ภญ.วิมล อนันต์สกุลวัฒน์ เภสัชกรฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช ใจดีแนะกลเม็ดเคล็ดไม่ลับในการเลือกซื้อเครื่องสำอางว่า ก่อนอื่นต้องดูเลยว่าเป็นเครื่องสำอางเถื่อนหรือไม่ หากดูแล้วว่าไม่มีการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ อย่าซื้อเด็ดขาด เนื่องจากเครื่องสำอางเถื่อนเหล่านี้จะผสมสารต้องห้ามที่มีพิษต่อร่างกาย
ถัดมาให้ดูวันหมดอายุ และเครื่องหมายรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ จากนั้นก็มาดูส่วนผสม ซึ่งจะบอกได้ว่าในเครื่องสำอางที่เรากำลังจะควักเงินซื้อนั้น มีส่วนผสมที่เราแพ้หรือไม่ อีกส่วนที่ควรใส่ใจก็คือ ชื่อบริษัทผู้ผลิต ที่อยู่ หรือบริษัทผู้นำเข้า ในกรณีที่เกิดอันตรายจากเครื่องสำอางนั้น จะได้โทรไปสอบถามหรือร้องเรียนผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าได้
“สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ไม่ค่อยมีใครเห็นความสำคัญนักก็คือการอ่านฉลากวิธีใช้ ว่าควรใช้ในปริมาณเท่าใด กี่ครั้งต่อวัน ใช้ที่จุดไหนของร่างกาย เพื่อให้ใช้ได้ถูกต้อง ส่วนคนที่แพ้ง่ายแนะนำว่า ควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ซึ่งเครื่องสำอางหลายยี่ห้อจากต่างประเทศ จะมีระบุชัดอยู่ในบรรจุภัณฑ์ว่า “Alcohol Free” แปลว่าในเครื่องสำอางชิ้นนั้นปราศจากแอลกอฮฮล์ แต่เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีแจ้งแบบนี้”
ได้แนะวิธีการทดสอบการแพ้เครื่องสำอางด้วยตัวเองง่ายๆ ว่า มีเครื่องสำอางหลายประเภทที่แม้จะเป็นยี่ห้อดี ยี่ห้อดัง มีตรารับรองมาตรฐาน แต่ดันไม่ถูกกับผิวของเราเสียนี่ เหตุผลก็เพราะเป็นที่ผิวของเราที่มีปฏิกิริยาไวต่อสารเคมีเป็นพิเศษนั่นเอง แต่ใครจะแพ้อะไรนั้น เป็นเรื่องของใครของมัน ต้องทดสอบด้วยตนเอง และเมื่อทราบว่าแพ้แล้วก็ต้องจำเอาไว้ว่าตัวเองแพ้อะไร คราวหน้าก่อนซื้อจะได้อ่านฉลากดูส่วนผสมให้มั่นใจเสียก่อนว่าไม่มีสารที่เราแพ้ก่อนจะควักกระเป๋าซื้อมา
ส่วนผู้ที่ผิวแพ้ง่ายหรือกลัวจะแพ้เครื่องสำอางที่อยากซื้อ เภสัชกรหญิงแห่ง รพ.ศิริราช ก็มีวิธีง่ายๆ ที่ทำได้ไม่ยากและเป็นวิธีที่ถูกต้องมาฝาก ก็คือให้ นำเครื่องสำอางที่ต้องการจะซื้อ มาป้าย ฉีด ยา หรือทา ลงบริเวณผิวเนื้ออ่อนๆ อย่างหลังใบหูหรือท้องแขน
