“จุรินทร์” เผยกรรมการสอบข้อเท็จจริง พบ 5 ผู้บริหารใน สกสค.-เจ้าหน้าที่ จัดสร้างพระพุทธโสธร รุ่นเจริญสุข แอบอ้างชื่อ นำตราสัญลักษณ์ มมร.ไปแสวงหาผลประโยชน์ ระบุทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ตบทรัพย์ประชาชน ซึ่งผิดกฎหมายอาญาฐานฉ้อโกงประชาชน สั่ง สกสค.ส่งข้อมูลให้ DSI
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีโครงการ ชพค.5 ว่า กรณีเช่าพระ มีข่าวไม่โปร่งใสเกิดขึ้น ตนได้มอบให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานบอร์ดสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและะบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยมี นายสุนันท์ เทพศรี ผู้ตรวจการ ศธ.เป็นประธาน ขณะนี้ผลการสอบเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า กรณีที่ สกสค.จัดสร้างวัตถุมงคลพระพุทธโสธร รุ่นเจริญสุข มีการอ้างเบื้องสูงและแอบอ้างนำชื่อ พร้อมตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
ดังนั้น คณะกรรมการมีความเห็น โดยสรุปดังนี้ 1.สำนักงาน สกสค.เกี่ยวข้องกับการจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว 2.การสร้างพระพุทธรูป ถือว่าไม่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ สกสค. ตรงนี้ถือว่าเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 3.การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจว่า สำนักงาน สกสค.จัดสร้างพระ เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ แจ้งว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เท่ากับเป็นการเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายอาญา ข้อหาฉ้อโกงประชาชน หลอกลวงประชาชนด้วยข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกลอกลวง คือ ประชาชน
นายจุรินทร์กล่าวสรุปว่า มีการกระทำผิด 2 ข้อ 1.สำนักงาน สกสค.ทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ เท่ากับเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2.หลอกลวงประชาชนด้วยข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของประชาชน ก็เท่ากับทำผิดกฎหมายอาญา ข้อหาฉ้อโกงประชาชน ซึ่งคณะกรรมการเห็นควรให้ดำเนินการกับคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูง 5 ราย พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่ง
ส่วนขั้นตอนถัดจากนี้ไปจะส่งให้บอร์ด สกสค.ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ขณะเดียวกันกรณีที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญาข้อหาฉ้อโกงประชาชนนั้นจะดำเนินการตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง สกสค.จะต้องส่งเรื่อง และหลักฐานไปยัง ดีเอสไอ เพื่อดำเนินการต่อไป
“บอร์ด สกสค.เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าทำผิดอะไร ขั้นไหน เช่น ถ้าเป็นกรณีของการบกพร่อง หรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสีย คณะกรรมการบอร์ด สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ หรือกรณีของการลงโทษทางวินัยอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการ สกสค. ที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย” นายจุรินทร์กล่าว
ถามว่าระหว่างที่พิจารณาความผิดนั้นจะมีการโยกย้ายก่อนหรือไม่ นายจุรินทร์ตอบว่า ขึ้นอยู่กับ บอร์ด สกสค.พิจารณา ทั้งนี้ ตนกำชับไปแล้วให้ดำเนินการโดยเร็ว
นายสมชัย ไหลสุพรรณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวง ในฐานะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีดำเนินการ ชพค.5 กล่าวเสริมว่า ข้อหาฉ้อโกงประชาชน มีความผิดทางอาญา ส่วนกรณีนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หากเกิดความเสีย จะมีความผิดลักษณะบกพร่องต่อหน้าที่ นับเป็นเหตุหนึ่งจะทำให้มีการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ตาม พ.ร.บ.พระราชบัญญัติครูและบุคลากรทางการศึกษา
นายจุรินทร์กล่าวถึงเรื่อง ชพค.5 ว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงสรุปมีอยู่ประเด็นหนึ่ง การบังคับทำประกันชีวิตอาจจะขัดกับประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปพ.) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอ คปพ.พิจารณา
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีโครงการ ชพค.5 ว่า กรณีเช่าพระ มีข่าวไม่โปร่งใสเกิดขึ้น ตนได้มอบให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานบอร์ดสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและะบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยมี นายสุนันท์ เทพศรี ผู้ตรวจการ ศธ.เป็นประธาน ขณะนี้ผลการสอบเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า กรณีที่ สกสค.จัดสร้างวัตถุมงคลพระพุทธโสธร รุ่นเจริญสุข มีการอ้างเบื้องสูงและแอบอ้างนำชื่อ พร้อมตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
ดังนั้น คณะกรรมการมีความเห็น โดยสรุปดังนี้ 1.สำนักงาน สกสค.เกี่ยวข้องกับการจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว 2.การสร้างพระพุทธรูป ถือว่าไม่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ สกสค. ตรงนี้ถือว่าเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 3.การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจว่า สำนักงาน สกสค.จัดสร้างพระ เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ แจ้งว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เท่ากับเป็นการเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายอาญา ข้อหาฉ้อโกงประชาชน หลอกลวงประชาชนด้วยข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกลอกลวง คือ ประชาชน
นายจุรินทร์กล่าวสรุปว่า มีการกระทำผิด 2 ข้อ 1.สำนักงาน สกสค.ทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ เท่ากับเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 2.หลอกลวงประชาชนด้วยข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของประชาชน ก็เท่ากับทำผิดกฎหมายอาญา ข้อหาฉ้อโกงประชาชน ซึ่งคณะกรรมการเห็นควรให้ดำเนินการกับคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูง 5 ราย พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่ง
ส่วนขั้นตอนถัดจากนี้ไปจะส่งให้บอร์ด สกสค.ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ขณะเดียวกันกรณีที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญาข้อหาฉ้อโกงประชาชนนั้นจะดำเนินการตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง สกสค.จะต้องส่งเรื่อง และหลักฐานไปยัง ดีเอสไอ เพื่อดำเนินการต่อไป
“บอร์ด สกสค.เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าทำผิดอะไร ขั้นไหน เช่น ถ้าเป็นกรณีของการบกพร่อง หรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสีย คณะกรรมการบอร์ด สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ หรือกรณีของการลงโทษทางวินัยอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการ สกสค. ที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย” นายจุรินทร์กล่าว
ถามว่าระหว่างที่พิจารณาความผิดนั้นจะมีการโยกย้ายก่อนหรือไม่ นายจุรินทร์ตอบว่า ขึ้นอยู่กับ บอร์ด สกสค.พิจารณา ทั้งนี้ ตนกำชับไปแล้วให้ดำเนินการโดยเร็ว
นายสมชัย ไหลสุพรรณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวง ในฐานะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีดำเนินการ ชพค.5 กล่าวเสริมว่า ข้อหาฉ้อโกงประชาชน มีความผิดทางอาญา ส่วนกรณีนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หากเกิดความเสีย จะมีความผิดลักษณะบกพร่องต่อหน้าที่ นับเป็นเหตุหนึ่งจะทำให้มีการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ตาม พ.ร.บ.พระราชบัญญัติครูและบุคลากรทางการศึกษา
นายจุรินทร์กล่าวถึงเรื่อง ชพค.5 ว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงสรุปมีอยู่ประเด็นหนึ่ง การบังคับทำประกันชีวิตอาจจะขัดกับประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปพ.) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอ คปพ.พิจารณา