นักวิจัยจากธนาคารโลก มองระบบอุดมศึกษาไทยยังล่าหลัง กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำมีโอกาสเรียนเพียงร้อยละ 5 ขณะที่ นศ.ครึ่งหนึ่งมาจากกลุ่มมีรายได้สูง อีกทั้งยังพบว่าผู้จบระดับปริญญาตรีมีอัตราว่างงานสูงสุด แนะรัฐแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพมหาวิทยาลัยเน้นเชื่อมโยงกับภาคเอกชน สร้างจุดแข็ง
ธนาคารโลกร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการแถลงผลรายงานการติดตามสถานการณ์สังคมไทย ในหัวข้อ “สร้างศักยภาพการแข่งขันของระบบอุดมศึกษาไทยในเศรษฐกิจโลก” โดย นายลูอิส เบนเวนิสเต้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากธนาคารโลก ผู้เขียนรายงาน กล่าวว่า การลงทุนทางการศึกษาระดับอุดมศึกษามีความสำคัญต่อการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในขณะที่ยังมีข้อจำกัดด้านการเงินและทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร กับความสัมพันธ์ที่อ่อนแอของมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม
ในด้านการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมาจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนอุดมศึกษาเพิ่มจาก 1.9 ล้านคน ในปี 2544 เป็น 2.4 ล้านคน ในปี 2549 แต่ยังถือว่าเป็นอัตราส่วนที่ล้าหลัง เกิดช่องว่างเรื่องเพศผู้เรียนที่สวนทางกับประเทศอื่น มีนักศึกษาหญิงมากกว่าชาย ขณะที่การเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่เท่าเทียมกัน นักศึกษาร้อยละ 50 มาจากกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดของประเทศ แต่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดมีโอกาสได้เรียนเพียงไม่ถึงร้อยละ 5 มหาวิทยาลัยเกือบร้อยละ 50 ของประเทศตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรเพียงร้อยละ 10 ของประเทศ และประเทศไทยกำลังประสบปัญหาความไม่สมดุลอย่างรุนแรงระหว่างนักศึกษาปริญญาตรี และนักศึกษาปริญญาขั้นสูง ที่มีจำนวนร้อยละ 86 และ ร้อยละ 10
ส่วนด้านคุณภาพการอุดมศึกษามีความกังวลมากขึ้น เพราะมีผู้เรียนเพียงร้อยละ 33 ที่สำเร็จการศึกษา จำแนกเป็นนักศึกษาชายสำเร็จการศึกษาร้อยละ 21 นักศึกษาหญิง ร้อยละ 34 ขณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมีอัตราการว่างงานสูงสุด โดยสาขาที่ว่างงานสูงสุดมากกว่าร้อยละ 40 คือ ผู้จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ แสดงถึงโอกาสงานที่จำกัดกับการไม่สอดคล้องระหว่างงานกับคน ตำแหน่งงานว่างมักเพราะมีปัญหาเรื่องการหาคนที่ทักษะตรงกับงาน ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์มีปริมาณสูงเกินความต้องการของตลาด แต่สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพยังขาดแคลน
นักวิจัยของธนาคารโลก ยังกล่าวว่า โครงสร้างการจัดหาเงินทุนในปัจจุบันยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการปฏิรูประบบอุดมศึกษา สถาบันรัฐได้เงินสนับสนุนถึงร้อยละ 80 ทำให้ขาดอิสระในการบริหารงานอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายของภาครัฐคือต้องเน้นว่าระบบอุดมศึกษาจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เร่งปรับปรุงคุณภาพมหาวิทยาลัย โดยเน้นการเชื่อมโยงกับภาคเอกชน สร้างจุดแข็ง และเชื่อมโยงสู่การพัฒนานวัตกรรมต่อไป
ธนาคารโลกร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการแถลงผลรายงานการติดตามสถานการณ์สังคมไทย ในหัวข้อ “สร้างศักยภาพการแข่งขันของระบบอุดมศึกษาไทยในเศรษฐกิจโลก” โดย นายลูอิส เบนเวนิสเต้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากธนาคารโลก ผู้เขียนรายงาน กล่าวว่า การลงทุนทางการศึกษาระดับอุดมศึกษามีความสำคัญต่อการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในขณะที่ยังมีข้อจำกัดด้านการเงินและทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร กับความสัมพันธ์ที่อ่อนแอของมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม
ในด้านการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมาจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนอุดมศึกษาเพิ่มจาก 1.9 ล้านคน ในปี 2544 เป็น 2.4 ล้านคน ในปี 2549 แต่ยังถือว่าเป็นอัตราส่วนที่ล้าหลัง เกิดช่องว่างเรื่องเพศผู้เรียนที่สวนทางกับประเทศอื่น มีนักศึกษาหญิงมากกว่าชาย ขณะที่การเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่เท่าเทียมกัน นักศึกษาร้อยละ 50 มาจากกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดของประเทศ แต่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดมีโอกาสได้เรียนเพียงไม่ถึงร้อยละ 5 มหาวิทยาลัยเกือบร้อยละ 50 ของประเทศตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรเพียงร้อยละ 10 ของประเทศ และประเทศไทยกำลังประสบปัญหาความไม่สมดุลอย่างรุนแรงระหว่างนักศึกษาปริญญาตรี และนักศึกษาปริญญาขั้นสูง ที่มีจำนวนร้อยละ 86 และ ร้อยละ 10
ส่วนด้านคุณภาพการอุดมศึกษามีความกังวลมากขึ้น เพราะมีผู้เรียนเพียงร้อยละ 33 ที่สำเร็จการศึกษา จำแนกเป็นนักศึกษาชายสำเร็จการศึกษาร้อยละ 21 นักศึกษาหญิง ร้อยละ 34 ขณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมีอัตราการว่างงานสูงสุด โดยสาขาที่ว่างงานสูงสุดมากกว่าร้อยละ 40 คือ ผู้จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ แสดงถึงโอกาสงานที่จำกัดกับการไม่สอดคล้องระหว่างงานกับคน ตำแหน่งงานว่างมักเพราะมีปัญหาเรื่องการหาคนที่ทักษะตรงกับงาน ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์มีปริมาณสูงเกินความต้องการของตลาด แต่สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพยังขาดแคลน
นักวิจัยของธนาคารโลก ยังกล่าวว่า โครงสร้างการจัดหาเงินทุนในปัจจุบันยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการปฏิรูประบบอุดมศึกษา สถาบันรัฐได้เงินสนับสนุนถึงร้อยละ 80 ทำให้ขาดอิสระในการบริหารงานอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายของภาครัฐคือต้องเน้นว่าระบบอุดมศึกษาจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เร่งปรับปรุงคุณภาพมหาวิทยาลัย โดยเน้นการเชื่อมโยงกับภาคเอกชน สร้างจุดแข็ง และเชื่อมโยงสู่การพัฒนานวัตกรรมต่อไป