องค์การอนามัยโลกชื่นชมประเทศอาเซียนเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009 ได้ดี ทำจริงจัง ยันการเตรียมการครั้งนี้ไม่ได้ตื่นตระหนกเกินไป แต่ปล่อยปละจะเป็นอันตราย รับมือไม่ทัน
นพ.เคจิ ฟูกูดะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การเตรียมการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้ไม่เป็นการตื่นตระหนกเกินไป เพราะหากปล่อยปละละเลยต่อปัญหาจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะถ้าเกิดการระบาดจะไม่สามารถรับมือได้ทัน อีกทั้งถ้าเกิดความรุนแรงเท่ากับว่าจะสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรเฝ้าระวังโรคนี้เพียงอย่างเดียว เพราะยังมีโรคอีกมากที่เป็นโรคประจำภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน
“สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถของแต่ละประเทศในการเฝ้าระวังโรค ซึ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียนควรมีการตื่นตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะตนเองไม่เชื่อว่า มาตรการที่จัดการอยู่แม้จะดีเพียงใดแล้ว จะดีพอสำหรับการป้องกันการระบาดของโรค โดยเฉพาะช่วงเวลาดังกล่าวซีกโลกทางใต้มีอุณหภูมิที่สลับกับประเทศที่มีการระบาดอยู่ในขณะนี้ จึงควรดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตามขอชื่นชมการเฝ้าระวังควบคุมโรคของประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีความจริงจัง และได้ประสบการณ์จากในอดีตที่เคยรับมือโรคไข้หวัดนก โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการปกป้องประชาชนในภูมิภาคนี้ที่มีกว่า 500 ล้านคน”นพ.เคจิ กล่าว
นพ.เคจิ กล่าวว่า สำหรับการช่วยที่องค์การอนามัยโลกดำเนินการคือการประสานงานกับแหล่งเงินทุนในการช่วยเหลือประเทศที่มีทรัพยากรและเงินทุนจำกัดในการดำเนินการป้องกันโรคและสต็อกยา โดยองค์การอนามัยโลกฯยังได้ตั้งทีมวิชาการช่วยเหลือด้านข้อมูลและห้องปฏิบัติการในเครือข่ายกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ พร้อมทั้งส่งยาโอเซลทามิเวียร์ไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถผลิตและสั่งซื้อเองไม่ได้จำนวน 72 ประเทศ
“ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังคงระดับความรุนแรงของโรคเป็นระดับ 5 เพราะยังเป็นการระบาดในประเทศซีกโลกเหนือของพื้นที่เดียวกัน แม้ว่าจะพบการระบาดประปรายในทวีปเอเชีย ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะเลื่อนระดับความรุนแรงของโรคเป็นระดับ 6 อย่างไรก็ตามแม้ว่าสถานการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยและการแพร่ระบาดจะลดลง แต่ก็ไม่ควรที่จะลดระดับความเข้มข้นของมาตรการที่ดำเนินการเฝ้าระวังโรค เพราะโรคอาจกลับมาระบาดอีกรุนแรงอีกครั้งหนึ่งก็ได้” นายเคจิ กล่าว
พญ.แอน ชูแคท ผู้แทนศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (ซีดีซี) กล่าวผ่านวิดีโอลิงค์ว่า คงต้องยอมรับว่าโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แม้แต่ห้องปฏิบัติการก็ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการรับมือกับโรคดังกล่าว เพราะฉะนั้น การส่งข้อมูลประสานานกันเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพราะจนวันนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าสถานการณ์จะรุนแรงขึ้นหรือไม่
นพ.เคจิ ฟูกูดะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การเตรียมการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้ไม่เป็นการตื่นตระหนกเกินไป เพราะหากปล่อยปละละเลยต่อปัญหาจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะถ้าเกิดการระบาดจะไม่สามารถรับมือได้ทัน อีกทั้งถ้าเกิดความรุนแรงเท่ากับว่าจะสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรเฝ้าระวังโรคนี้เพียงอย่างเดียว เพราะยังมีโรคอีกมากที่เป็นโรคประจำภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน
“สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถของแต่ละประเทศในการเฝ้าระวังโรค ซึ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียนควรมีการตื่นตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะตนเองไม่เชื่อว่า มาตรการที่จัดการอยู่แม้จะดีเพียงใดแล้ว จะดีพอสำหรับการป้องกันการระบาดของโรค โดยเฉพาะช่วงเวลาดังกล่าวซีกโลกทางใต้มีอุณหภูมิที่สลับกับประเทศที่มีการระบาดอยู่ในขณะนี้ จึงควรดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตามขอชื่นชมการเฝ้าระวังควบคุมโรคของประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีความจริงจัง และได้ประสบการณ์จากในอดีตที่เคยรับมือโรคไข้หวัดนก โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการปกป้องประชาชนในภูมิภาคนี้ที่มีกว่า 500 ล้านคน”นพ.เคจิ กล่าว
นพ.เคจิ กล่าวว่า สำหรับการช่วยที่องค์การอนามัยโลกดำเนินการคือการประสานงานกับแหล่งเงินทุนในการช่วยเหลือประเทศที่มีทรัพยากรและเงินทุนจำกัดในการดำเนินการป้องกันโรคและสต็อกยา โดยองค์การอนามัยโลกฯยังได้ตั้งทีมวิชาการช่วยเหลือด้านข้อมูลและห้องปฏิบัติการในเครือข่ายกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ พร้อมทั้งส่งยาโอเซลทามิเวียร์ไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถผลิตและสั่งซื้อเองไม่ได้จำนวน 72 ประเทศ
“ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังคงระดับความรุนแรงของโรคเป็นระดับ 5 เพราะยังเป็นการระบาดในประเทศซีกโลกเหนือของพื้นที่เดียวกัน แม้ว่าจะพบการระบาดประปรายในทวีปเอเชีย ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะเลื่อนระดับความรุนแรงของโรคเป็นระดับ 6 อย่างไรก็ตามแม้ว่าสถานการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยและการแพร่ระบาดจะลดลง แต่ก็ไม่ควรที่จะลดระดับความเข้มข้นของมาตรการที่ดำเนินการเฝ้าระวังโรค เพราะโรคอาจกลับมาระบาดอีกรุนแรงอีกครั้งหนึ่งก็ได้” นายเคจิ กล่าว
พญ.แอน ชูแคท ผู้แทนศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (ซีดีซี) กล่าวผ่านวิดีโอลิงค์ว่า คงต้องยอมรับว่าโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แม้แต่ห้องปฏิบัติการก็ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการรับมือกับโรคดังกล่าว เพราะฉะนั้น การส่งข้อมูลประสานานกันเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องดำเนินการอย่างจริงจัง เพราะจนวันนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าสถานการณ์จะรุนแรงขึ้นหรือไม่