สกศ.เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลประเมินผลจัดการศึกษาครอบคลุม 5 ด้าน เพื่อประเมินผลการจัดการศึกษา ห่วงข้อมูลไม่ครบถ้วน เพราะแต่ละหน่วยงานนิยามความหมายข้อมูลไม่ตรงกัน
จากการการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษา ที่ รร.ชลจันทร์ พัทยา รีสอร์ท ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.ดร.สุรางคนา ธรรมลิขิต จากมหาวิทยาลัยบูรพา ผู้นำเสนอโปรแกรมต้นแบบระบบฐานข้อมูลที่ใช้สำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ กล่าวว่า การออกแบบระบบนั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่ที่น่ากังวล คือ เรื่องของข้อมูล ซึ่ง สกศ.ไม่มีข้อมูลที่เป็นของตนเอง จะมีก็เพียงแต่ข้อมูลที่ได้จาการศึกษาวิจัยเพียงอย่างเดียว สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ นั้น ต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะมีความหลากหลาย เพราะแต่ละหน่วยงานก็จะนิยามความหมายของคำๆ หนึ่งที่แตกต่างกัน ทำให้ข้อมูลที่ได้มาจำนวนไม่เท่ากันด้วย
ด้าน ดร.สิริพร บุญญานันต์ ที่ปรึกษา สกศ.กล่าวว่า สกศ.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลกรอบตัวชี้วัดสำหรับประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศใน 5 ด้าน ได้แก่ 1.ความครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ 2.ความเสมอภาคเป็นระบบ 3.คุณภาพการศึกษา ครอบคลุมทั้งผู้เรียน ครู และผู้บริหาร 4.ประสิทธิภาพ และ 5.ประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นแนวทางในการออกแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อให้การจัดการศึกษาของประเทศดีขึ้น
“การที่จะได้ข้อมูลด้านการศึกษาที่ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมด จำเป็นต้องมีการจัดระดมความคิดร่วมกัน เรื่องการกำหนดกรอบแนวคิด ทบทวนนิยามความหมายต่างๆ เพื่อให้คนที่เก็บข้อมูลมีความเข้าใจตรงกัน อีกทั้งเมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วสามารถตอบคำถามได้ว่าขณะนี้คุณภาพมาตรฐานการศึกษาจะดีหรือไม่ ระบบฐานข้อมูลนี้สามารถอธิบายได้ ประเมินได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเห็นเป็นรูปธรรม ขอให้สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สกศ. ดำเนินการให้เร็วที่สุด ภายใน 1 ปีนี้ หลังจากนั้น จะเข้าที่ประชุมสภาการศึกษา ซึ่งมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อนำมาใช้ต่อไป” ดร.สิริพร กล่าว
จากการการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษา ที่ รร.ชลจันทร์ พัทยา รีสอร์ท ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.ดร.สุรางคนา ธรรมลิขิต จากมหาวิทยาลัยบูรพา ผู้นำเสนอโปรแกรมต้นแบบระบบฐานข้อมูลที่ใช้สำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ กล่าวว่า การออกแบบระบบนั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่ที่น่ากังวล คือ เรื่องของข้อมูล ซึ่ง สกศ.ไม่มีข้อมูลที่เป็นของตนเอง จะมีก็เพียงแต่ข้อมูลที่ได้จาการศึกษาวิจัยเพียงอย่างเดียว สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ นั้น ต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะมีความหลากหลาย เพราะแต่ละหน่วยงานก็จะนิยามความหมายของคำๆ หนึ่งที่แตกต่างกัน ทำให้ข้อมูลที่ได้มาจำนวนไม่เท่ากันด้วย
ด้าน ดร.สิริพร บุญญานันต์ ที่ปรึกษา สกศ.กล่าวว่า สกศ.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลกรอบตัวชี้วัดสำหรับประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศใน 5 ด้าน ได้แก่ 1.ความครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ 2.ความเสมอภาคเป็นระบบ 3.คุณภาพการศึกษา ครอบคลุมทั้งผู้เรียน ครู และผู้บริหาร 4.ประสิทธิภาพ และ 5.ประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นแนวทางในการออกแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อให้การจัดการศึกษาของประเทศดีขึ้น
“การที่จะได้ข้อมูลด้านการศึกษาที่ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมด จำเป็นต้องมีการจัดระดมความคิดร่วมกัน เรื่องการกำหนดกรอบแนวคิด ทบทวนนิยามความหมายต่างๆ เพื่อให้คนที่เก็บข้อมูลมีความเข้าใจตรงกัน อีกทั้งเมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วสามารถตอบคำถามได้ว่าขณะนี้คุณภาพมาตรฐานการศึกษาจะดีหรือไม่ ระบบฐานข้อมูลนี้สามารถอธิบายได้ ประเมินได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเห็นเป็นรูปธรรม ขอให้สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สกศ. ดำเนินการให้เร็วที่สุด ภายใน 1 ปีนี้ หลังจากนั้น จะเข้าที่ประชุมสภาการศึกษา ซึ่งมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อนำมาใช้ต่อไป” ดร.สิริพร กล่าว