เครือข่ายแรงงานข้ามชาติค้านนำเข้าแรงงานบังกลาเทศ เหตุเน้นงานภาคประมง แรงงานอินโดฯ-จีนใต้เหมาะกว่า แนะเปิดขึ้นทะเบียนทั้งปี แก้ปัญหาแรงงานหลบหนี
นายอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงแรงงานมีแนวคิดที่จะนำเข้าแรงงานจากประเทศบังกลาเทศ เพื่อทดแทนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีไม่มาต่อใบอนุญาตว่า โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำงานในภาคประมงและที่เกี่ยวเนื่องกับภาคประมง ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าแรงงานจากประเทศบังกลาเทศไม่นิยมทำงานเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าแรงงานจากอินโดนีเซีย หรือจีนทางใต้ สามารถทำงานดังกล่าวได้ดีกว่า ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานชาติไหนสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาคนงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายให้ชัดเจน
ส่วนกรณีที่แรงงานต่างด้าวจำนวน 2 แสนคนไม่มาจดทะเบียนต่ออายุนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกปีและขณะนี้ยังมีแรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมายหลบหนีประมาณ 1 ล้านคน เนื่องจากแรงงานเหล่านั้นอาจจะเปลี่ยนนายจ้างหรือถูกนายจ้างยึดบัตรประจำตัวแรงงานและหลบหนีไปหางานใหม่ แต่ปัญหาอยู่ที่นโยบาย คือ การเปิดให้ลงทะเบียน 2 ปีครั้ง กลายเป็นช่องว่างของการเคลื่อนย้ายแรงงานและขั้นตอนที่ยุ่งยากทำให้แรงงานบางส่วนหายไปจากระบบ
“กระทรวงแรงงานมาถูกทางแล้ว แต่ยังขาดความยืดหยุ่นและยุทธศาสตร์เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ชัดเจนและขาดการคำนึงถึงผลระยะยาว โดยต้องจัดให้มีการลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติได้ทั้งปีเพื่อแก้ปัญหาแรงงานที่มีการเปลี่ยนนายจ้างในระหว่างปี ส่วนเรื่องการนำเข้าแรงงานที่ขาดแคลนก็ต้องมีการกำหนดประเภทของกิจการและระบุว่าขาดเป็นจำนวนเท่าไหร่และนำเข้ามาตามจำนวนที่ขาด ซึ่งต้องเป็นความต้องการที่แท้จริง”นายอดิศรกล่าว
นายอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงแรงงานมีแนวคิดที่จะนำเข้าแรงงานจากประเทศบังกลาเทศ เพื่อทดแทนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีไม่มาต่อใบอนุญาตว่า โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำงานในภาคประมงและที่เกี่ยวเนื่องกับภาคประมง ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าแรงงานจากประเทศบังกลาเทศไม่นิยมทำงานเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าแรงงานจากอินโดนีเซีย หรือจีนทางใต้ สามารถทำงานดังกล่าวได้ดีกว่า ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานชาติไหนสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาคนงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายให้ชัดเจน
ส่วนกรณีที่แรงงานต่างด้าวจำนวน 2 แสนคนไม่มาจดทะเบียนต่ออายุนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกปีและขณะนี้ยังมีแรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมายหลบหนีประมาณ 1 ล้านคน เนื่องจากแรงงานเหล่านั้นอาจจะเปลี่ยนนายจ้างหรือถูกนายจ้างยึดบัตรประจำตัวแรงงานและหลบหนีไปหางานใหม่ แต่ปัญหาอยู่ที่นโยบาย คือ การเปิดให้ลงทะเบียน 2 ปีครั้ง กลายเป็นช่องว่างของการเคลื่อนย้ายแรงงานและขั้นตอนที่ยุ่งยากทำให้แรงงานบางส่วนหายไปจากระบบ
“กระทรวงแรงงานมาถูกทางแล้ว แต่ยังขาดความยืดหยุ่นและยุทธศาสตร์เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ชัดเจนและขาดการคำนึงถึงผลระยะยาว โดยต้องจัดให้มีการลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติได้ทั้งปีเพื่อแก้ปัญหาแรงงานที่มีการเปลี่ยนนายจ้างในระหว่างปี ส่วนเรื่องการนำเข้าแรงงานที่ขาดแคลนก็ต้องมีการกำหนดประเภทของกิจการและระบุว่าขาดเป็นจำนวนเท่าไหร่และนำเข้ามาตามจำนวนที่ขาด ซึ่งต้องเป็นความต้องการที่แท้จริง”นายอดิศรกล่าว