“กรมศิลป์” ลุยทำ MOU รอบทิศ ดึง “ก.อุตสาหกรรม-ก.วิทย์” ช่วยทำฐานข้อมูลเอกลักษณ์ไทย เรียก ก.แรงงาน ช่วยเทรนฝีมือผู้ประกอบการ สวนสุนันทา ทำหลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์ หวังดันสินค้าไทยขึ้นเวทีการค้าสากล เตรียมชวน ก.พาณิชย์ หนุนการส่งออกเพิ่ม
วันนี้ (23 ก.ย.) ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน “ครีเอทีฟ ไฟน์ อาร์ท 2009 : เศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรม” โดยกล่าวว่า กรมศิลปากร ได้เริ่มดำเนินโครงการดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย อีกทั้งเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สืบทอด และสามารถต่อยอดวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ ครีเอทีฟไทยแลนด์ของรัฐบาล โดยเบื้องต้นกรมศิลปากรได้ลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ และลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อให้มีการจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ พร้อมกันนี้ ได้เตรียมลงนามความร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการทำฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล และเตรียมการลงนามความร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะฝีมือการผลิตผลิตภัณฑ์
“อยากให้ประชาชนสร้างผลิตภัณฑ์โดยมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย โดยจะเริ่มจากการเข้าไปบอกว่า เอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทยได้แก่อะไร มีลวดลายอย่างไร และสามารถสร้างสรรค์อะไรได้บ้าง เพื่อให้คิดต่อยอดให้เกิดเป็นการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ที่เป็นสากลแต่มีเอกลักษณ์ไทย จากนั้นเราก็จะร่วมกันกับกระทรวงต่างๆ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มันสูงขึ้นและในเชิงพาณิชย์ก็จะส่งเสริมเต็มที่เพื่อให้เกิดการจำหน่ายหรือส่งออกโดยอาจลงนามร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ต่อไป” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
วันนี้ (23 ก.ย.) ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน “ครีเอทีฟ ไฟน์ อาร์ท 2009 : เศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรม” โดยกล่าวว่า กรมศิลปากร ได้เริ่มดำเนินโครงการดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย อีกทั้งเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สืบทอด และสามารถต่อยอดวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ ครีเอทีฟไทยแลนด์ของรัฐบาล โดยเบื้องต้นกรมศิลปากรได้ลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ และลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อให้มีการจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ พร้อมกันนี้ ได้เตรียมลงนามความร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการทำฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล และเตรียมการลงนามความร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะฝีมือการผลิตผลิตภัณฑ์
“อยากให้ประชาชนสร้างผลิตภัณฑ์โดยมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย โดยจะเริ่มจากการเข้าไปบอกว่า เอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทยได้แก่อะไร มีลวดลายอย่างไร และสามารถสร้างสรรค์อะไรได้บ้าง เพื่อให้คิดต่อยอดให้เกิดเป็นการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ที่เป็นสากลแต่มีเอกลักษณ์ไทย จากนั้นเราก็จะร่วมกันกับกระทรวงต่างๆ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มันสูงขึ้นและในเชิงพาณิชย์ก็จะส่งเสริมเต็มที่เพื่อให้เกิดการจำหน่ายหรือส่งออกโดยอาจลงนามร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ต่อไป” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว