กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจสุขภาพวัยรุ่นเมืองกรุงพบนอนดึก ชอบกินอาหารฟาสต์ฟูด ใช้ช้อนและหลอดดูดน้ำร่วมกัน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครียด ขณะที่สิ่งกังวลมากที่สุดสำหรับวัยรุ่น คือ กลัวเป็นโรคมะเร็ง
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “วัยรุ่นกับการดูแลสุขภาพ เนื่องในวันสาธารณสุขแห่งชาติ 27 พ.ย.” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,067 คน อายุ 13-22 ปี สำรวจระหว่าง 13-16 พ.ย. ที่ผ่านมา พบวัยรุ่นในกรุงเทพฯ ทั้งชายและหญิงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพ คือ นอนดึกและพักผ่อนน้อย มากที่สุดหรือร้อยละ 66.5 รองลงมา คือ การใช้ช้อนตักอาหารร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ใช้ช้อนกลาง ร้อยละ 52.5 ชอบกินอาหารฟาสท์ฟู้ด ร้อยละ 51.2 และมีเรื่องเครียดบ่อยๆ ร้อยละ 27.5
เมื่อถามวัยรุ่นถึงวิธีการทำให้ตัวเองดูดี พบว่า วัยรุ่นเพศหญิงใช้วิธี พักผ่อนให้เพียงพอมากที่สุด รองลงมาคือ กินอาหารที่มีประโยชน์ ทำจิตใจให้ผ่องใส และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่วัยรุ่นเพศชายใช้วิธี กินอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุด รองลงมาคือออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ส่วนเรื่องความเสี่ยงที่ตนเองจะเป็นโรคต่างๆ คิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 58.4 โดยให้เหตุผลว่า สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีอยู่แล้ว ออกกำลังกายเป็นประจำ ขณะที่ร้อยละ 41.6 คิดว่ามีความเสี่ยง โดยโรคที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงมากที่สุด 5 อันดับแรก โรคมะเร็ง ร้อยละ 8.2 โรคกระเพาะอาหาร ร้อยละ 5.5 โรคเบาหวาน ร้อยละ 5.3 โรคอ้วน
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “วัยรุ่นกับการดูแลสุขภาพ เนื่องในวันสาธารณสุขแห่งชาติ 27 พ.ย.” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,067 คน อายุ 13-22 ปี สำรวจระหว่าง 13-16 พ.ย. ที่ผ่านมา พบวัยรุ่นในกรุงเทพฯ ทั้งชายและหญิงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพ คือ นอนดึกและพักผ่อนน้อย มากที่สุดหรือร้อยละ 66.5 รองลงมา คือ การใช้ช้อนตักอาหารร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ใช้ช้อนกลาง ร้อยละ 52.5 ชอบกินอาหารฟาสท์ฟู้ด ร้อยละ 51.2 และมีเรื่องเครียดบ่อยๆ ร้อยละ 27.5
เมื่อถามวัยรุ่นถึงวิธีการทำให้ตัวเองดูดี พบว่า วัยรุ่นเพศหญิงใช้วิธี พักผ่อนให้เพียงพอมากที่สุด รองลงมาคือ กินอาหารที่มีประโยชน์ ทำจิตใจให้ผ่องใส และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่วัยรุ่นเพศชายใช้วิธี กินอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุด รองลงมาคือออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ส่วนเรื่องความเสี่ยงที่ตนเองจะเป็นโรคต่างๆ คิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 58.4 โดยให้เหตุผลว่า สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีอยู่แล้ว ออกกำลังกายเป็นประจำ ขณะที่ร้อยละ 41.6 คิดว่ามีความเสี่ยง โดยโรคที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงมากที่สุด 5 อันดับแรก โรคมะเร็ง ร้อยละ 8.2 โรคกระเพาะอาหาร ร้อยละ 5.5 โรคเบาหวาน ร้อยละ 5.3 โรคอ้วน