กทม.มอบกรุงเทพธนาคมบริหารจัดการโรงฆ่าสัตว์ กทม.ต่อ ด้านเคทีเตรียมกู้แบงก์เดินหน้าโครงการ พร้อมเร่งทำทีโออาร์รับสัมปทาน กทม.เปิด ก.ย.
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาหาแนวทางบริหารจัดการโรงฆ่าสัตว์ของกทม.ว่า เบื้องต้นที่ประชุมได้ให้ บ.กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กลับไปจัดทำร่างเอกสารสัญญาหรือทีโออาร์ เพื่อรับมอบอำนาจการบริหารจัดการและทรัพย์สินซึ่งก็คือโรงฆ่าสัตว์ของกทม.ไปดำเนินการ โดยกำหนดให้จัดทำร่างหนังสือให้แล้วเสร็จส่งผู้บริหาร กทม.ภายใน 1 เดือนนับจากนี้ก่อนพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งในระหว่างนั้นทางเคทีก็จะดำเนินการจัดหาแหล่งเงินกู้และจัดทำแผนบริหารไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบและวัตถุประสงค์การเปิดใช้โรงฆ่าสัตว์นั้น จะยังคงเป็นสถานที่สำหรับรับชำแหละเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะเช่นเดิม แต่อาจมีการดำเนินการด้านอื่นๆ เพิ่มเติมในภายหลังได้ โดยจะต้องใช้งบฯ ประมาณอีกราว 138 ล้านบาทในการดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งระบบต่างๆ จนแล้วเสร็จสามารถเปิดใช้ได้
ด้าน นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้จัดการบ.กรุงเทพธนาคม กล่าวว่า กทม.ต้องการให้บริษัทเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ต่อจนแล้วเสร็จเองโดยไม่ต้องใช้งบฯ ของ กทม. และขณะนี้บริษัทได้ประสานธนาคารเอาไว้แล้วหลายแห่ง คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด และมีหลายแห่งต้องการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ กทม.ในโครงการอื่นๆ หลังเปิดโรงฆ่าสัตว์
“จากนี้บริษัทก็จะได้เตรียมจัดทำแผนธุรกิจกับทางสำนักอนามัยเสนอต่อผู้บริหารภายใน 1 เดือนก่อนพิจารณาอนุมัติมอบโรงฆ่าสัตว์ให้บริษัทเข้าดำเนินการต่อเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ทันตามเป้าหมายที่ผู้บริหารกำหนดและกำชับเอาไว้คือช่วงเดือน ก.ย.ปีหน้า จากนั้นแผนอื่นๆ ในการบริหารโรงฆ่าสัตว์ยังมีเวลานำเสนอผู้บริหารได้ในโอกาสต่อๆ ไปหลังจากนี้” นายอมรกล่าว
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาหาแนวทางบริหารจัดการโรงฆ่าสัตว์ของกทม.ว่า เบื้องต้นที่ประชุมได้ให้ บ.กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กลับไปจัดทำร่างเอกสารสัญญาหรือทีโออาร์ เพื่อรับมอบอำนาจการบริหารจัดการและทรัพย์สินซึ่งก็คือโรงฆ่าสัตว์ของกทม.ไปดำเนินการ โดยกำหนดให้จัดทำร่างหนังสือให้แล้วเสร็จส่งผู้บริหาร กทม.ภายใน 1 เดือนนับจากนี้ก่อนพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งในระหว่างนั้นทางเคทีก็จะดำเนินการจัดหาแหล่งเงินกู้และจัดทำแผนบริหารไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบและวัตถุประสงค์การเปิดใช้โรงฆ่าสัตว์นั้น จะยังคงเป็นสถานที่สำหรับรับชำแหละเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะเช่นเดิม แต่อาจมีการดำเนินการด้านอื่นๆ เพิ่มเติมในภายหลังได้ โดยจะต้องใช้งบฯ ประมาณอีกราว 138 ล้านบาทในการดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งระบบต่างๆ จนแล้วเสร็จสามารถเปิดใช้ได้
ด้าน นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้จัดการบ.กรุงเทพธนาคม กล่าวว่า กทม.ต้องการให้บริษัทเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ต่อจนแล้วเสร็จเองโดยไม่ต้องใช้งบฯ ของ กทม. และขณะนี้บริษัทได้ประสานธนาคารเอาไว้แล้วหลายแห่ง คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด และมีหลายแห่งต้องการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ กทม.ในโครงการอื่นๆ หลังเปิดโรงฆ่าสัตว์
“จากนี้บริษัทก็จะได้เตรียมจัดทำแผนธุรกิจกับทางสำนักอนามัยเสนอต่อผู้บริหารภายใน 1 เดือนก่อนพิจารณาอนุมัติมอบโรงฆ่าสัตว์ให้บริษัทเข้าดำเนินการต่อเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ทันตามเป้าหมายที่ผู้บริหารกำหนดและกำชับเอาไว้คือช่วงเดือน ก.ย.ปีหน้า จากนั้นแผนอื่นๆ ในการบริหารโรงฆ่าสัตว์ยังมีเวลานำเสนอผู้บริหารได้ในโอกาสต่อๆ ไปหลังจากนี้” นายอมรกล่าว