รองเลขาฯ กกอ.ออกโรงเตือนนักเรียนตรวจหลักสูตร-สถาบันให้ดีก่อนสมัครเรียนสาขาวิชาชีพ ยกคณะเภสัชหากยังไม่ผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรม ระวังซ้ำรอยหลักสูตรพยาบาลเถื่อน
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ สภาเภสัชกรรมซึ่งทำหน้าที่รับรองปริญญาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ แจ้งมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่า ขณะนี้มีหลักสูตรเภสัชกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของสภาเภสัชกรรมว่าจะรับรองหลักสูตรหรือไม่ แต่ขณะเดียวกันทางมหาวิทยาลัยกำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาอยู่ โดยไม่แจ้งให้นักเรียนทราบว่าหลักสูตรไม่ผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรม ซึ่งหากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ไม่ผ่านการรับรองจะส่งผลกระทบต่อนักศึกษาเช่นเดียวกับคณะพยาบาลศาสตร์ของวิทยาลัยนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชธานี จึงอยากขอให้นักเรียนที่ต้องการสมัครเข้าเรียนคณะเภสัชศาสตร์ตรวจสอบก่อนว่า คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่เลือกเรียนนั้นผ่านการรับรองหรือไม่ จากทางเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม www.phamacycouncil.org
“ขณะนี้หากนักเรียนต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะ สาขาทางวิชาชีพ อยากให้นักเรียนตรวจสอบไปยังสภาวิชาชีพนั้นๆ ก่อนว่าคณะมหาวิทยาลัยที่เลือกเรียนผ่านการรับรองหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นเมื่อนักเรียนเข้าศึกษาแล้ว หากคณะ สาขาที่เข้าเรียน ไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพ นักเรียนอาจต้องกลับมาเรียนใหม่อีกครั้ง ส่วนคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งที่ยังไม่ผ่านการรับรองนั้น คงต้องรอผลการพิจารณาตรวจสอบของสภาเภสัชกรรมก่อน”รศ.นพ.กำจร กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนคณะเภสัชกรรมศาสตร์ ที่ผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรม มีทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่ 1.คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น 3.คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 4.คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 5.คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล 6.คณะเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร 7.คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหาสารคาม 8.คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร 9.คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ10. คณะเภสัชศาสตร์ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 11.คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบลราชธานี และ12.คณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต หากนักเรียนต้องการเข้าเรียนคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งอื่นควรตรวจสอบจากสภาเภสัชกรรม
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ สภาเภสัชกรรมซึ่งทำหน้าที่รับรองปริญญาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ แจ้งมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่า ขณะนี้มีหลักสูตรเภสัชกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของสภาเภสัชกรรมว่าจะรับรองหลักสูตรหรือไม่ แต่ขณะเดียวกันทางมหาวิทยาลัยกำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาอยู่ โดยไม่แจ้งให้นักเรียนทราบว่าหลักสูตรไม่ผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรม ซึ่งหากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ไม่ผ่านการรับรองจะส่งผลกระทบต่อนักศึกษาเช่นเดียวกับคณะพยาบาลศาสตร์ของวิทยาลัยนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชธานี จึงอยากขอให้นักเรียนที่ต้องการสมัครเข้าเรียนคณะเภสัชศาสตร์ตรวจสอบก่อนว่า คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่เลือกเรียนนั้นผ่านการรับรองหรือไม่ จากทางเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม www.phamacycouncil.org
“ขณะนี้หากนักเรียนต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะ สาขาทางวิชาชีพ อยากให้นักเรียนตรวจสอบไปยังสภาวิชาชีพนั้นๆ ก่อนว่าคณะมหาวิทยาลัยที่เลือกเรียนผ่านการรับรองหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นเมื่อนักเรียนเข้าศึกษาแล้ว หากคณะ สาขาที่เข้าเรียน ไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพ นักเรียนอาจต้องกลับมาเรียนใหม่อีกครั้ง ส่วนคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งที่ยังไม่ผ่านการรับรองนั้น คงต้องรอผลการพิจารณาตรวจสอบของสภาเภสัชกรรมก่อน”รศ.นพ.กำจร กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนคณะเภสัชกรรมศาสตร์ ที่ผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรม มีทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่ 1.คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น 3.คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 4.คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 5.คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล 6.คณะเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร 7.คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหาสารคาม 8.คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร 9.คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ10. คณะเภสัชศาสตร์ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 11.คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบลราชธานี และ12.คณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต หากนักเรียนต้องการเข้าเรียนคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งอื่นควรตรวจสอบจากสภาเภสัชกรรม