รมช.สธ.เดินสายมอบนโยบาย อสม.โคราช รับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ลดการเสียชีวิต ซึ่ง อสม.เริ่มปฏิบัติการพร้อมกันทั่วไทย 27 กรกฎาคมนี้ จะออกค้นหาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในหมู่บ้าน ทุกวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ พร้อมแจกเอกสารคำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค หากพบป่วยให้รีบพบแพทย์ทันที
ที่จังหวัดนครราชสีมา วันนี้ (26 ก.ค.) นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปเปิดการรณรงค์รู้ทันเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 และมอบนโยบาย อสม. ในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ลดการเสียชีวิต ที่โรงเรียนชุมชนประทาย อำเภอประทาย หอประชุมอำเภอโนนแดง อำเภอโนนแดง และโรงยิมเนเซียม เทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง โดย อสม.จะออกปฏิบัติงานพร้อมกันทั่วประเทศ พรุ่งนี้ (27 ก.ค.) เป็นต้นไป
นายมานิตกล่าวว่า เพื่อสนองนโยบายของ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ อสม.กว่า 980,000 คนทั่วประเทศ เข้ามาเป็นกำลังเสริมในการคัดกรองผู้ป่วยในหมู่บ้าน/ชุมชน โดย อสม.จะออกเยี่ยมบ้านในความรับผิดชอบ 10-15 หลังคาเรือน สัปดาห์ละ 3 วัน ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัด โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด หัวใจ เบาหวาน ไต ผู้ที่อ้วน ผู้สูงอายุมากว่า 65 ปี เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ตามคู่มือของกระทรวงสาธารณสุข หากพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรง จะแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันทีพร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ส่วน อสม.จะติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ
สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ขณะนี้ได้แพร่ระบาดกระจายทั่วประเทศ และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สธ.มีมาตรการควบคุมการระบาด โดยการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ด้วยการล้างมือบ่อยๆ ใช้หน้ากากอนามัยเมื่อป่วยโรคทางเดินหายใจหรือต้องอยู่ในที่ชุมนุมชน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และมาตรการการรักษา ต้องรักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็วเพื่อลดการเสียชีวิตให้น้อยที่สุด โดยได้จัดทำคู่มือรักษาพยาบาลสำหรับแพทย์ทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน เน้นให้การรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงอาการรุนแรงเมื่อป่วย หรือผู้ที่ป่วยแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง
เนื่องจากพบสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ประเด็น คือ พบผู้ป่วยกว่าร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด เป็นผู้มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงเมื่อป่วย ได้แก่ เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง อีกสาเหตุหนึ่งคือ เมื่อป่วยแล้วมาพบแพทย์ช้าเกินไป ทำให้โรคลุกลามไปมากจนไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้น นโยบายระดมพลัง อสม.ทั่วประเทศ ออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำการป้องกันโรค และค้นหาผู้ป่วยในหมู่บ้านและชุมชนที่เป็นไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว ซึ่งหากป่วยจะต้องให้พบแพทย์ทันที มั่นใจว่ามาตรการนี้จะสามารถลดการเสียชีวิตได้ นายมานิต
ที่จังหวัดนครราชสีมา วันนี้ (26 ก.ค.) นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปเปิดการรณรงค์รู้ทันเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 และมอบนโยบาย อสม. ในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ลดการเสียชีวิต ที่โรงเรียนชุมชนประทาย อำเภอประทาย หอประชุมอำเภอโนนแดง อำเภอโนนแดง และโรงยิมเนเซียม เทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง โดย อสม.จะออกปฏิบัติงานพร้อมกันทั่วประเทศ พรุ่งนี้ (27 ก.ค.) เป็นต้นไป
นายมานิตกล่าวว่า เพื่อสนองนโยบายของ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ อสม.กว่า 980,000 คนทั่วประเทศ เข้ามาเป็นกำลังเสริมในการคัดกรองผู้ป่วยในหมู่บ้าน/ชุมชน โดย อสม.จะออกเยี่ยมบ้านในความรับผิดชอบ 10-15 หลังคาเรือน สัปดาห์ละ 3 วัน ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัด โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด หัวใจ เบาหวาน ไต ผู้ที่อ้วน ผู้สูงอายุมากว่า 65 ปี เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ตามคู่มือของกระทรวงสาธารณสุข หากพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรง จะแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันทีพร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ส่วน อสม.จะติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ
สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ขณะนี้ได้แพร่ระบาดกระจายทั่วประเทศ และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สธ.มีมาตรการควบคุมการระบาด โดยการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ด้วยการล้างมือบ่อยๆ ใช้หน้ากากอนามัยเมื่อป่วยโรคทางเดินหายใจหรือต้องอยู่ในที่ชุมนุมชน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และมาตรการการรักษา ต้องรักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็วเพื่อลดการเสียชีวิตให้น้อยที่สุด โดยได้จัดทำคู่มือรักษาพยาบาลสำหรับแพทย์ทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน เน้นให้การรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงอาการรุนแรงเมื่อป่วย หรือผู้ที่ป่วยแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง
เนื่องจากพบสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ประเด็น คือ พบผู้ป่วยกว่าร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด เป็นผู้มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงเมื่อป่วย ได้แก่ เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง อีกสาเหตุหนึ่งคือ เมื่อป่วยแล้วมาพบแพทย์ช้าเกินไป ทำให้โรคลุกลามไปมากจนไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้น นโยบายระดมพลัง อสม.ทั่วประเทศ ออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำการป้องกันโรค และค้นหาผู้ป่วยในหมู่บ้านและชุมชนที่เป็นไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว ซึ่งหากป่วยจะต้องให้พบแพทย์ทันที มั่นใจว่ามาตรการนี้จะสามารถลดการเสียชีวิตได้ นายมานิต