xs
xsm
sm
md
lg

หญิงข้ามเพศ ร้อง สธ.ช่วยแจงภาวะผิดอัตลักษณ์ทางเพศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายยลลดา เกริกก้อง สวนยศ นายกสมาคมสตรีข้ามเพศแห่งประเทศไทย พร้อมกลุ่มสตรีข้ามเพศประมาณ 5 คน ได้ยื่นหนังสือขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะ GID หรือ Gender Identity Disorder ซึ่งหมายถึงความผิดอัตลักษณ์ทางเพศ
“นก-ยลลดา” พร้อมกลุ่มสตรีข้ามเพศ ร้อง สธ.ช่วยชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีภาวะผิดอัตลักษณ์ทางเพศ โวยถูกระงับ “เรียลิตี้ แปลงเพศเอื้ออาทร” วอน สธ.เร่งเคลียร์ด่วน

วันนี้ (2 มี.ค.) นายยลลดา เกริกก้อง สวนยศ นายกสมาคมสตรีข้ามเพศแห่งประเทศไทย พร้อมกลุ่มสตรีข้ามเพศประมาณ 5 คน ได้ยื่นหนังสือถึง นายจุรินทร์ ลักษณศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต เพื่อให้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะ GID หรือ Gender Identity Disorder ซึ่งหมายถึงความผิดอัตลักษณ์ทางเพศ

นายยลลดา กล่าวว่า ตามที่ นพ.อภิชัย อธิบดีกรมสุขภาพจิต ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงโครงการ “แปลงเพศเอื้ออาทร” นั้นก็ดี แต่ไม่ได้ชี้แจงในเรื่อง GID ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมควรรู้ กลับให้ความเห็นเป็นแนวเฝ้าระวังสังคม ซ้ำยังบอกว่า ห่วงการแปลงเพศเป็นแค่กระแสนิยมหรือทำตามแฟชั่น ส่งผลให้จากเดิมจะมีการจัดทำเรียลิตี้คนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ก็ถูกสั่งระงับกะทันหัน จึงต้องมีการเผยแพร่ออกอากาศทางเว็บไซต์ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการผ่าตัดแปลงเพศก็มีข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องเกณฑ์การรักษาเรื่องแปลงเพศ ที่ระบุว่า การแปลงเพศ หมายถึงการรักษาโรค หรือภาวะผิดปกติทางจิตเวช ตนจึงเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมควรรับรู้เรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ GID ว่า จริงๆ แล้ว คือ ภาวะของการเป็นโรคชนิดหนึ่ง ตนและหญิงข้ามเพศที่เดินทางมา จึงอยากเรียกร้องให้ สธ.ได้มีการชี้แจงผ่านสื่อในเรื่อง 1.เกี่ยวกับภาวะ GID ให้สังคมได้รับทราบข้อมูล เพื่อเป็นการชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาของสังคม 2.จากกรณีคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมสุขภาพจิต ทางสมาคมมีความห่วงใยถึงจรรยาบรรณของบุคลากรในวิชาชีพแพทย์และกรมสุขภาพจิต ว่า การให้สัมภาษณ์เช่นนี้ จะทำให้ผู้ป่วยที่ต้องทุกข์ทรมานด้วยโรค Transsexualism ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนคนที่ไม่พอใจและไม่ยอมรับเพศที่แท้จริงของตัวเองโดยกำเนิดมีพฤติกรรมแสดงออกแบบเพศตรงข้ามตลอดเวลา

“รู้สึกว่าตัวเองเกิดผิดเพศและมักอยากแปลงเพศให้เป็นตรงกันข้ามกับต้นฉบับเดิม ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องได้ เนื่องจากไม่ได้รับคำแนะนำให้ไปพบแพทย์ หากแต่ด้วยข้ออ้างจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรงว่าไม่แน่ใจว่ามีจิตแพทย์เพียงพอหรือไม่ และการไม่สนับสนุน หรือไม่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม้แต่คำอธิบายผ่านสื่อหรือข้อมูลใดๆ อาจเป็นการสื่อสารถึงการปฏิเสธการรักษาทางอ้อมอันขัดต่อพันธสัญญาตามหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วย และยังไม่พบว่ามีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องใดออกมาทำหน้าที่รณรงค์ส่งเสริมแนะนำให้เข้าใจถึงโรคนี้เพื่อคัดกรองจำนวนผู้ป่วยด้วยตัวเองและผู้ป่วยจะได้ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขแต่อย่างใด” นายยลลดา กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น