ครม.อนุมัติพัฒนาคุณภาพโรงเรียนระดับเล็กทั้งประถม-มัธยม พร้อมอุดหนุนรายหัวเพิ่มขึ้น ประถม 2,400 บาท ม.ต้น 4,500 บาท ม.ปลาย 4,800 บาท เริ่ม พ.ค.ปีการศึกษา’53 เชื่อเพิ่มเงินรายหัวช่วยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเด็กดีขึ้น ONET เด็กพุ่ง
วันนี้ (27 ต.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบให้มีการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก 2ระดับ ได้แก่ระดับประถมศึกษา ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนจำนวน 13,880 แห่ง ระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายที่มีนักเรียนต่ำกว่า 300 คน จำนวน 437 แห่ง พร้อมได้อนุมัติให้เพิ่มค่าอุดหนุนรายหัวให้กับนักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ด้วย เนื่องมาจากผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้กับนักเรียนมากขึ้นจะช่วยทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รวมถึงการบริหารงานภายในโรงเรียนดีขึ้น โดยเฉพาะผลการทดสอบขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (ONET) ขณะเดียวกันยังช่วยให้โรงเรียนสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) อีกด้วย โดยผลการประเมินโรงเรียนระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 64% โรงเรียนขยายโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 57% โรงเรียนมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 94.95% รวมไปถึงจะทำให้เด็กที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ลดลงเหลือเพียง 0.3%
ทั้งนี้จะเพิ่มค่าอุดหนุนรายหัวให้กับโรงเรียนขนาดเล็กจากหัวละ 1,900 บาทเป็น 2,400 บาท และโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากหัวละ 3,500 บาทเป็น 4,500 บาท และโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากหัวละ 3,800 บาทเป็น 4,800 บาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนพฤษภาคม ปีการศึกษา 2553 นี้
นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า การอุดหนุนเงินรายหัวเพิ่มเติมจะช่วยพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กนอกจากโครงการต่อยอดการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนวังไกลกังวล และโครงการโรงเรียนดี 3 ระดับ โดยจะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปสำรวจว่ายังมีโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนใดที่ยังไม่มีโครงการสนับสนุนซ้ำซ้อน ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ 10,000 โรง เพื่อเสนอให้สำนักงบประมาณทราบเพื่อจัดงบประมาณให้ต่อไป
ด้าน นายรังสรรค์ มณีเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กต่ำกว่า120 คนจำนวน 979,275 คนและโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กจำนวน 90,864 คน ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 580 ล้านบาทหากจะเพิ่มเงินอุดหนุนให้นักเรียนเหล่านี้ทุกคน อย่างไรก็ตามสพฐ.จะต้องทำข้อมูลตัวเลขใหม่อีกครั้งหนึ่งว่าจะต้องใช้งบประมาณเท่าไรเนื่องจากเป็นโครงการที่สพฐ.ได้จัดทำข้อมูลไว้นานแล้ว
วันนี้ (27 ต.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบให้มีการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก 2ระดับ ได้แก่ระดับประถมศึกษา ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนจำนวน 13,880 แห่ง ระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายที่มีนักเรียนต่ำกว่า 300 คน จำนวน 437 แห่ง พร้อมได้อนุมัติให้เพิ่มค่าอุดหนุนรายหัวให้กับนักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ด้วย เนื่องมาจากผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้กับนักเรียนมากขึ้นจะช่วยทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รวมถึงการบริหารงานภายในโรงเรียนดีขึ้น โดยเฉพาะผลการทดสอบขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (ONET) ขณะเดียวกันยังช่วยให้โรงเรียนสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) อีกด้วย โดยผลการประเมินโรงเรียนระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 64% โรงเรียนขยายโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 57% โรงเรียนมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 94.95% รวมไปถึงจะทำให้เด็กที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ลดลงเหลือเพียง 0.3%
ทั้งนี้จะเพิ่มค่าอุดหนุนรายหัวให้กับโรงเรียนขนาดเล็กจากหัวละ 1,900 บาทเป็น 2,400 บาท และโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากหัวละ 3,500 บาทเป็น 4,500 บาท และโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากหัวละ 3,800 บาทเป็น 4,800 บาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนพฤษภาคม ปีการศึกษา 2553 นี้
นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า การอุดหนุนเงินรายหัวเพิ่มเติมจะช่วยพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กนอกจากโครงการต่อยอดการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนวังไกลกังวล และโครงการโรงเรียนดี 3 ระดับ โดยจะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปสำรวจว่ายังมีโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนใดที่ยังไม่มีโครงการสนับสนุนซ้ำซ้อน ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ 10,000 โรง เพื่อเสนอให้สำนักงบประมาณทราบเพื่อจัดงบประมาณให้ต่อไป
ด้าน นายรังสรรค์ มณีเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กต่ำกว่า120 คนจำนวน 979,275 คนและโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กจำนวน 90,864 คน ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 580 ล้านบาทหากจะเพิ่มเงินอุดหนุนให้นักเรียนเหล่านี้ทุกคน อย่างไรก็ตามสพฐ.จะต้องทำข้อมูลตัวเลขใหม่อีกครั้งหนึ่งว่าจะต้องใช้งบประมาณเท่าไรเนื่องจากเป็นโครงการที่สพฐ.ได้จัดทำข้อมูลไว้นานแล้ว