“จุรินทร์” รับคนไทยอ่านหนังสือน้อย เผยสถิติตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไปอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียน ทำงาน เพียง 39 นาที/วัน อ่านหนังสือเพียง 5 เล่ม/ปี เร่งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 3 ข้อ หวัง 2 ปี เพิ่มยอดคนอ่านเท่าตัว พร้อมสั่งห้องสมุดโรงเรียน หอสมุดประชาชน ทั่วประเทศ จัดหนังสือดีน่าอ่านตามพระราชวิจารณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 6 เล่ม เพื่อเด็ก เยาวชน ประชาชน เข้าถึงการอ่าน
วันนี้ (14 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นฮอลล์ เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานมหกรรมนวัตกรรมการอ่านเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยใช้ชื่องานว่า “รักการอ่าน เทิดมหาราชินิ” โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานว่า การอ่านช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของตนเองให้เกิดขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้เคยศึกษาไว้พบว่า ร้อยละ 80-90 ของความรู้ ข้อมูล ที่มนุษย์ต้องการหาได้จากการอ่านทั้งสิ้น และที่ต้องยอมรับว่าขณะนี้สถานการณ์การอ่านของคนไทยยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่ 2 ประการคือ 1.จากผลการสำรวจเรื่องนิสัยรักการอ่านของคนไทยในปี 2551 โดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติพบว่า คนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือที่ไม่ใช่ในช่วงของเวลาเรียน และการทำงาน เฉลี่ยที่ 39 นาที/วัน และคนไทยอ่านหนังสือเพียงแค่ 5 เล่ม/ปี เท่านั้น
2. สถาบันส่งเสริมการอ่านในหน่วยงานต่างๆ ยังขาดเอกภาพในการทำงานที่จะเป็นจุดเชื่อมการอ่านโดยภาพรวมของประเทศ ดังนั้นจึงมีการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านขึ้น โดยตนเป็นประธาน จนในที่สุดจากมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมานี้ ได้กำหนดให้ 1.การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ 2.ให้วันที่ 2 เม.ย.ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นวันรักการอ่าน 3.กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ทั้งนี้ได้มอบให้คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเร่งผลักดันส่งเสริมการอ่านให้มีผลตามมติครม.ต่อไป
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับหนังสือน่าอ่าน 6 เรื่องสำหรับเด็ก และเยาวชนไทย ตามพระราชวิจารณ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ ที่ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานมายังกระทรวงศึกษาธิการ อันประกอบไปด้วย พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน และกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร) นั้น ศธ.จะมอบให้ห้องสมุดในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องสมุด 3 ดี และขอความร่วมมือไปยังหอสมุดประชาชนทั่วประเทศ จัดหาหนังสือดังกล่าวมาเผยแพร่ให้แก่เยาวชน และประชาชนทุกคนได้อ่าน
“ภายในปีถึง 2 ปี นี้ต้องทำให้คนไทยอ่านหนังสือให้มากขึ้นเพิ่มจากผลสำรวจเดิมที่คนไทยอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อปี ให้เพิ่มขึ้น 1 เท่า เป็น 10 เล่มต่อปี โดยได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 3 ข้อในการส่งเสริมการอ่าน คือ 1.เพิ่มขีดความสามารถการอ่าน อ่านอย่างเข้าใจ 2.สร้างนิสัยรักการอ่าน 3.สร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน ซึ่งเมื่อทำครบทั้ง 3 ยุทธศาสตร์นี้เชื่อว่าจะช่วยให้การอ่านของคนไทยเกิดขึ้นได้” รมว.ศธ.กล่าว
วันนี้ (14 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นฮอลล์ เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานมหกรรมนวัตกรรมการอ่านเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยใช้ชื่องานว่า “รักการอ่าน เทิดมหาราชินิ” โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานว่า การอ่านช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของตนเองให้เกิดขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้เคยศึกษาไว้พบว่า ร้อยละ 80-90 ของความรู้ ข้อมูล ที่มนุษย์ต้องการหาได้จากการอ่านทั้งสิ้น และที่ต้องยอมรับว่าขณะนี้สถานการณ์การอ่านของคนไทยยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่ 2 ประการคือ 1.จากผลการสำรวจเรื่องนิสัยรักการอ่านของคนไทยในปี 2551 โดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติพบว่า คนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือที่ไม่ใช่ในช่วงของเวลาเรียน และการทำงาน เฉลี่ยที่ 39 นาที/วัน และคนไทยอ่านหนังสือเพียงแค่ 5 เล่ม/ปี เท่านั้น
2. สถาบันส่งเสริมการอ่านในหน่วยงานต่างๆ ยังขาดเอกภาพในการทำงานที่จะเป็นจุดเชื่อมการอ่านโดยภาพรวมของประเทศ ดังนั้นจึงมีการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านขึ้น โดยตนเป็นประธาน จนในที่สุดจากมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมานี้ ได้กำหนดให้ 1.การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ 2.ให้วันที่ 2 เม.ย.ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นวันรักการอ่าน 3.กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ทั้งนี้ได้มอบให้คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเร่งผลักดันส่งเสริมการอ่านให้มีผลตามมติครม.ต่อไป
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับหนังสือน่าอ่าน 6 เรื่องสำหรับเด็ก และเยาวชนไทย ตามพระราชวิจารณ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ ที่ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานมายังกระทรวงศึกษาธิการ อันประกอบไปด้วย พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน และกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร) นั้น ศธ.จะมอบให้ห้องสมุดในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องสมุด 3 ดี และขอความร่วมมือไปยังหอสมุดประชาชนทั่วประเทศ จัดหาหนังสือดังกล่าวมาเผยแพร่ให้แก่เยาวชน และประชาชนทุกคนได้อ่าน
“ภายในปีถึง 2 ปี นี้ต้องทำให้คนไทยอ่านหนังสือให้มากขึ้นเพิ่มจากผลสำรวจเดิมที่คนไทยอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อปี ให้เพิ่มขึ้น 1 เท่า เป็น 10 เล่มต่อปี โดยได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 3 ข้อในการส่งเสริมการอ่าน คือ 1.เพิ่มขีดความสามารถการอ่าน อ่านอย่างเข้าใจ 2.สร้างนิสัยรักการอ่าน 3.สร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน ซึ่งเมื่อทำครบทั้ง 3 ยุทธศาสตร์นี้เชื่อว่าจะช่วยให้การอ่านของคนไทยเกิดขึ้นได้” รมว.ศธ.กล่าว