กทม.เตรียมบังคับใช้กฎหมายที่ดินกับเจ้าของที่ปล่อยให้ที่รกร้างเป็นแหล่งก่ออาชญากรรมพร้อมยึดเป็นของหลวงหากปล่อยนานเกิน 10 ปี เผยพบจุดเสี่ยงถึง 145 แห่งในเมืองกรุง เตรียมติด CCTV 3 พันตัว สร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์เมืองร่วมดูแลความปลอดภัย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม.เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยของประชาชน สืบเนื่องจากเหตุการณ์คนร้ายก่อเหตุฆ่าชิงทรัพย์บริเวณป้ายรถประจำทาง ตรงข้ามวัดศรีบุญเรือง ถ.รามคำแหง 64 หลังเกิดเหตุได้สั่งการให้ทุกเขตสำรวจพื้นที่เสี่ยง โดยพบว่าในพื้นที่ 40 สำนักงานเขตรอบนอก มีจุดเสี่ยงถึง 145 แห่ง ซึ่งทางเขตได้เข้าดำเนินการแก้ไขแล้ว
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาพื้นที่รกร้างของเอกชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรม โดย กทม.จะนำกฎหมายที่ดิน มาตรา 6 ปี 2515 มาบังคับใช้กับเจ้าของที่ดิน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวระบุว่าหากเจ้าของที่ดินใดไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้รกร้างเป็นเวลาเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจเสนอให้ศาลพิจารณายึดที่ดินเป็นของหลวง แต่ในเบื้องต้นทาง กทม.จะขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินให้ปรับการติดตั้งรั้วให้โปร่ง จากเดิมที่ปิดทึบ พร้อมทั้งถางหญ้า ทำความสะอาดให้เรียบร้อย หากไม่ดำเนินการ กทม.จะใช้ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดปรับเงินกับเจ้าของที่ดิน และจะติดตั้งรั้วให้พร้อมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในภายหลัง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.จะเร่งติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างจำนวน 5,000 จุด และกล้องวงจรปิดซึ่งปีนี้จะจัดซื้อจำนวน 3,000 ตัว โดยจะติดตั้งในจุดเปลี่ยว ในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ พร้อมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์เมืองสนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยให้ประชาชน เบื้องต้นตั้งเป้าอาสาสมัครให้ได้ 10,000 คน ก่อนขยายเครือข่ายเพิ่มเป็น 150,000 คนต่อไป อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ กทม.ยกร่างระเบียบการจัดตั้งอาสาสมัครฯ กทม. จะประสานความร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อหามาตรการดูแลความปลอดภัยชีวิตของคนกรุงเทพฯ เนื่องจากว่า กทม.ไม่มีอำนาจดำเนินการจับกุม หรือดำเนินคดีกับกลุ่มมิจฉาชีพ ส่วนจะหารือเมื่อใดนั้น คงต้องให้ทาง บช.น.ประสานมายัง กทม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม.เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยของประชาชน สืบเนื่องจากเหตุการณ์คนร้ายก่อเหตุฆ่าชิงทรัพย์บริเวณป้ายรถประจำทาง ตรงข้ามวัดศรีบุญเรือง ถ.รามคำแหง 64 หลังเกิดเหตุได้สั่งการให้ทุกเขตสำรวจพื้นที่เสี่ยง โดยพบว่าในพื้นที่ 40 สำนักงานเขตรอบนอก มีจุดเสี่ยงถึง 145 แห่ง ซึ่งทางเขตได้เข้าดำเนินการแก้ไขแล้ว
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาพื้นที่รกร้างของเอกชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรม โดย กทม.จะนำกฎหมายที่ดิน มาตรา 6 ปี 2515 มาบังคับใช้กับเจ้าของที่ดิน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวระบุว่าหากเจ้าของที่ดินใดไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้รกร้างเป็นเวลาเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจเสนอให้ศาลพิจารณายึดที่ดินเป็นของหลวง แต่ในเบื้องต้นทาง กทม.จะขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินให้ปรับการติดตั้งรั้วให้โปร่ง จากเดิมที่ปิดทึบ พร้อมทั้งถางหญ้า ทำความสะอาดให้เรียบร้อย หากไม่ดำเนินการ กทม.จะใช้ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดปรับเงินกับเจ้าของที่ดิน และจะติดตั้งรั้วให้พร้อมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในภายหลัง
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.จะเร่งติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างจำนวน 5,000 จุด และกล้องวงจรปิดซึ่งปีนี้จะจัดซื้อจำนวน 3,000 ตัว โดยจะติดตั้งในจุดเปลี่ยว ในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ พร้อมสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์เมืองสนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยให้ประชาชน เบื้องต้นตั้งเป้าอาสาสมัครให้ได้ 10,000 คน ก่อนขยายเครือข่ายเพิ่มเป็น 150,000 คนต่อไป อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ กทม.ยกร่างระเบียบการจัดตั้งอาสาสมัครฯ กทม. จะประสานความร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อหามาตรการดูแลความปลอดภัยชีวิตของคนกรุงเทพฯ เนื่องจากว่า กทม.ไม่มีอำนาจดำเนินการจับกุม หรือดำเนินคดีกับกลุ่มมิจฉาชีพ ส่วนจะหารือเมื่อใดนั้น คงต้องให้ทาง บช.น.ประสานมายัง กทม.