ยกย่องครูนราฯ เจ๋งแต่งเพลง 3 ภาษา ไทย-อังกฤษ-มลายู ใส่ทำนองพื้นบ้าน “ลิเกฮูลู” สอนเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้ เผย ช่วยการเรียนการสอนภาษาไทยดีขึ้น
นายศักดิ์ แวววิริยะ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.นนทบุรี กล่าวภายหลังนำนักเรียนคลีนิกหมอภาษามาร่วมกิจกรรมในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ที่กระทรวงวัฒนธรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 ก.ค.ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ว่า จากการที่มูลนิธิเพชรภาษาได้มอบหมายให้ตน เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการเพชรภาษาสัญจร อบรมเชิงปฏิบัติการครูภาษาไทย 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยครั้งแรกได้จัดที่จังหวัดนราธิวาส โดยร่วมกับกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนราธิวาส เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส 3 เขต
ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี การอบรมแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ การแต่งเพลงประกอบการเรียนการสอน และการสร้างสื่อ E-Learning เป็น Webpage ด้วยโปรแกรม Online Learning Editor มีครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจากโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนในฝัน ร่วมกับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 70 คนเข้ารับการอบรม ให้ครูได้ลงมือปฏิบัติในการสร้างผลงานด้วยตนเอง จากนั้นนำเสนอให้กับเพื่อนครูที่ประชุมเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
นายศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ในการอบรมการแต่งเพลงนั้นได้จัดทำดนตรีสำเร็จรูป ซึ่งนำท่วงทำนองการร้องประกอบการแสดงดิเกฮูลู และระบำตาลีกีปัต ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของ 3 จังหวัด จัดทำเป็นดนตรีที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ แล้วนำไปใช้ในการอบรมครั้งนี้ ผลจากการจัดการอบรมดังกล่าว ครูได้ฝึกปฏิบัติการแต่งเพลง ทำให้ได้เพลงประกอบการเรียนการสอนที่สามารถนำไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังพัฒนาไปสู่การบูรณาการร่วมกันของกลุ่มสาระศิลปศึกษา นั่นคือ การนำเสนอในรูปแบบการแสดงแบบพื้นบ้าน ซึ่งครูผู้เข้ารับการอบรมได้แต่งเพลงขึ้น อาทิ เพลง สระ อา อี อู เพลงสระโอ เพลงคำในภาษาไทย เพลงโคลงสี่สุภาพ เพลงประโยคสามส่วน เพลงคำพังเพย เพลงวอนรักคำซ้ำ เพลงเลขยกกำลัง ที่สำคัญในการอบรมครั้งนี้มีคุณครูชื่อ อาลีย๊ะ โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ มีสามารถบูรณาการภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษามาลายูเข้าไว้ด้วยกันในเพลงเดียวสอนเรื่องจำนวน (Number) โดยใช้ท่วงทำนองของการแสดงพื้นบ้าน ดิเกฮูลู ถ่ายทอดเนื้อหาที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้
“เพลงนี้ชื่อเพลงจำนวนนับ มีเนื้อหา 3 ภาษา เช่น One คือ หนึ่ง มลายู ว่า Satu Two คือ สอง มลายูว่า Dwa Three คือ สาม มลายูว่า Tiga Four คือ สี่ มาลายูว่า Ampat Five คือ ห้า มาลายู กาตอ lima เป็นต้น เพลงต่างๆ ที่เกิดจากการอบรม ครั้งนี้จะเกิดประโยชน์แก่ครูใน 3 จังหวัดมาก เพราะผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นครูที่อยู่ในท้องที่ที่จะรู้ว่าลูกศิษย์ของตนมีความรู้ในระดับใหน ควรจะนำเนื้อหาส่วนใดมานำเสนอ รวมทั้งตัวอย่างที่สามารถยกให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในท้องถิ่นของตน ทำให้การสอนภาษาไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”นายศักดิ์ กล่าว
นายศักดิ์ แวววิริยะ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.นนทบุรี กล่าวภายหลังนำนักเรียนคลีนิกหมอภาษามาร่วมกิจกรรมในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ที่กระทรวงวัฒนธรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 ก.ค.ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ว่า จากการที่มูลนิธิเพชรภาษาได้มอบหมายให้ตน เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการเพชรภาษาสัญจร อบรมเชิงปฏิบัติการครูภาษาไทย 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยครั้งแรกได้จัดที่จังหวัดนราธิวาส โดยร่วมกับกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนราธิวาส เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส 3 เขต
ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี การอบรมแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ การแต่งเพลงประกอบการเรียนการสอน และการสร้างสื่อ E-Learning เป็น Webpage ด้วยโปรแกรม Online Learning Editor มีครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจากโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนในฝัน ร่วมกับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 70 คนเข้ารับการอบรม ให้ครูได้ลงมือปฏิบัติในการสร้างผลงานด้วยตนเอง จากนั้นนำเสนอให้กับเพื่อนครูที่ประชุมเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
นายศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ในการอบรมการแต่งเพลงนั้นได้จัดทำดนตรีสำเร็จรูป ซึ่งนำท่วงทำนองการร้องประกอบการแสดงดิเกฮูลู และระบำตาลีกีปัต ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของ 3 จังหวัด จัดทำเป็นดนตรีที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ แล้วนำไปใช้ในการอบรมครั้งนี้ ผลจากการจัดการอบรมดังกล่าว ครูได้ฝึกปฏิบัติการแต่งเพลง ทำให้ได้เพลงประกอบการเรียนการสอนที่สามารถนำไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังพัฒนาไปสู่การบูรณาการร่วมกันของกลุ่มสาระศิลปศึกษา นั่นคือ การนำเสนอในรูปแบบการแสดงแบบพื้นบ้าน ซึ่งครูผู้เข้ารับการอบรมได้แต่งเพลงขึ้น อาทิ เพลง สระ อา อี อู เพลงสระโอ เพลงคำในภาษาไทย เพลงโคลงสี่สุภาพ เพลงประโยคสามส่วน เพลงคำพังเพย เพลงวอนรักคำซ้ำ เพลงเลขยกกำลัง ที่สำคัญในการอบรมครั้งนี้มีคุณครูชื่อ อาลีย๊ะ โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ มีสามารถบูรณาการภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษามาลายูเข้าไว้ด้วยกันในเพลงเดียวสอนเรื่องจำนวน (Number) โดยใช้ท่วงทำนองของการแสดงพื้นบ้าน ดิเกฮูลู ถ่ายทอดเนื้อหาที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้
“เพลงนี้ชื่อเพลงจำนวนนับ มีเนื้อหา 3 ภาษา เช่น One คือ หนึ่ง มลายู ว่า Satu Two คือ สอง มลายูว่า Dwa Three คือ สาม มลายูว่า Tiga Four คือ สี่ มาลายูว่า Ampat Five คือ ห้า มาลายู กาตอ lima เป็นต้น เพลงต่างๆ ที่เกิดจากการอบรม ครั้งนี้จะเกิดประโยชน์แก่ครูใน 3 จังหวัดมาก เพราะผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นครูที่อยู่ในท้องที่ที่จะรู้ว่าลูกศิษย์ของตนมีความรู้ในระดับใหน ควรจะนำเนื้อหาส่วนใดมานำเสนอ รวมทั้งตัวอย่างที่สามารถยกให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในท้องถิ่นของตน ทำให้การสอนภาษาไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”นายศักดิ์ กล่าว