อย.คาดชาวสมุยเสียชีวิตจากการกินปลาปักเป้า เตือนอันตรายอย่านำปลาปักเป้ามารับประทาน ระบุยังคงกำหนดให้เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย แนะวิธีสังเกต หากปลาปักเป้าที่มีการแล่สำเร็จรูปขาย ลักษณะเนื้อจะนูน และมีลายเส้น ไม่ควรเสี่ยงซื้อมาปรุงอาหาร ที่สำคัญอย่าซื้อปลาปักเป้ามาแล่เองเพราะหากไม่มีความชำนาญ อาจสัมผัสพิษจากส่วนต่าง ๆ ของปลาให้ปนเปื้อนเนื้อปลาหรือปนเปื้อนในเนื้ออาหารที่ปรุงได้
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงกรณีข่าวที่พบผู้เสียชีวิตที่ จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 1 ราย และป่วยจำนวน 2 ราย คาดว่าน่าจะมาจากการรับประทานเนื้อปลาปักเป้า นั้น กระทรวงสาธารณสุข มิได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาติดตามตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนแล้ว และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าไปตรวจสอบแล้ว โดยการคาดว่าสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากการรับประทานปลาปักเป้านั้น ยังเป็นแค่การสอบสวนโรคเบื้องต้นเท่านั้น จะต้องมีการสืบสวนโรคต่อไปว่า มาจากสาเหตุอื่นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเข้มงวดตรวจสอบไม่ให้มีการจำหน่ายปลาปักเป้า และให้เตือนประชาชนในพื้นที่ว่า อย่าได้นำปลาปักเป้าไม่ว่าเป็นส่วนใดมารับประทานโดยเด็ดขาด
นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวเพิ่มเติมว่า อย. ยังคงกำหนดให้ปลาปักเป้าทุกชนิดและอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 264) พ.ศ.2545 ซึ่งหากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท จึงขอเตือนมายังผู้จับและจำหน่ายปลาปักเป้า อย่าได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย
ทั้งนี้ ปลาปักเป้า มี 2 ชนิด ได้แก่ ปลาปักเป้าน้ำจืด และปลาปักเป้าทะเล ซึ่งชนิดของพิษต่างกัน คือ ปลาปักเป้าน้ำจืดมีพิษ Paralytic Shellfish Poisoning (PSP) เป็นพิษที่รุนแรงกว่าสารพิษ Tetrodotoxin ที่พบในปลาปักเป้าทะเล พิษของปลาปักเป้าจะพบในส่วนของอวัยวะภายใน หากผู้บริโภคได้รับจะมีอาการชาที่ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้อาเจียน ในขั้นแรกจนถึงขั้นรุนแรง อาจเป็นอัมพาต และเสียชีวิตได้
ดังนั้น เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย หากผู้บริโภคต้องการซื้อเนื้อปลา ให้เลือกซื้อเนื้อปลาที่คุ้นเคย มีวิธีสังเกตง่าย ๆ เบื้องต้น หากเป็นเนื้อปลาแล่ที่เป็นปลาปักเป้า ลักษณะเนื้อจะนูนและ มีลายเส้นที่แตกต่างจากปลาชนิดอื่น โดยลักษณะดังกล่าวไม่ควรเสี่ยงซื้อมาบริโภค กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลา เช่น ลูกชิ้น ปลาเส้น ให้พิจารณาว่าอยู่ในภาชนะบรรจุที่มีฉลากระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจน ที่สำคัญ อย่าซื้อปลาปักเป้ามา แล่เอง เพราะหากไม่มีความชำนาญ ไม่รู้ขั้นตอนการแล่อย่างถูกวิธี อาจสัมผัสพิษจากส่วนต่าง ๆ ของปลาให้ปนเปื้อนเนื้อปลาหรือปนเปื้อนในเนื้ออาหารที่ปรุงได้ โดยสารพิษในปลาปักเป้าเป็นสารพิษที่ทนต่อความร้อนสูง ดังนั้น ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ผู้ที่แล่ปลาปักเป้าควรเป็นผู้ได้รับการอบรมเป็นพิเศษ ขอให้ผู้บริโภคให้ความใส่ใจในอาหารที่จะนำมารับประทาน โดยเฉพาะหากเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงอันตราย อย่างเช่นปลาปักเป้า ดังที่เป็นข่าว
