เผยโฉม “สึนามิโมเดล” แห่งแรกฝีมือเด็กไทย ต่อยอดนวัตกรรมการเรียนรู้นอกตำรา-ประสานความร่วมมือชุมชน ตรงสู่ความต้องการ “ผู้เรียน-ผู้สอน-สถานการณ์ปัจจุบัน”
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 ณ โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดงานเปิดตัว “สื่อการเรียนรู้ต้นแบบจำลองการเกิด “สึนามิ” เสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย” จากฝีมือของนักเรียนและครูโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม โดยภายในงานยังมีการเสวนาเรื่อง โมเดลสื่อการเรียนรู้ภัยพิบัติ “สึนามิ” กับการตั้งรับและการอยู่ร่วมหลังภัยพิบัติ
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า โมเดลสื่อการเรียนรู้ภัยพิบัติสึนามินี้ นอกจากจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น ที่มหาวิทยาลัยออริกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการทำโมเดลเพื่อแสดงถึงการเกิดภัยพิบัติ ซึ่งมีการจัดทำเป็นห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเกิดคลื่น และการเกิดสึนามิ ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่จะนำไปใช้สอนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน สังคม และถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันสนับสนุน เพื่อต่อยอดการเรียนรู้นอกตำรา ช่วยให้เด็กมีกระบวนการคิดไร้ขีดจำกัด ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้เขาเอาตัวรอดได้ ไม่เพียงแต่การเกิดสึนามิ แต่รวมถึงการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ภาวะเรือนกระจก ว่าจะเกิดผลอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่ค่อยมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์ปัจจุบัน
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค.กล่าวว่า โมเดลสึนามิ ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ 1/2553 นั้นสะท้อนให้เห็นความพยายามให้การสร้างการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้ดูแล ทำให้เกิดการกระตุ้น และการปรับใช้นวัตกรรมที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับความต้องการคนในแต่ละพื้นที่ เช่น การเกิดสึนามิ ภาวะเรือนกระจกฯ ส่งเสริมให้ทั้งครูและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งนอกและในบทเรียน นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปันองค์ความรู้ในการสร้างโมเดลให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติได้หากสนใจ สำหรับหัวข้อการเปิดรับทุนในระดับมัธยมฯในปีนี้ที่มี 3 โจทย์หลัก คือ 1.การพัฒนาทักษะการคิด 2.ทักษะชีวิต และ 3.การบริหารจัดการที่ดีในโรงเรียน โดยเปิดรับสมัครถึงสิ้นกรกฎาคมนี้ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.Qlf.or.th
นายดิลก อุทะนุต อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาหลักสูตร ร.ร.สตรีวัดมหาพฤฒาราม กล่าวว่า โมเดลสื่อการเรียนรู้ภัยพิบัติสึนามิ เริ่มจากการเรียนรู้เรื่องคลื่น โดยสร้างหน่วยการเรียน “คลื่นหรรษา” เพื่อเรียนรู้องค์ความรู้เกี่ยวกับคลื่น ซึ่งการเรียนเพียงในห้องเรียนยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ นอกจากนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดสึนามิแล้ว ยังทำให้เกิดกระบวนการคิด และเด็กได้ลงมือปฏิบัติ เมื่อเกิดปัญหาก็ร่วมกันแก้ไข ใช้ทั้งทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทักษะเชิงช่างในการสร้างแบบจำลอง นอกจากนี้ยังช่วยตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งหากโรงเรียนอื่นๆสนใจ ข้อแนะนำแรกคือ ต้องหาโจทย์ให้ได้ก่อนว่าสนใจเรื่องใด แล้วจึงคิดถึงรูปแบบที่จะใช้ในการเรียนการสอน
น.ส.อิสราภรณ์ เศรษฐ์ธนันท์ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร.ร.สตรีวัดมหาพฤฒาราม กล่าวว่า การเรียนวิทยาศาสตร์ผ่านโมเดลสึนามิ ทำให้เห็นภาพ ช่วยเพิ่มความเข้าใจและไม่ต้องเสียเวลาท่องจำ โดยเฉพาะสร้างให้เกิดกระบวนการคิดแบบ “มายด์ แม็ป” ที่ช่วยในการจำและเรียบเรียงข้อมูล ส่วนวิธีเรียนอื่นๆ ที่เคยเรียนจะเน้นทฤษฎี แต่ไม่ปฏิบัติ ยิ่งเป็นเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ คนก็จะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเด็กผู้หญิง แต่ก็ทำให้เรียนรู้ว่า ถ้ามีโอกาสหยิบยื่นเข้ามา ทุกคนก็มีโอกาสที่จะคิดและสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยตอบโจทย์การเรียนรู้ของตัวเอง และต่อไปก็อาจจะช่วยเหลือสังคมได้เช่นกัน