“เคล็ดลับอยู่ที่ ใช่ว่าเทสต์ปุ๊บจะขึ้นปั๊บ เพราะอาการแพ้อย่างน้อยที่สุดจะต้องใช้เวลา 20-30 นาที ผิวหนังบริเวณนั้นจึงจะมีปฏิกิริยา เช่น เกิดรอยแดง ผื่น หรือรู้สึกระคายเคืองดังนั้นหากจะเทสต์จริงๆ ไปขอเทสต์ก่อน จากนั้นไปเดินดูของอื่นๆ จนจะกลับ หากผิวไม่แพ้จึงค่อยกลับไปซื้อ ทิ้งระยะให้สารเคมีทำปฏิกิริยาสักนิดนะคะ” ภญ.วิมลทิ้งท้าย
ถัดมาให้ดูวันหมดอายุ และเครื่องหมายรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ จากนั้นก็มาดูส่วนผสม ซึ่งจะบอกได้ว่าในเครื่องสำอางที่เรากำลังจะควักเงินซื้อนั้น มีส่วนผสมที่เราแพ้หรือไม่ อีกส่วนที่ควรใส่ใจก็คือ ชื่อบริษัทผู้ผลิต ที่อยู่ หรือบริษัทผู้นำเข้า ในกรณีที่เกิดอันตรายจากเครื่องสำอางนั้น จะได้โทรไปสอบถามหรือร้องเรียนผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าได้
“สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ไม่ค่อยมีใครเห็นความสำคัญนักก็คือการอ่านฉลากวิธีใช้ ว่าควรใช้ในปริมาณเท่าใด กี่ครั้งต่อวัน ใช้ที่จุดไหนของร่างกาย เพื่อให้ใช้ได้ถูกต้อง ส่วนคนที่แพ้ง่ายแนะนำว่า ควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ซึ่งเครื่องสำอางหลายยี่ห้อจากต่างประเทศ จะมีระบุชัดอยู่ในบรรจุภัณฑ์ว่า “Alcohol Free” แปลว่าในเครื่องสำอางชิ้นนั้นปราศจากแอลกอฮฮล์ แต่เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีแจ้งแบบนี้”
ได้แนะวิธีการทดสอบการแพ้เครื่องสำอางด้วยตัวเองง่ายๆ ว่า มีเครื่องสำอางหลายประเภทที่แม้จะเป็นยี่ห้อดี ยี่ห้อดัง มีตรารับรองมาตรฐาน แต่ดันไม่ถูกกับผิวของเราเสียนี่ เหตุผลก็เพราะเป็นที่ผิวของเราที่มีปฏิกิริยาไวต่อสารเคมีเป็นพิเศษนั่นเอง แต่ใครจะแพ้อะไรนั้น เป็นเรื่องของใครของมัน ต้องทดสอบด้วยตนเอง และเมื่อทราบว่าแพ้แล้วก็ต้องจำเอาไว้ว่าตัวเองแพ้อะไร คราวหน้าก่อนซื้อจะได้อ่านฉลากดูส่วนผสมให้มั่นใจเสียก่อนว่าไม่มีสารที่เราแพ้ก่อนจะควักกระเป๋าซื้อมา
ส่วนผู้ที่ผิวแพ้ง่ายหรือกลัวจะแพ้เครื่องสำอางที่อยากซื้อ เภสัชกรหญิงแห่ง รพ.ศิริราช ก็มีวิธีง่ายๆ ที่ทำได้ไม่ยากและเป็นวิธีที่ถูกต้องมาฝาก ก็คือให้ นำเครื่องสำอางที่ต้องการจะซื้อ มาป้าย ฉีด ยา หรือทา ลงบริเวณผิวเนื้ออ่อนๆ อย่างหลังใบหูหรือท้องแขน
“เคล็ดลับอยู่ที่ ใช่ว่าเทสต์ปุ๊บจะขึ้นปั๊บ เพราะอาการแพ้อย่างน้อยที่สุดจะต้องใช้เวลา 20-30 นาที ผิวหนังบริเวณนั้นจึงจะมีปฏิกิริยา เช่น เกิดรอยแดง ผื่น หรือรู้สึกระคายเคืองดังนั้นหากจะเทสต์จริงๆ ไปขอเทสต์ก่อน จากนั้นไปเดินดูของอื่นๆ จนจะกลับ หากผิวไม่แพ้จึงค่อยกลับไปซื้อ ทิ้งระยะให้สารเคมีทำปฏิกิริยาสักนิดนะคะ” ภญ.วิมลทิ้งท้าย