รอง ผอ.รพ.จุฬาฯ พร้อมคณะแพทย์แถลงกรณีรับดญ.วัย 9 ขวบซึ่งส่งตัวจากโรงพยาบาลพระราม 2 จากเหตุการณ์เม็ดเงาะติดหลอดลม โดยนำตัวเข้าห้องผ่าตัด เพื่อส่องกล้องและคีบเม็ดเงาะออกมา ขณะนี้อาการปลอดภัยแล้ว พร้อมแนะผู้ปกครองหากเจอเหตุการณ์เช่นนี้ให้กระแทกหน้าและตบหลังสลับกันไป เพื่อให้เด็กไอเอาวัตถุแปลกปลอมออกมา
รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทย์ แถลงถึงการรักษา ด.ญ.พรรษา สารสิงห์ อายุ 9 ขวบ ซึ่งส่งตัวต่อมาจากโรงพยาบาลพระราม 2 เมื่อคืนที่ผ่านมา ด้วยอาการเม็ดผลไม้ติดที่บริเวณหลอดลมของปอดตรงปีกด้านซ้ายและไม่สามารถนำออกมาได้ โดยคณะแพทย์ได้นำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด ส่องกล้องและคีบเอาเม็ดผลไม้ออกมา พบว่าเป็นเม็ดของเงาะ และใช้เครื่องช่วยหายใจสนับสนุนการหายใจ
ขณะที่สัญญาณชีพของเด็กเป็นปกติดี ช่วงเช้าเด็กมีอาการดีขึ้นมาก สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้แล้ว แต่ยังคงงดน้ำและอาหาร ประมาณอีก 1-2 วันจะออกจากห้องไอซียู เด็กรู้สึกตัวดี พูดคุยได้ คณะแพทย์ยังได้แนะนำผู้ปกครองว่า หากลูกหลานมีวัตถุแปลกปลอมติดคอ ให้ใช้วิธีตบหลัง กระแทกหน้าอก สลับกันไป เพื่อให้เด็กเกิดภาวะไอและให้วัตถุแปลกปลอมหลุดออกมาได้ แต่ไม่แนะนำให้เอามือควานลงไปในปากโดยยังมองไม่เห็นวัตถุแปลกปลอมนั้น เพราะยิ่งจะทำเป็นการดันให้วัตถุนั้นลงลึก และอันตรายยิ่งขึ้น
รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทย์ แถลงถึงการรักษา ด.ญ.พรรษา สารสิงห์ อายุ 9 ขวบ ซึ่งส่งตัวต่อมาจากโรงพยาบาลพระราม 2 เมื่อคืนที่ผ่านมา ด้วยอาการเม็ดผลไม้ติดที่บริเวณหลอดลมของปอดตรงปีกด้านซ้ายและไม่สามารถนำออกมาได้ โดยคณะแพทย์ได้นำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด ส่องกล้องและคีบเอาเม็ดผลไม้ออกมา พบว่าเป็นเม็ดของเงาะ และใช้เครื่องช่วยหายใจสนับสนุนการหายใจ
ขณะที่สัญญาณชีพของเด็กเป็นปกติดี ช่วงเช้าเด็กมีอาการดีขึ้นมาก สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้แล้ว แต่ยังคงงดน้ำและอาหาร ประมาณอีก 1-2 วันจะออกจากห้องไอซียู เด็กรู้สึกตัวดี พูดคุยได้ คณะแพทย์ยังได้แนะนำผู้ปกครองว่า หากลูกหลานมีวัตถุแปลกปลอมติดคอ ให้ใช้วิธีตบหลัง กระแทกหน้าอก สลับกันไป เพื่อให้เด็กเกิดภาวะไอและให้วัตถุแปลกปลอมหลุดออกมาได้ แต่ไม่แนะนำให้เอามือควานลงไปในปากโดยยังมองไม่เห็นวัตถุแปลกปลอมนั้น เพราะยิ่งจะทำเป็นการดันให้วัตถุนั้นลงลึก และอันตรายยิ่งขึ้น