 ปี เผยในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ป่วยระยะร้ายแรง แพทย์เตือนมีผลข้างเคียงจากการรักษาสูง เสี่ยงระบบปัสสาวะไม่ปกติ สมาคมมะเร็งนรีเวช เร่งรณรงค์หญิงไทยตรวจคัดกรองผ่านโครงการ “รวมพลังสานฝัน ต้านมะเร็งปากมดลูก”
วันนี้ (2 ส.ค.) รศ.นพ. ชัยยศ ธีรผกาวงศ์ นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมาสถานการณ์มะเร็งปากมดลูกนั้นดูรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยในปี 2553 พุ่งเกือบ 10,000 ราย และคาดการณ์ว่าจากสถานการณ์ที่เลวร้ายขึ้นอาจทำให้มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 14 ราย โดยส่วนมากพบในกลุ่มอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปและเกือบทั้งหมด มีสาเหตุมาจากเพศสัมพันธ์ โดยพบผู้ป่วยอายุน้อยสุดอายุ 16 ปี ซึ่งเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ที่น่ากังวลคือ ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยนั้นป่วยเป็นมะเร็งระยะอันตราย และร้อยละ 10 เป็นระยะแรกที่ไม่รุนแรงซึ่งสามารถรักษาหายด้วยการผ่าตัดเบื้องต้นด้วยการจี้ด้วยเลเซอร์ หรือไฟฟ้า เพื่อสะกิดก้อนเนื้อร้ายออก ขณะที่บางรายนั้นหากมีเนื้อมะเร็งที่ขนาดกลางๆ ก็จะใช้วิธีการตัดมดลูกเป็นรูปกรวย และในระยะสุดท้ายที่แพทย์ให้การรักษา คือ การผ่าตัดใหญ่ ด้วยการตัดมดลูกทิ้ง พร้อมๆ กับการตัดต่อมน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อ เส้นเลือดใหญ่ที่เกี่ยวพันกับระบบประสาทบางส่วนออก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลุกลาม โดยแพทย์จะฉายรังสีรักษาและให้ยามุ่งเป้าควบคู่กันเพื่อบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วย ดังนั้นการที่ตรวจพบเชื้อระยะแรกจึงเป็นผลดีมาก เนื่องจากสามารถรักษาได้ทันเพราะมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาลุกลามช้า หากมาพบตรวจเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่ในระยะสุดท้ายผลกระทบและผลข้างเคียงก็จะตามมาเป็นปัญหาสุขภาพที่น่ากลัว
รศ.นพ.ชัยยศ กล่าวต่อว่า สำหรับผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกขนาดใหญ่ ที่พบได้บ่อย คือ อาการของกระระบบปัสสาวะไม่ปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ ต้องใช้ท่อหรือใช้ยาสวนปัสสาวะเข้าช่วย โดยบางรายมีอาการดังกล่าวนานถึง 1 ปี ซึ่งอัตราการพบผลข้างเคียงทั้งเรื่องของระบบปัสสาวะไม่ปกตอ น้ำเหลืองไม่ดี มีการติดเชื้อในเลือด หรือเสียเลือดมาก พบได้ราว 4,000-5,000 ราย
“วิธีการป้องกันคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น มีเพศสัมพันธ์ก็ต้องรักษาความสะอาดทั้งสองฝ่าย หรือหากต้องการแน่ใจต้องเปิดใจสำหรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV อันเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งชนิดดังกล่าวโดยปัจจุบันมีวิธีการที่ทันสมัยคล้ายๆ แปพเสมีย แต่ได้ผลแม่นยำกว่า คือ การหาเชื้อด้วย นวัตกรรมที่เรียกว่า “สารน้ำ” ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยราว 2,000 บาทต่อครั้ง อาจจะใช้วิธีตรวจซ้ำปีละครั้ง หรือ 3-5 ปีครั้งก็ได้ โดยกลุ่มอายุที่ควรตรวจคัดกรองก็ควรมีอายุราว 35 ขึ้นไปตามที่มาตรฐานระดับชาติระบุไว้” รศ.นพ.ชัยยศกล่าว
นายกสมาคมมะเร็งฯ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ในวันที่ 13 ส.ค.นี้ สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จึงร่วมกับเมืองพัทยา และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ตามโครงการรวมพลังสานฝัน ต้านมะเร็งปากมดลูก 2554 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 2 เพื่อรณรงค์ให้ผู้หญิงไทยตระหนักถึงปัญหามะเร็งปากมดลูก โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 จากข้อมูลของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่า การกระตุ้นเตือนด้วยวิธีการรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของโรคดังกล่าว จากความร่วมมือในหลายๆหน่วยงาน ช่วยให้หญิงไทยอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เข้าถึงข้อมูลและเข้ารับการตรวจคัดกรองบรรลุเป้าหมายตามทที่รัฐบาลคาดหวังไว้ คือ มีผู้ตรวจคัดกรองกว่า 2 ล้าน 4 แสน ราย โดยเฉพาะในส่วนของกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งฟรีของสมาคมฯ ที่พื้นที่พัทยานั้นมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คนและพบผู้ป่วยราวร้อยละ 2-3 ส่วนในปี 2554 นั้นขณะนี้มีผู้สนใจตรวจคัดกรองจำนวน 400 คน ทั้งนี้เพื่อทางสมาคมฯ ได้ส่งจดหมายเชิญชวนให้โรงพยาบาลร่วมรณรงค์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมด 300 แห่งทั่วประเทศ
วันนี้ (2 ส.ค.) รศ.นพ. ชัยยศ ธีรผกาวงศ์ นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมาสถานการณ์มะเร็งปากมดลูกนั้นดูรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยในปี 2553 พุ่งเกือบ 10,000 ราย และคาดการณ์ว่าจากสถานการณ์ที่เลวร้ายขึ้นอาจทำให้มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 14 ราย โดยส่วนมากพบในกลุ่มอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปและเกือบทั้งหมด มีสาเหตุมาจากเพศสัมพันธ์ โดยพบผู้ป่วยอายุน้อยสุดอายุ 16 ปี ซึ่งเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ที่น่ากังวลคือ ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยนั้นป่วยเป็นมะเร็งระยะอันตราย และร้อยละ 10 เป็นระยะแรกที่ไม่รุนแรงซึ่งสามารถรักษาหายด้วยการผ่าตัดเบื้องต้นด้วยการจี้ด้วยเลเซอร์ หรือไฟฟ้า เพื่อสะกิดก้อนเนื้อร้ายออก ขณะที่บางรายนั้นหากมีเนื้อมะเร็งที่ขนาดกลางๆ ก็จะใช้วิธีการตัดมดลูกเป็นรูปกรวย และในระยะสุดท้ายที่แพทย์ให้การรักษา คือ การผ่าตัดใหญ่ ด้วยการตัดมดลูกทิ้ง พร้อมๆ กับการตัดต่อมน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อ เส้นเลือดใหญ่ที่เกี่ยวพันกับระบบประสาทบางส่วนออก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลุกลาม โดยแพทย์จะฉายรังสีรักษาและให้ยามุ่งเป้าควบคู่กันเพื่อบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วย ดังนั้นการที่ตรวจพบเชื้อระยะแรกจึงเป็นผลดีมาก เนื่องจากสามารถรักษาได้ทันเพราะมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาลุกลามช้า หากมาพบตรวจเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่ในระยะสุดท้ายผลกระทบและผลข้างเคียงก็จะตามมาเป็นปัญหาสุขภาพที่น่ากลัว
รศ.นพ.ชัยยศ กล่าวต่อว่า สำหรับผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกขนาดใหญ่ ที่พบได้บ่อย คือ อาการของกระระบบปัสสาวะไม่ปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ ต้องใช้ท่อหรือใช้ยาสวนปัสสาวะเข้าช่วย โดยบางรายมีอาการดังกล่าวนานถึง 1 ปี ซึ่งอัตราการพบผลข้างเคียงทั้งเรื่องของระบบปัสสาวะไม่ปกตอ น้ำเหลืองไม่ดี มีการติดเชื้อในเลือด หรือเสียเลือดมาก พบได้ราว 4,000-5,000 ราย
“วิธีการป้องกันคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น มีเพศสัมพันธ์ก็ต้องรักษาความสะอาดทั้งสองฝ่าย หรือหากต้องการแน่ใจต้องเปิดใจสำหรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV อันเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งชนิดดังกล่าวโดยปัจจุบันมีวิธีการที่ทันสมัยคล้ายๆ แปพเสมีย แต่ได้ผลแม่นยำกว่า คือ การหาเชื้อด้วย นวัตกรรมที่เรียกว่า “สารน้ำ” ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยราว 2,000 บาทต่อครั้ง อาจจะใช้วิธีตรวจซ้ำปีละครั้ง หรือ 3-5 ปีครั้งก็ได้ โดยกลุ่มอายุที่ควรตรวจคัดกรองก็ควรมีอายุราว 35 ขึ้นไปตามที่มาตรฐานระดับชาติระบุไว้” รศ.นพ.ชัยยศกล่าว
นายกสมาคมมะเร็งฯ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ในวันที่ 13 ส.ค.นี้ สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จึงร่วมกับเมืองพัทยา และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ตามโครงการรวมพลังสานฝัน ต้านมะเร็งปากมดลูก 2554 ซึ่งจัดเป็นปีที่ 2 เพื่อรณรงค์ให้ผู้หญิงไทยตระหนักถึงปัญหามะเร็งปากมดลูก โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 จากข้อมูลของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่า การกระตุ้นเตือนด้วยวิธีการรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของโรคดังกล่าว จากความร่วมมือในหลายๆหน่วยงาน ช่วยให้หญิงไทยอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เข้าถึงข้อมูลและเข้ารับการตรวจคัดกรองบรรลุเป้าหมายตามทที่รัฐบาลคาดหวังไว้ คือ มีผู้ตรวจคัดกรองกว่า 2 ล้าน 4 แสน ราย โดยเฉพาะในส่วนของกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งฟรีของสมาคมฯ ที่พื้นที่พัทยานั้นมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คนและพบผู้ป่วยราวร้อยละ 2-3 ส่วนในปี 2554 นั้นขณะนี้มีผู้สนใจตรวจคัดกรองจำนวน 400 คน ทั้งนี้เพื่อทางสมาคมฯ ได้ส่งจดหมายเชิญชวนให้โรงพยาบาลร่วมรณรงค์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมด 300 แห่งทั่วประเทศ