อย.เดินหน้าคุมเข้ม อาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น “ในซุปเปอร์มาร์เก็ต- ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น” ด้าน คกก. ขณะที่อาหารเตรียมประชุมออกประกาศคุมเข้มการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี หากพบปนเปื้อนปรับทันที 5 หมื่นบาท เผย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมทุ่มงบ ซื้อเครื่องตรวจรังสี ราคา 5-10 ล้าน
วันนี้ (1 เม.ย.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าของมาตรการการควบคุมการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น ว่า ขณะนี้นอกจาก อย.มีการสุ่มตรวจอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นทางด่านอาหารและยาทั่วประเทศแล้ว ยังได้ประสานกับกรมศุลกากร ให้ตรวจเข้มการนำเข้าอาหารโดยผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นพิเศษ หากพบว่ามีการนำเข้าอาหารให้อายัดไว้ก่อน เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ เนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลจากประเทศญี่ปุ่นว่า การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่จากสำนักอาหารไปตรวจสอบข้อมูลตามห้างสรรพสินค้า ว่า มีอาหารญี่ปุ่นชนิดใดหรือไม่ที่มีการนำเข้ามาโดยไม่ผ่านผู้ประกอบการนำเข้าอาหารที่ขึ้นทะเบียนไว้กับอย.ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 100 กว่าบริษัท รวมถึงภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น ที่ต้องไปดูว่ารับวัตถุดิบมาจากผู้นำเข้ารายใด และในการประชุมคณะกรรมการอาหารในวันที่ 7 เม.ย. นี้ จะมีการหารือถึงการกำหนดปริมาณการปนเปื้อนของสารไอโอดีน 131 ซีเซียม 137 และ ซีเซียม 134 ซึ่งคาดว่าน่าจะกำหนดให้ไม่เกิน 500 แบ๊คเคอเรลต่อกิโลกรัม หรือประมาณครึ่งหนึ่งของที่มาตรฐานอาหารสากลหรือ โคเดกซ์ (Codex) กำหนดไว้ นอกจากนี้ ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการอาหารแล้ว จะมีการออกประกาศควบคุมการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น เสนอรมว.สาธารณสุขลงนาม ให้มีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งหลังจากประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ หากตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนของสารที่ควบคุมจากอาหารที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ผู้นำเข้าจะถูกปรับทันที 50,000 บาท
เลขาธิการ อย. กล่าวว่า สำหรับการตรวจหาสารกัมมันตรังสีในอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.)ยังสามารถตรวจได้ อย่างไรก็ตาม หากมีปริมาณตัวอย่างอาหารที่ส่งตรวจเพิ่มขึ้นอาจต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นช่วยตรวจ ซึ่งขณะนี้ทราบว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังเตรียมจัดซื้อเครื่องตรวจหาสารกัมมันตรังสีมาใช้ในการตรวจ โดยใช้งบประมาณ ประมาณ 5-10 ล้านบาท อย่างไรก็ดี อยากขอความร่วมมือจากประชาชนที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรซื้ออาหารจากญี่ปุ่นเข้ามาในช่วงนี้ เพื่อความปลอดภัย
วันนี้ (1 เม.ย.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าของมาตรการการควบคุมการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น ว่า ขณะนี้นอกจาก อย.มีการสุ่มตรวจอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นทางด่านอาหารและยาทั่วประเทศแล้ว ยังได้ประสานกับกรมศุลกากร ให้ตรวจเข้มการนำเข้าอาหารโดยผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นพิเศษ หากพบว่ามีการนำเข้าอาหารให้อายัดไว้ก่อน เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ เนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลจากประเทศญี่ปุ่นว่า การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่จากสำนักอาหารไปตรวจสอบข้อมูลตามห้างสรรพสินค้า ว่า มีอาหารญี่ปุ่นชนิดใดหรือไม่ที่มีการนำเข้ามาโดยไม่ผ่านผู้ประกอบการนำเข้าอาหารที่ขึ้นทะเบียนไว้กับอย.ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 100 กว่าบริษัท รวมถึงภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น ที่ต้องไปดูว่ารับวัตถุดิบมาจากผู้นำเข้ารายใด และในการประชุมคณะกรรมการอาหารในวันที่ 7 เม.ย. นี้ จะมีการหารือถึงการกำหนดปริมาณการปนเปื้อนของสารไอโอดีน 131 ซีเซียม 137 และ ซีเซียม 134 ซึ่งคาดว่าน่าจะกำหนดให้ไม่เกิน 500 แบ๊คเคอเรลต่อกิโลกรัม หรือประมาณครึ่งหนึ่งของที่มาตรฐานอาหารสากลหรือ โคเดกซ์ (Codex) กำหนดไว้ นอกจากนี้ ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการอาหารแล้ว จะมีการออกประกาศควบคุมการนำเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น เสนอรมว.สาธารณสุขลงนาม ให้มีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งหลังจากประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ หากตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนของสารที่ควบคุมจากอาหารที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ผู้นำเข้าจะถูกปรับทันที 50,000 บาท
เลขาธิการ อย. กล่าวว่า สำหรับการตรวจหาสารกัมมันตรังสีในอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.)ยังสามารถตรวจได้ อย่างไรก็ตาม หากมีปริมาณตัวอย่างอาหารที่ส่งตรวจเพิ่มขึ้นอาจต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นช่วยตรวจ ซึ่งขณะนี้ทราบว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังเตรียมจัดซื้อเครื่องตรวจหาสารกัมมันตรังสีมาใช้ในการตรวจ โดยใช้งบประมาณ ประมาณ 5-10 ล้านบาท อย่างไรก็ดี อยากขอความร่วมมือจากประชาชนที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรซื้ออาหารจากญี่ปุ่นเข้ามาในช่วงนี้ เพื่อความปลอดภัย