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 ณ โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดงานเปิดตัว “สื่อการเรียนรู้ต้นแบบจำลองการเกิด “สึนามิ” เสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย” จากฝีมือของนักเรียนและครูโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม โดยภายในงานยังมีการเสวนาเรื่อง โมเดลสื่อการเรียนรู้ภัยพิบัติ “สึนามิ” กับการตั้งรับและการอยู่ร่วมหลังภัยพิบัติ
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า โมเดลสื่อการเรียนรู้ภัยพิบัติสึนามินี้ นอกจากจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น ที่มหาวิทยาลัยออริกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการทำโมเดลเพื่อแสดงถึงการเกิดภัยพิบัติ ซึ่งมีการจัดทำเป็นห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเกิดคลื่น และการเกิดสึนามิ ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่จะนำไปใช้สอนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน สังคม และถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันสนับสนุน เพื่อต่อยอดการเรียนรู้นอกตำรา ช่วยให้เด็กมีกระบวนการคิดไร้ขีดจำกัด ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้เขาเอาตัวรอดได้ ไม่เพียงแต่การเกิดสึนามิ แต่รวมถึงการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ภาวะเรือนกระจก ว่าจะเกิดผลอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่ค่อยมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์ปัจจุบัน
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค.กล่าวว่า โมเดลสึนามิ ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ 1/2553 นั้นสะท้อนให้เห็นความพยายามให้การสร้างการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้ดูแล ทำให้เกิดการกระตุ้น และการปรับใช้นวัตกรรมที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับความต้องการคนในแต่ละพื้นที่ เช่น การเกิดสึนามิ ภาวะเรือนกระจกฯ ส่งเสริมให้ทั้งครูและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งนอกและในบทเรียน นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปันองค์ความรู้ในการสร้างโมเดลให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติได้หากสนใจ สำหรับหัวข้อการเปิดรับทุนในระดับมัธยมฯในปีนี้ที่มี 3 โจทย์หลัก คือ 1.การพัฒนาทักษะการคิด 2.ทักษะชีวิต และ 3.การบริหารจัดการที่ดีในโรงเรียน โดยเปิดรับสมัครถึงสิ้นกรกฎาคมนี้ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.Qlf.or.th
นายดิลก อุทะนุต อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาหลักสูตร ร.ร.สตรีวัดมหาพฤฒาราม กล่าวว่า โมเดลสื่อการเรียนรู้ภัยพิบัติสึนามิ เริ่มจากการเรียนรู้เรื่องคลื่น โดยสร้างหน่วยการเรียน “คลื่นหรรษา” เพื่อเรียนรู้องค์ความรู้เกี่ยวกับคลื่น ซึ่งการเรียนเพียงในห้องเรียนยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ นอกจากนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดสึนามิแล้ว ยังทำให้เกิดกระบวนการคิด และเด็กได้ลงมือปฏิบัติ เมื่อเกิดปัญหาก็ร่วมกันแก้ไข ใช้ทั้งทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทักษะเชิงช่างในการสร้างแบบจำลอง นอกจากนี้ยังช่วยตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งหากโรงเรียนอื่นๆสนใจ ข้อแนะนำแรกคือ ต้องหาโจทย์ให้ได้ก่อนว่าสนใจเรื่องใด แล้วจึงคิดถึงรูปแบบที่จะใช้ในการเรียนการสอน
น.ส.อิสราภรณ์ เศรษฐ์ธนันท์ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร.ร.สตรีวัดมหาพฤฒาราม กล่าวว่า การเรียนวิทยาศาสตร์ผ่านโมเดลสึนามิ ทำให้เห็นภาพ ช่วยเพิ่มความเข้าใจและไม่ต้องเสียเวลาท่องจำ โดยเฉพาะสร้างให้เกิดกระบวนการคิดแบบ “มายด์ แม็ป” ที่ช่วยในการจำและเรียบเรียงข้อมูล ส่วนวิธีเรียนอื่นๆ ที่เคยเรียนจะเน้นทฤษฎี แต่ไม่ปฏิบัติ ยิ่งเป็นเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ คนก็จะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเด็กผู้หญิง แต่ก็ทำให้เรียนรู้ว่า ถ้ามีโอกาสหยิบยื่นเข้ามา ทุกคนก็มีโอกาสที่จะคิดและสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยตอบโจทย์การเรียนรู้ของตัวเอง และต่อไปก็อาจจะช่วยเหลือสังคมได้เช่นกัน