บอร์ดค่าจ้างเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มอีก 11 อาชีพ ขณะที่ผู้นำแรงงาน จี้ปรับค่าจ้างร้อยละ 13 ภายใน พ.ค.ด้านปลัด ก.แรงงาน รับลูกนำเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด เผย ไม่ทันประกาศใช้ใน พ.ค.แน่นอน
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) ว่า ที่ประชุมบอร์ดค่าจ้าง มีมติเห็นชอบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มอีก จำนวน 11 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย ช่างไม้ก่อสร้าง ช่างก่ออิฐ ช่างฉาบปูน ช่างอะลูมิเนียม ช่างเชื่อมทิก หรือการเชื่อมสเตนเลส ช่างเชื่อมแม็ก ช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ช่างเครื่องเรือนไม้ ช่างบุครุภัณฑ์ ช่างเย็บ และช่างเครื่องประดับหรือ อัญมณี ซึ่งเป็นสาขาอาชีพที่สภาอุตสาหกรรมเรียกร้องให้มีการพิจารณา เนื่องจากต้องการช่างที่มีฝีมือ อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานจะเป็นตัวกระตุ้นให้แรงงานไทยเกิดการ พัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อให้ได้รับค่าจ้างทีสูงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการก็จะได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ ตนจะลงนามในประกาศคณะกรรมการค่าจ้างกลาง จากนั้นจะส่งต่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศ 90 วัน
สำหรับอัตราค่าจ้างตามาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 11 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย ช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 330 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 430 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 550 บาทต่อวัน ช่างเชื่อมแม็ก ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 380 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 500 บาทต่อวัน ช่างเชื่อมทิก ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 370 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 500 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 690 บาทต่อวัน
ช่าง ไม้ก่อสร้าง ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 410 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 520 บาทต่อวัน ช่างก่ออิฐ ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 260 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 380 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 500 บาทต่อวัน ช่างฉาบปูน ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 300บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 410 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 520 บาทต่อวัน ช่างอลูมิเนียมก่อสร้าง ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 280 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 390 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 500 บาทต่อวัน
ช่างเย็บ ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 250 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 340 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 430 บาทต่อวัน ช่างเครื่องประดับอัญมณี ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 400 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 550 บาทต่อวัน ช่างเครื่องเรือนไม้ ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 350 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 400 บาทต่อวัน ช่างบุครุภัณฑ์ ระดับ 1 ได้รับค่าจ้าง 250 บาทต่อวัน ระดับ 2 ได้รับค่าจ้าง 315 บาทต่อวัน ระดับ 3 ได้รับค่าจ้าง 380 บาทต่อวัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมกการค่าจ้างได้มีมติกำหนดอัตราค่าจ้างตามาตรฐานฝีมือแรงงานจำนวน 11 สาขา อาชีพ ประกอบด้วย สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ช่างอิเลกทรอนิกส์ (โทรทัศน์) ช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ช่างสีรถยนต์ ผู้ประกอบอาหารไทย พนักงานนวดไทย สปาตะวันตก (หัตถบำบัด) ซึ่งเมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ครม.ได้มีมติประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ด้าน นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนสภาองค์การลูกจ้าง 7 องค์กร มายื่นข้อเรียกร้องกับนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีกร้อยละ 13 ภายในเดือนพฤษภาคม 2554 ในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ โดยยึดจากอัตราค่าจ้างของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากอัตราค่าจ้างในปัจจุบันต่ำกว่าอัตราค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของผู้ใช้แรงงานในปัจจุบัน ทั้งนี้ นายมนัส เห็นด้วยกับมาตรการลดภาษีต่างๆ ให้กับสถานประกอบการที่ปรับเพิ่มค่าจ้างให้กับผู้ใช้แรงงาน ตามที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้ประกาศไว้
ขณะที่ นายสมเกียรติ กล่าวว่า จะนำเรื่องที่องค์การแรงงานแห่งประเทศไทยเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เนื่องจากขณะนี้รอการส่งข้อมูลอัตราค่าครองชีพของแต่ละจังหวัดส่งมาประกอบ การพิจารณา คาดว่า ข้อมูลจะถึงมือตนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะมีการประชุมประมาณวันที่ 20 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ข้อเรียกร้องดังกล่าวคงไม่ทันประกาศใช้ในเดือนพฤษภาคมแน่นอน