ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก อาสาช่วย “เด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น 9 ขวบ” ที่เดินโชว์รูปตามหาชายชาวญี่ปุ่นบอกเป็นพ่อแท้ๆ ใน จ.พิจิตร ด้าน พม.ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่พบเด็กเพื่อรวบรวมข้อมูล ก่อนประสานสถานทูตเมืองปลาดิบช่วยติดตามอีกแรง พร้อมมอบเงินชวยเหลือเบื้องต้นทั้งเด็กและป้า
วันนี้ (12 พ.ค.) นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กรณี “ด.ช.เคอิโงะ ซาโต ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น วัย 9 ขวบ” เดินโชว์ภาพชายชาวญี่ปุ่น ซึ่งอ้างว่าเป็นพ่อแท้ๆ อยู่หน้าอุโบสถวัดท่าหลวงพระอารามหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร เพื่อสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง เพราะต้องการตามหาพ่อ ว่า การช่วยเหลือเบื้องต้นพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) พิจิตร ต้องเข้าไปดูแลเด็กในเรื่องความเป็นอยู่ ส่วนการช่วยเหลือในการติดตามหาพ่อชาวญี่ปุ่นของเด็ก สามารถทำได้ 2 ทาง คือ 1.ประสานข้อมูลมาที่ตนเพื่อจะติดต่อผ่านเครือข่ายเอ็นจีโอที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น หรือ 2.ส่งข้อมูลให้สื่อ เช่น รีดเดอร์ไดเจสต์ ที่มีโครงการตามหาครอบครัว และทำโครงการสำเร็จมาหลายราย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้ในการติดตามตัวพ่อของเด็กชายลูกครึ่งญี่ปุ่นรายนี้ นอกจากชื่อและรูปภาพแล้ว ควรมีรายละเอียดให้มากที่สุด เช่น พ่อแม่ของเด็กพบกันครั้งแรกที่ไหน เมื่อใด เป็นต้น เพื่อให้ทางญี่ปุ่นติดตามหาได้ง่ายมากขึ้น
“ปัญหาคือ ในระหว่างที่ยังตามหาพ่อของเด็กไม่พบ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ต้องเข้าไปดูแลให้เด็กมีครอบครัวทดแทน ให้มีคนช่วยเหลือเด็กโดยตรง แต่ก็อยากให้ทำความเข้าใจกับเด็กเบื้องต้น เพราะข้อมูลเฉพาะหน้าที่ทราบเราเป็นห่วงว่าพ่อของเด็กจะรับผิดชอบหรือไม่ มิฉะนั้น ก็น่าจะมาตามหาลูกตั้งนานแล้ว คงต้องรอตามหาตัวชายชาวญี่ปุ่นให้พบก่อนว่าจะรับผิดชอบลูกชายอย่างไร” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว
ด้านนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กล่าวถึงกรณีเด็กชายลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ตามหาพ่อชาวญี่ปุ่น ว่า เบื้องต้นตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เดินทางไปหา ด.ช.เคอิโงะ ซาโต แล้วเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับพ่อของเด็กที่เป็นชายชาวญี่ปุ่น จากนั้นกระทรวงจะติดต่อไปยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อให้ช่วยติดตามหานายคัทซูมิ ซาโต ชายชาวญี่ปุ่นที่ระบุว่าเป็นพ่อของเด็ก
ส่วนการช่วยเหลือ ด.ช.เคอิโงะ เบื้องต้นนั้น กระทรวงจะมอบเงินสงเคราะห์ให้เด็ก 3,000 บาท โดยจ่ายครั้งละ 1,000 บาท 3 ครั้งต่อปี ส่วนเรื่องค่าเล่าเรียนกระทรวงศึกษาธิการดูแลอยู่แล้ว ซึ่งหากเด็กยังอยู่ในความดูแลของ นางปัทมา จตุพิศ ซึ่งเป็นป้า กระทรวงก็จะช่วยเงินสงเคราะห์อีก 6,000 บาท โดยจ่ายครั้งละ 2,000 บาท 3 ครั้งต่อปี รวมเงินช่วยเหลือทั้งตัวเด็กและป้าเป็น 9,000 บาทต่อปี นอกจากนั้น จะช่วยหาอาชีพที่มีรายได้ดีและเหมาะสมให้กับป้าของเด็กเพื่อให้มีกำลังในการเลี้ยงดูหลานด้วย
