ศิลปินพื้นบ้านเจอพิษเศรษฐกิจ-การเมืองป่วนเล่นงาน ประสบปัญหางานหด รายได้น้อย โอดเดือดร้อนหนักแต่ไม่อยากปิดกิจการ วธ.อัดเงินกระตุ้นกว่า 700 ล้านบาทเร่งหาทางเยียวยาต่อลมหายใจผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรม
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองที่ผ่านมา ประกอบกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อศิลปิน คณะนักแสดงพื้นบ้าน ผู้ประกอบอาชีพ และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถหารายได้มาเจือจุนอย่างเพียงพอ วธ.มีความห่วงใยเป็นอย่างมาก ซึ่งกำลังเร่งหาทางเยียวยา และช่วยเหลือ โดยเฉพาะคณะศิลปินพื้นบ้าน ทั้งหมอลำ เพลงซอ ลิเก ลำตัด และโนรา ที่ต่างได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากงานน้อยลง และมีผลตอบแทนน้อย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการทางมรดกทางวัฒนธรรมที่ประสบปัญหาดังกล่าวด้วย อาทิ บางกอกแอร์เวย์ส โรงละครสยามนิรมิต และอลังการ ซึ่งมีรายได้หลักจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ได้ลงทุนทางวัฒนธรรมเป็นมูลค่าสูง หากปิดกิจการไปจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
นายธีระ สลักเพชร กล่าวต่อว่า ตนได้มอบให้ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ.เร่งดำเนินการจัดสัมมนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมในด้านมรดก วิถีชีวิต วัฒนธรรมร่วมสมัย และนักวิชาการ รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง เช่น พิพิธภัณฑ์ภาคเอกชน สมาคมมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และนักการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมที่สามารถดำเนินงานและประคองตัวอยู่ได้เพื่อเป็นต้นแบบในบริหารจัดการในวันที่ 1 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม วธ.มีแผนงานส่งเสริมและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมด้านการแสดง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านศิลปวัฒนธรรมในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม งบประมาณปี 2553 จำนวน 350 ล้านบาท และ โครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ (Culture Content and Creative Festival) ของสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 395 ล้านบาท
นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองที่ผ่านมา ประกอบกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อศิลปิน คณะนักแสดงพื้นบ้าน ผู้ประกอบอาชีพ และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถหารายได้มาเจือจุนอย่างเพียงพอ วธ.มีความห่วงใยเป็นอย่างมาก ซึ่งกำลังเร่งหาทางเยียวยา และช่วยเหลือ โดยเฉพาะคณะศิลปินพื้นบ้าน ทั้งหมอลำ เพลงซอ ลิเก ลำตัด และโนรา ที่ต่างได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากงานน้อยลง และมีผลตอบแทนน้อย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการทางมรดกทางวัฒนธรรมที่ประสบปัญหาดังกล่าวด้วย อาทิ บางกอกแอร์เวย์ส โรงละครสยามนิรมิต และอลังการ ซึ่งมีรายได้หลักจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ได้ลงทุนทางวัฒนธรรมเป็นมูลค่าสูง หากปิดกิจการไปจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
นายธีระ สลักเพชร กล่าวต่อว่า ตนได้มอบให้ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ.เร่งดำเนินการจัดสัมมนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมในด้านมรดก วิถีชีวิต วัฒนธรรมร่วมสมัย และนักวิชาการ รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง เช่น พิพิธภัณฑ์ภาคเอกชน สมาคมมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และนักการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมที่สามารถดำเนินงานและประคองตัวอยู่ได้เพื่อเป็นต้นแบบในบริหารจัดการในวันที่ 1 พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม วธ.มีแผนงานส่งเสริมและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมด้านการแสดง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านศิลปวัฒนธรรมในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม งบประมาณปี 2553 จำนวน 350 ล้านบาท และ โครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ (Culture Content and Creative Festival) ของสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 395 ล้านบาท