เลขาธิการ กพฐ.แจงหนังสือยืมเรียนฟรีต้องยืดหยุ่น ถ้านักเรียนใช้ทบทวนจนชำรุด โรงเรียนจัดงบฯ ซื้อซ่อมได้ ไม่ควรเก็บเงินประกันจากนักเรียน แค่สอนให้นักเรียนถนอมหนังสือ ส่วนใบเสร็จซื้อเครื่องแบบนักเรียนให้ผู้ปกครองพยายามขอหลักฐานจากผู้ซื้อเท่าที่จะทำได้ หากไม่ได้จริงๆ ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารเซ็นว่าจะไม่นำเงินใช้ผิดวัตถุประสงค์
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงการสละสิทธิ์ของผู้ปกครองที่ไม่รับสนับสนุนเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนว่า การสละสิทธิ์ครั้งนี้แล้วจะเปลี่ยนใจไม่สละสิทธิ์ในปีนี้ได้ หรือเปลี่ยนใจจะขอสละสิทธิ์เพิ่มยังทำได้จนวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 รายที่แจ้งล่วงหน้าว่าจะสละสิทธิ์ สพฐ.จะไม่โอนเงินให้ แต่ถ้าเปลี่ยนใจภายหลัง จะใช้วิธีหักลบกลบหนี้ เงินจากการสละสิทธิ์ไม่สามารถนำไปช่วยโรงเรียนของผู้สละสิทธิ์โดยตรงได้ แต่จะนำไปช่วยโรงเรียนขนาดเล็กและไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
ทั้งนี้ หนังสือยืมเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะอุดหนุนให้โดยโรงเรียนเป็นผู้จัดซื้อผ่านคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่ายที่ตั้งขึ้นมา มีข้อเสนอจากการรับฟังความเห็นเรื่องนโยบายเรียนฟรี 15 ปีว่า กรณีนักเรียนอยากจะเก็บไว้ทบทวน และอาจทำให้หนังสือเรียนชำรุดเสียหายจะทำอย่างไร ซึ่งมีบางโรงเรียนเสนอจะเก็บเงินประกันหนังสือ ตนอยากชี้แจงว่าวัตถุประสงค์หลักของการสนับสนุนหนังสือเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีสื่อเพื่อการเรียนอย่างเพียงพอ การเสนอให้จัดระบบหนังสือยืมเรียนเป็นวัตถุประสงค์รองเพื่อประหยัดงบประมาณของรัฐ แต่การบริหารระบบหนังสือยืมเรียนต้องมีความยืดหยุ่นและคำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักเป็นสำคัญ
หากนักเรียนจำเป็นต้องใช้หนังสือเรียนต่อเนื่องเพื่อทบทวน ย่อมสามารถทำได้ หรือหากหนังสือชำรุดด้วยเหตุสุดวิสัยจะจัดสรรงบให้โรงเรียนได้ซื้อซ่อม ดังนั้น จึงไม่จำเป็นและไม่ควรต้องเก็บเงินประกันหนังสือ แต่ควรสอนนักเรียนให้เรียนรู้ที่จะถนอมหนังสือ
“กรณีที่ผู้ปกครองได้รับเงินไปซื้อเครื่องแบบนักเรียน และต้องนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อโรงเรียน หากผู้ปกครองไปซื้อจากร้านที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือซื้อจากผู้ผลิตท้องถิ่นไม่สามารถหาใบเสร็จรับเงินได้ ให้มีใบรับเงินเท่าที่จะหาได้ พร้อมชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้ขายนั้นๆ กรณีที่คาดว่าผู้ปกครองไม่สามารถนำส่งหลักฐานใดๆ ควรป้องกันตั้งแต่ก่อนรับเงินด้วยการระบุข้อความหลักฐานการจ่ายเงินของโรงเรียน โดยระบุว่าขอรับรองว่าจะนำเงินที่ได้รับไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ หากไม่ดำเนินการยินยอมชดใช้เงินคืนให้กับโรงเรียน” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงการสละสิทธิ์ของผู้ปกครองที่ไม่รับสนับสนุนเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนว่า การสละสิทธิ์ครั้งนี้แล้วจะเปลี่ยนใจไม่สละสิทธิ์ในปีนี้ได้ หรือเปลี่ยนใจจะขอสละสิทธิ์เพิ่มยังทำได้จนวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 รายที่แจ้งล่วงหน้าว่าจะสละสิทธิ์ สพฐ.จะไม่โอนเงินให้ แต่ถ้าเปลี่ยนใจภายหลัง จะใช้วิธีหักลบกลบหนี้ เงินจากการสละสิทธิ์ไม่สามารถนำไปช่วยโรงเรียนของผู้สละสิทธิ์โดยตรงได้ แต่จะนำไปช่วยโรงเรียนขนาดเล็กและไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
ทั้งนี้ หนังสือยืมเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะอุดหนุนให้โดยโรงเรียนเป็นผู้จัดซื้อผ่านคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่ายที่ตั้งขึ้นมา มีข้อเสนอจากการรับฟังความเห็นเรื่องนโยบายเรียนฟรี 15 ปีว่า กรณีนักเรียนอยากจะเก็บไว้ทบทวน และอาจทำให้หนังสือเรียนชำรุดเสียหายจะทำอย่างไร ซึ่งมีบางโรงเรียนเสนอจะเก็บเงินประกันหนังสือ ตนอยากชี้แจงว่าวัตถุประสงค์หลักของการสนับสนุนหนังสือเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีสื่อเพื่อการเรียนอย่างเพียงพอ การเสนอให้จัดระบบหนังสือยืมเรียนเป็นวัตถุประสงค์รองเพื่อประหยัดงบประมาณของรัฐ แต่การบริหารระบบหนังสือยืมเรียนต้องมีความยืดหยุ่นและคำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักเป็นสำคัญ
หากนักเรียนจำเป็นต้องใช้หนังสือเรียนต่อเนื่องเพื่อทบทวน ย่อมสามารถทำได้ หรือหากหนังสือชำรุดด้วยเหตุสุดวิสัยจะจัดสรรงบให้โรงเรียนได้ซื้อซ่อม ดังนั้น จึงไม่จำเป็นและไม่ควรต้องเก็บเงินประกันหนังสือ แต่ควรสอนนักเรียนให้เรียนรู้ที่จะถนอมหนังสือ
“กรณีที่ผู้ปกครองได้รับเงินไปซื้อเครื่องแบบนักเรียน และต้องนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อโรงเรียน หากผู้ปกครองไปซื้อจากร้านที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือซื้อจากผู้ผลิตท้องถิ่นไม่สามารถหาใบเสร็จรับเงินได้ ให้มีใบรับเงินเท่าที่จะหาได้ พร้อมชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้ขายนั้นๆ กรณีที่คาดว่าผู้ปกครองไม่สามารถนำส่งหลักฐานใดๆ ควรป้องกันตั้งแต่ก่อนรับเงินด้วยการระบุข้อความหลักฐานการจ่ายเงินของโรงเรียน โดยระบุว่าขอรับรองว่าจะนำเงินที่ได้รับไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ หากไม่ดำเนินการยินยอมชดใช้เงินคืนให้กับโรงเรียน” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว