โดย...ศิริรัตน์ สวัสดิ์หว่าง
เริ่มต้นปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ยังคงเดินตามรอยปณิธานในการเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาวิชาชีพสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปกรรม การบริการและบริหารธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย 4 พื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุขจักรวรรดิ, วิทยาลัยเพาะช่าง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่วังไกลกังวล
รศ.ดร.อิสสรีย์ หิริจรูญโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในขับเคลื่อน เริ่มต้นบอกเล่าว่า ปัจจุบันเรามีนักศึกษา ทั้ง 4 พื้นที่การศึกษา มีจำนวน 9,909 คน เขตพื้นที่ศาลายา มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,502 คน, เขตพื้นที่วิทยาเขตวังไกลกังวล มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,685 คน, เขตพื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,940 คน วิทยาลัยเพาะช่าง มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 1,782 คน จากการสำรวจข้อมูล เดือนพฤศจิกายน 2553

“จุดเด่นนักศึกษา มทร.รัตนโกสินทร์ ต้องเป็นคนสู้งาน ไม่เกี่ยงงาน เป็นผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยี เพราะว่าเรามุ่งเน้นในเรื่องทางปฏิบัติ และประสบการณ์จริงจากการทำงานในรูปแบบของสหกิจศึกษา เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษามีประสบการณ์จริง ก่อนเข้าสู่โลกของการทำงานในอนาคต เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ ขณะเดียวกัน ยังมีการปลูกฝังเรื่องศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญทุกคนต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคม จิตสาธารณะ จิตอาสาทุกครั้งที่สังคมต้องการความช่วยเหลือ”
รศ.ดร.อิสสรีย์ กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยมีแนวคิดจะปรับปรุงหลักสูตรที่ตอบรับกับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า
“เราได้เตรียมวางแผนขยายหลักสูตรคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้มีความเข้มข้น และมีคุณภาพในส่วนของปริญญาตรี และปริญญาโท ตามความต้องการของประเทศ และแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เราตั้งวิทยาลัยพลังงาน และวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ ทั้งสองวิทยาลัยนี้เป็นวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้น มีรูปแบบการบริหารแบบอิสระ และนำร่องเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การออกนอกระบบ ในปี 2565 ก่อนจะไปถึงตรงจุดนั้น เราก็ให้ทั้งสองวิทยาเขต บริหารจัดการตัวเอง มีความอิสระทางวิชาการ บริหารจัดการขององค์กร และตอบโจทย์เรื่องปริญญาโท ปริญญาเอกได้เป็นอย่างดี”
นอกจากนี้ มทร.รัตนโกสินทร์ ยังเดินหน้าร่วมมือทางวิชาการ สร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน แลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษาเพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับนักศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีกันระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศ รวมถึงเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เพื่อได้ลดความขัดแย้ง สร้างความคุ้นเคย
“อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ สกอ.ได้ดำเนินการผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในเรื่องการศึกษามาพอสมควร ในเรื่องของระบบทรานสคริปต์ คนที่จบการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน มีวิธีการต่างกัน เช่น บางประเทศ บอกว่า 1 คือ ดีมาก กับอีกประเทศบอกว่า 4 คือดีมาก ทำให้ระบบทรานสคริปต์ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน แปลความไม่เข้าใจกัน ดังนั้น ในระบบภาพรวมต้องปรับให้สอดคล้องกัน ตีความเข้าใจเหมือนกัน และเรื่องของภาษาในอาเซียน จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ซึ่งมหาวิทยาลียมีความตื่นตัวในเรื่องนี้” รศ.ดร.อิสสรีย์ กล่าวทิ้งท้าย
เริ่มต้นปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ยังคงเดินตามรอยปณิธานในการเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาวิชาชีพสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปกรรม การบริการและบริหารธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย 4 พื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุขจักรวรรดิ, วิทยาลัยเพาะช่าง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่วังไกลกังวล
รศ.ดร.อิสสรีย์ หิริจรูญโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในขับเคลื่อน เริ่มต้นบอกเล่าว่า ปัจจุบันเรามีนักศึกษา ทั้ง 4 พื้นที่การศึกษา มีจำนวน 9,909 คน เขตพื้นที่ศาลายา มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,502 คน, เขตพื้นที่วิทยาเขตวังไกลกังวล มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,685 คน, เขตพื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 2,940 คน วิทยาลัยเพาะช่าง มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 1,782 คน จากการสำรวจข้อมูล เดือนพฤศจิกายน 2553
“จุดเด่นนักศึกษา มทร.รัตนโกสินทร์ ต้องเป็นคนสู้งาน ไม่เกี่ยงงาน เป็นผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยี เพราะว่าเรามุ่งเน้นในเรื่องทางปฏิบัติ และประสบการณ์จริงจากการทำงานในรูปแบบของสหกิจศึกษา เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษามีประสบการณ์จริง ก่อนเข้าสู่โลกของการทำงานในอนาคต เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ ขณะเดียวกัน ยังมีการปลูกฝังเรื่องศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญทุกคนต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคม จิตสาธารณะ จิตอาสาทุกครั้งที่สังคมต้องการความช่วยเหลือ”
รศ.ดร.อิสสรีย์ กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยมีแนวคิดจะปรับปรุงหลักสูตรที่ตอบรับกับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า
“เราได้เตรียมวางแผนขยายหลักสูตรคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้มีความเข้มข้น และมีคุณภาพในส่วนของปริญญาตรี และปริญญาโท ตามความต้องการของประเทศ และแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เราตั้งวิทยาลัยพลังงาน และวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ ทั้งสองวิทยาลัยนี้เป็นวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้น มีรูปแบบการบริหารแบบอิสระ และนำร่องเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การออกนอกระบบ ในปี 2565 ก่อนจะไปถึงตรงจุดนั้น เราก็ให้ทั้งสองวิทยาเขต บริหารจัดการตัวเอง มีความอิสระทางวิชาการ บริหารจัดการขององค์กร และตอบโจทย์เรื่องปริญญาโท ปริญญาเอกได้เป็นอย่างดี”
นอกจากนี้ มทร.รัตนโกสินทร์ ยังเดินหน้าร่วมมือทางวิชาการ สร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน แลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษาเพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับนักศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีกันระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศ รวมถึงเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เพื่อได้ลดความขัดแย้ง สร้างความคุ้นเคย
“อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ สกอ.ได้ดำเนินการผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในเรื่องการศึกษามาพอสมควร ในเรื่องของระบบทรานสคริปต์ คนที่จบการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน มีวิธีการต่างกัน เช่น บางประเทศ บอกว่า 1 คือ ดีมาก กับอีกประเทศบอกว่า 4 คือดีมาก ทำให้ระบบทรานสคริปต์ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน แปลความไม่เข้าใจกัน ดังนั้น ในระบบภาพรวมต้องปรับให้สอดคล้องกัน ตีความเข้าใจเหมือนกัน และเรื่องของภาษาในอาเซียน จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ซึ่งมหาวิทยาลียมีความตื่นตัวในเรื่องนี้” รศ.ดร.อิสสรีย์ กล่าวทิ้งท้าย