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงกรณีข่าวที่พบผู้เสียชีวิตที่ จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 1 ราย และป่วยจำนวน 2 ราย คาดว่าน่าจะมาจากการรับประทานเนื้อปลาปักเป้า นั้น กระทรวงสาธารณสุข มิได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาติดตามตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนแล้ว และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าไปตรวจสอบแล้ว โดยการคาดว่าสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากการรับประทานปลาปักเป้านั้น ยังเป็นแค่การสอบสวนโรคเบื้องต้นเท่านั้น จะต้องมีการสืบสวนโรคต่อไปว่า มาจากสาเหตุอื่นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเข้มงวดตรวจสอบไม่ให้มีการจำหน่ายปลาปักเป้า และให้เตือนประชาชนในพื้นที่ว่า อย่าได้นำปลาปักเป้าไม่ว่าเป็นส่วนใดมารับประทานโดยเด็ดขาด
นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวเพิ่มเติมว่า อย. ยังคงกำหนดให้ปลาปักเป้าทุกชนิดและอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 264) พ.ศ.2545 ซึ่งหากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท จึงขอเตือนมายังผู้จับและจำหน่ายปลาปักเป้า อย่าได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย
ทั้งนี้ ปลาปักเป้า มี 2 ชนิด ได้แก่ ปลาปักเป้าน้ำจืด และปลาปักเป้าทะเล ซึ่งชนิดของพิษต่างกัน คือ ปลาปักเป้าน้ำจืดมีพิษ Paralytic Shellfish Poisoning (PSP) เป็นพิษที่รุนแรงกว่าสารพิษ Tetrodotoxin ที่พบในปลาปักเป้าทะเล พิษของปลาปักเป้าจะพบในส่วนของอวัยวะภายใน หากผู้บริโภคได้รับจะมีอาการชาที่ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้อาเจียน ในขั้นแรกจนถึงขั้นรุนแรง อาจเป็นอัมพาต และเสียชีวิตได้
ดังนั้น เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย หากผู้บริโภคต้องการซื้อเนื้อปลา ให้เลือกซื้อเนื้อปลาที่คุ้นเคย มีวิธีสังเกตง่าย ๆ เบื้องต้น หากเป็นเนื้อปลาแล่ที่เป็นปลาปักเป้า ลักษณะเนื้อจะนูนและ มีลายเส้นที่แตกต่างจากปลาชนิดอื่น โดยลักษณะดังกล่าวไม่ควรเสี่ยงซื้อมาบริโภค กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลา เช่น ลูกชิ้น ปลาเส้น ให้พิจารณาว่าอยู่ในภาชนะบรรจุที่มีฉลากระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจน ที่สำคัญ อย่าซื้อปลาปักเป้ามา แล่เอง เพราะหากไม่มีความชำนาญ ไม่รู้ขั้นตอนการแล่อย่างถูกวิธี อาจสัมผัสพิษจากส่วนต่าง ๆ ของปลาให้ปนเปื้อนเนื้อปลาหรือปนเปื้อนในเนื้ออาหารที่ปรุงได้ โดยสารพิษในปลาปักเป้าเป็นสารพิษที่ทนต่อความร้อนสูง ดังนั้น ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ผู้ที่แล่ปลาปักเป้าควรเป็นผู้ได้รับการอบรมเป็นพิเศษ ขอให้ผู้บริโภคให้ความใส่ใจในอาหารที่จะนำมารับประทาน โดยเฉพาะหากเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงอันตราย อย่างเช่นปลาปักเป้า ดังที่เป็นข่าว