สธ.การันตีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปลอดภัย ฉีดให้กลุ่มเป้าหมาย 70,000 ราย ส่วนใหญ่มีอาการแพ้เล็กน้อย มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อย บวมแดง พบผลข้างเคียงรุนแรงแพ้วัคซีนรายเดียว
น.ส.บวรวรรณ ดิเรกโภค นักวิชาการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้นำเสนอผลการศึกษาการเฝ้าระวังสอบสวนอาการภายหลังได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2552 ว่า สธ.ได้เริ่มให้วัคซีนป้องกันโรคกับบุคลากรกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่ปี 2549 และได้เริ่มขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มอีก 2 กลุ่ม คือ บุคลากรที่มีความเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก และผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ขณะเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน จึงมีการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนด้วย โดยพบผู้ที่ได้รับอันตรายเกิดผลข้างเคียงรุนแรง 2 ราย คือ รายแรก เป็นผู้สูงอายุ 79 ปี ป่วยเป็นโรคประจำตัวหลายโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ลิ้นหัวใจรั่ว และหัวใจเต้นปกติ ซึ่งเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนแล้ว 3 วัน เมื่อสอบสวนโรคพบว่า ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่อย่างใด ส่วนอีกราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ มีอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง
น.ส.บวรวรรณ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังได้มีการเฝ้าระวังโรค ด้วยการส่งแบบสอบถามให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2551- วันที่ 30 มกราคม 2552 จำนวน 70,000 ราย มีการตอบกลับ จำนวน 9,812 ราย จาก 75 จังหวัด หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ในจำนวนนี้พบว่า มีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น จำนวน 3,612 ราย คิดเป็นร้อยละ 37 โดยอาการทีพบมากที่สุดคือ ปวดเมื่อย ร้อยละ 64 มีไข้ต่ำๆ ร้อยละ 37 มีอาการบวม แดง ร้อยละ 25 และมีอาการทางตา และระบบทางเดินหายใจ (Oculo-respiratory syndromes) คือ ตาแดง ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก เป็นต้น ร้อยละ 0.67 ซึ่งแม้จะพบอาการผลข้างเคียงแต่ก็ไม่มีความรุนแรงมาก โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการภายใน 1-2 วันหลังจากได้รับวัคซีน และอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน จึงถือว่าวัคซีนนี้มีความปลอดภัยกับผู้ใช้
“ในอนาคตคนไทยจะได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากขึ้นเพราะ สธ.และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีนโยบายขยายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ป่วยมากขึ้น ขณะเดียวกัน องค์การเภสัชกรรม ก็อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม ทำให้ไทยสามารถส่งออกวัคซีนไข้หวัดใหญ่จำหน่ายในต่างประเทศ ดังนั้น เรื่องความปลอดภัยของวัคซีนจึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับต่างชาติได้” น.ส.บวรวรรณ กล่าว
น.ส.บวรวรรณ ดิเรกโภค นักวิชาการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้นำเสนอผลการศึกษาการเฝ้าระวังสอบสวนอาการภายหลังได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2552 ว่า สธ.ได้เริ่มให้วัคซีนป้องกันโรคกับบุคลากรกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่ปี 2549 และได้เริ่มขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มอีก 2 กลุ่ม คือ บุคลากรที่มีความเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก และผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ขณะเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน จึงมีการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนด้วย โดยพบผู้ที่ได้รับอันตรายเกิดผลข้างเคียงรุนแรง 2 ราย คือ รายแรก เป็นผู้สูงอายุ 79 ปี ป่วยเป็นโรคประจำตัวหลายโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ลิ้นหัวใจรั่ว และหัวใจเต้นปกติ ซึ่งเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนแล้ว 3 วัน เมื่อสอบสวนโรคพบว่า ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่อย่างใด ส่วนอีกราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ มีอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง
น.ส.บวรวรรณ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังได้มีการเฝ้าระวังโรค ด้วยการส่งแบบสอบถามให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2551- วันที่ 30 มกราคม 2552 จำนวน 70,000 ราย มีการตอบกลับ จำนวน 9,812 ราย จาก 75 จังหวัด หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ในจำนวนนี้พบว่า มีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น จำนวน 3,612 ราย คิดเป็นร้อยละ 37 โดยอาการทีพบมากที่สุดคือ ปวดเมื่อย ร้อยละ 64 มีไข้ต่ำๆ ร้อยละ 37 มีอาการบวม แดง ร้อยละ 25 และมีอาการทางตา และระบบทางเดินหายใจ (Oculo-respiratory syndromes) คือ ตาแดง ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก เป็นต้น ร้อยละ 0.67 ซึ่งแม้จะพบอาการผลข้างเคียงแต่ก็ไม่มีความรุนแรงมาก โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการภายใน 1-2 วันหลังจากได้รับวัคซีน และอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน จึงถือว่าวัคซีนนี้มีความปลอดภัยกับผู้ใช้
“ในอนาคตคนไทยจะได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากขึ้นเพราะ สธ.และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีนโยบายขยายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ป่วยมากขึ้น ขณะเดียวกัน องค์การเภสัชกรรม ก็อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม ทำให้ไทยสามารถส่งออกวัคซีนไข้หวัดใหญ่จำหน่ายในต่างประเทศ ดังนั้น เรื่องความปลอดภัยของวัคซีนจึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับต่างชาติได้” น.ส.บวรวรรณ กล่าว