วันนี้ (12 พ.ค.) นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กรณี “ด.ช.เคอิโงะ ซาโต ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น วัย 9 ขวบ” เดินโชว์ภาพชายชาวญี่ปุ่น ซึ่งอ้างว่าเป็นพ่อแท้ๆ อยู่หน้าอุโบสถวัดท่าหลวงพระอารามหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร เพื่อสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง เพราะต้องการตามหาพ่อ ว่า การช่วยเหลือเบื้องต้นพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) พิจิตร ต้องเข้าไปดูแลเด็กในเรื่องความเป็นอยู่ ส่วนการช่วยเหลือในการติดตามหาพ่อชาวญี่ปุ่นของเด็ก สามารถทำได้ 2 ทาง คือ 1.ประสานข้อมูลมาที่ตนเพื่อจะติดต่อผ่านเครือข่ายเอ็นจีโอที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น หรือ 2.ส่งข้อมูลให้สื่อ เช่น รีดเดอร์ไดเจสต์ ที่มีโครงการตามหาครอบครัว และทำโครงการสำเร็จมาหลายราย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้ในการติดตามตัวพ่อของเด็กชายลูกครึ่งญี่ปุ่นรายนี้ นอกจากชื่อและรูปภาพแล้ว ควรมีรายละเอียดให้มากที่สุด เช่น พ่อแม่ของเด็กพบกันครั้งแรกที่ไหน เมื่อใด เป็นต้น เพื่อให้ทางญี่ปุ่นติดตามหาได้ง่ายมากขึ้น
“ปัญหาคือ ในระหว่างที่ยังตามหาพ่อของเด็กไม่พบ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ต้องเข้าไปดูแลให้เด็กมีครอบครัวทดแทน ให้มีคนช่วยเหลือเด็กโดยตรง แต่ก็อยากให้ทำความเข้าใจกับเด็กเบื้องต้น เพราะข้อมูลเฉพาะหน้าที่ทราบเราเป็นห่วงว่าพ่อของเด็กจะรับผิดชอบหรือไม่ มิฉะนั้น ก็น่าจะมาตามหาลูกตั้งนานแล้ว คงต้องรอตามหาตัวชายชาวญี่ปุ่นให้พบก่อนว่าจะรับผิดชอบลูกชายอย่างไร” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว
ด้านนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กล่าวถึงกรณีเด็กชายลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น ตามหาพ่อชาวญี่ปุ่น ว่า เบื้องต้นตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เดินทางไปหา ด.ช.เคอิโงะ ซาโต แล้วเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับพ่อของเด็กที่เป็นชายชาวญี่ปุ่น จากนั้นกระทรวงจะติดต่อไปยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อให้ช่วยติดตามหานายคัทซูมิ ซาโต ชายชาวญี่ปุ่นที่ระบุว่าเป็นพ่อของเด็ก
ส่วนการช่วยเหลือ ด.ช.เคอิโงะ เบื้องต้นนั้น กระทรวงจะมอบเงินสงเคราะห์ให้เด็ก 3,000 บาท โดยจ่ายครั้งละ 1,000 บาท 3 ครั้งต่อปี ส่วนเรื่องค่าเล่าเรียนกระทรวงศึกษาธิการดูแลอยู่แล้ว ซึ่งหากเด็กยังอยู่ในความดูแลของ นางปัทมา จตุพิศ ซึ่งเป็นป้า กระทรวงก็จะช่วยเงินสงเคราะห์อีก 6,000 บาท โดยจ่ายครั้งละ 2,000 บาท 3 ครั้งต่อปี รวมเงินช่วยเหลือทั้งตัวเด็กและป้าเป็น 9,000 บาทต่อปี นอกจากนั้น จะช่วยหาอาชีพที่มีรายได้ดีและเหมาะสมให้กับป้าของเด็กเพื่อให้มีกำลังในการเลี้ยงดูหลานด้วย