สืบต้นตอฟาร์มเลี้ยงหมาเชียงใหม่ขายให้สาวสธ.ปิดกิจการแล้วเป็นปี เรียกประชุมเจ้าของฟาร์ม30แห่งทำความเข้าใจ ขณะที่อบจ.เชียงใหม่เจียดงบ 1.8 ล้านบาท ฉีดวัคซีนกันพิษสุนัขบ้าให้หมา 2 หมื่นตัว ป้องเชื้อแพร่ช่วงหน้าร้อน ด้านสำนักระบาดเผย ในปี 53 พื้นที่อีสานครองแชมป์ ขอรับวัคซีนพิษสุนัขบ้ามากสุด
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ นพ.วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสุนัขใน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีการอ้างว่าเป็นแหล่งที่จำหน่ายลูกสุนัขให้กับข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขจนถูกสุนัขกัดและเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้านั้น ปรากฏว่าฟาร์มดังกล่าวหยุดกิจการไปแล้วเมื่อประมาณปีกว่าที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีปัญหาเรื่องสุนัขติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจนตายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ได้มีการเรียกเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุนัขและผู้จำหน่ายสุนัขใน จ.เชียงใหม่ที่มีอยู่ประมาณ 30 แห่งมาประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการดูแลสุนัขให้ปลอดจากโรคตามมาตรฐานที่มีการกำหนด
นพ.วัฒนา กล่าวอีกว่า สำหรับการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคในพื้นที่จ.เชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่(อบจ.)ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 1.8 ล้านบาท สำหรับใช้ในการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขในจังหวัดที่มีประมาณ 2 หมื่นตัว โดยจะเริ่มรณรงค์ฉีดภายในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคมากที่สุดเป็นประจำทุกปี และในแต่ละปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ได้จัดสรรงบประมาณในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ประมาณ 5 ล้าน ในการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าสำหรับผู้ที่ถูกสุนัขหรือแมว กัดหรือข่วน โดยแต่ละปีมีประมาณ 5 พันคน ส่งผลให้จ.เชียงใหม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้รายล่าสุดที่อ.อมก๋อย เมื่อปี 2549
ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตัวเลขประมาณการการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปีงบประมาณ 2553 มากที่สุด 10 จังหวัดแรก ได้แก่ 1.จ.อุบลราชธานี 50,419 โด๊ส 2.จ.ศรีสะเกษ 41,277 โด๊ส 3.จ.สกลนคร 33,629 โด๊ส 4.จ.เชียงราย 24,714 โด๊ส 5. จ.พัทลุง 24,501 โด๊ส 6. จ.ร้อยเอ็ด 24,430 โด๊ส จ. 7.จ.พระนครศรีอยุธยา 22,579 โด๊ส 8.จ.ขอนแก่น 22,333 โด๊ส 9.จ.นนทบุรี 21,627 โด๊ส และ10.จ.ตรัง 20,745 โด๊ส ซึ่งพิจารณาจากรายงานการใช้วัคซีนในปีที่ผ่านมา และจะใช้ในการประกอบการจัดสรรวัคซีนให้กับพื้นที่ต่างๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ นพ.วัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสุนัขใน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีการอ้างว่าเป็นแหล่งที่จำหน่ายลูกสุนัขให้กับข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขจนถูกสุนัขกัดและเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้านั้น ปรากฏว่าฟาร์มดังกล่าวหยุดกิจการไปแล้วเมื่อประมาณปีกว่าที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีปัญหาเรื่องสุนัขติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจนตายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ได้มีการเรียกเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุนัขและผู้จำหน่ายสุนัขใน จ.เชียงใหม่ที่มีอยู่ประมาณ 30 แห่งมาประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการดูแลสุนัขให้ปลอดจากโรคตามมาตรฐานที่มีการกำหนด
นพ.วัฒนา กล่าวอีกว่า สำหรับการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคในพื้นที่จ.เชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่(อบจ.)ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 1.8 ล้านบาท สำหรับใช้ในการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขในจังหวัดที่มีประมาณ 2 หมื่นตัว โดยจะเริ่มรณรงค์ฉีดภายในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคมากที่สุดเป็นประจำทุกปี และในแต่ละปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ได้จัดสรรงบประมาณในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ประมาณ 5 ล้าน ในการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าสำหรับผู้ที่ถูกสุนัขหรือแมว กัดหรือข่วน โดยแต่ละปีมีประมาณ 5 พันคน ส่งผลให้จ.เชียงใหม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้รายล่าสุดที่อ.อมก๋อย เมื่อปี 2549
ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตัวเลขประมาณการการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปีงบประมาณ 2553 มากที่สุด 10 จังหวัดแรก ได้แก่ 1.จ.อุบลราชธานี 50,419 โด๊ส 2.จ.ศรีสะเกษ 41,277 โด๊ส 3.จ.สกลนคร 33,629 โด๊ส 4.จ.เชียงราย 24,714 โด๊ส 5. จ.พัทลุง 24,501 โด๊ส 6. จ.ร้อยเอ็ด 24,430 โด๊ส จ. 7.จ.พระนครศรีอยุธยา 22,579 โด๊ส 8.จ.ขอนแก่น 22,333 โด๊ส 9.จ.นนทบุรี 21,627 โด๊ส และ10.จ.ตรัง 20,745 โด๊ส ซึ่งพิจารณาจากรายงานการใช้วัคซีนในปีที่ผ่านมา และจะใช้ในการประกอบการจัดสรรวัคซีนให้กับพื้นที่ต่างๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า